สัตว์เลี้ยงบำบัด"ตัวช่วย" สว.ซึมเศร้าและจิตเภท


เพิ่มเพื่อน    

    หากใครเป็นคนรักสัตว์เลี้ยงคงจะเข้าใจความหมายดีว่า แค่ได้อยู่ใกล้ก็มีความสุขแล้ว ฉะนั้นแล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่บริการสัตว์เลี้ยงบำบัดสำหรับบรรดาผู้สูงอายุที่เผชิญกับภาวะโดดเดี่ยวและเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมะเร็ง, สมองเสื่อม ผู้ที่มีความเครียดหลังเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เรียกว่า PTSD ผู้มีภาวะเครียด วิตกกังวล ฯลฯ เหล่านี้จะได้ผลดีมาก
    มีรายงานการศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานแล้วว่า การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก หรือปลา นั้น สามารถช่วยเยียวยาผู้ป่วยได้จริง ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนหลายคนกำลังมองหาวิธีที่จะรักษาสภาพจิตใจและร่างกายให้แข็งแรงเมื่ออายุมากขึ้น ที่ผ่านมามักมีข้อเสนอแนะข้อหนึ่งเสมอที่พบบ่อยคือ การแนะนำให้ผู้สูงอายุเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมาใช้เพื่อบรรเทาความเหงาและป้องกันโรคซึมเศร้า แม้คำแนะนำนี้จะแพร่หลายในวัฒนธรรมสมัยนิยม แต่ผลการวิจัยยังไม่ชัดเจนว่า การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุหรือไม่ รายงานการศึกษานี้เป็นการศึกษายืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงช่วยป้องกันหรือรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างไร
    ภาวะซึมเศร้าจัดเป็นปัญหาภาระโรค (Burden of Disease) ที่ทางองค์การอนามัยโลกและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการศึกษาและทำนายไว้ว่า ภายในปี 2020 นี้ ปัญหาโรคซึมแศร้าจะเป็นภาระโรคอันดับสองรองมาจากปัญหาหัวใจและหลอดเลือด โดยการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจะสร้างภาระต่อการพัฒนาประเทศอย่างใหญ่หลวง เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ว่าวัยใดเมื่อป่วยแล้ว จะส่งผลสืบเนื่องทางการแพทย์ สังคม และการเงินที่รุนแรง สำหรับผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้ รวมถึงผู้ดูแล มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า เป็นโรคร่วมทางการแพทย์ที่ทำให้สามารถลดอายุขัยและภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายอื่นๆ ที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางการเงินทางอ้อมให้กับสังคม ส่วนที่ความทุกข์ส่วนบุคคลจะส่งผลทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติสุข เป็นต้นเหตุนำไปสู่โรคเรื้อรังทางกาย เช่น เบาหวาน ความดัน ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่สูญเสีย และส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศไปอย่างมหาศาล
    มีรายงานการศึกษาของ E. Paul Chemiack และคณะ จากสถาบันผู้สูงอายุ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยไมอามีมิลเลอร์ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ที่ได้เผยแพร่ในวารสาร Current Gerontol Geratic Research ปี 2014 ในฐานข้อมูล NCBI ของสถานบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ โดยทำการศึกษาเรื่อง The Benefit of Pet and Animal-Assisted Therapy to the Health of Older Individuals โดยการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพการรักษาโรคซึมเศร้าและจิตเภทด้วยการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัด เป็นที่ทราบกันดีว่า สัตว์เลี้ยง เพื่อนสีขานั้น ช่วยเพื่อภาวะสุขภาพจิตดี อาทิ ความเหงา ความโดดเดี่ยว แยกตัวจากสังคม ฯลฯ ต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่มีรายงานการศึกษาใดยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยบำบัดโรคได้มากน้อยเพียงใด การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาผลต่อพยาธิสภาพของเหล่าสัตว์เลี้ยงที่มีต่อความเจ็บป่วยของบุคคล อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเสี่ยงทางร่างกายของโรคจากสัตว์ก็ไม่ได้ถูกมองข้าม เหล่าผู้เชี่ยวชาญจะมีคำเตือนให้การเลี้ยงและการบำบัดอยู่ภายใต้ขอบเขตเงื่อนไข ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีการศึกษาที่สมบูรณ์แบบมากนัก


    ผลการศึกษา pets therapy ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 ราย ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ในผู้สูงอายุโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อควบคุม ประเมินผลโดยใช้แบบประเมินทางจิตใจ พบว่า ในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงมีค่าคะแนนกลุ่มอาหารทางจิตใจ (psychological symptoms) ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างชัดเจน มีผู้มีป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 28 รายที่ได้รับการประเมินจากแบบประเมินภาวะซึมเศร้า มีอาการของโรคซึมเศร้าลดลงอย่างชัดเจน ขณะที่การบำบัดในผู้ป่วยโรคจิตเภทกว่า 20 ราย ที่ได้รับการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ด้วยการอาบน้ำ ให้อาหาร ตัดขน ฯลฯ ประเมินผลจาก social functioning ของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    ในสหรัฐอเมริกามีบริการสัตว์เลี้ยงบำบัดมากกว่า 50,000 ตัว และบริการในลักษณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศตั้ง แต่ประเทศในขั้วโลกเหนือจนถึงขั้วโลกใต้อย่าง นอร์เวย์ ไปจนถึงบราซิล บริการสัตว์เลี้ยงบำบัด อาทิ สุนัข ที่ทำหน้าที่เยียวยาจะเข้ารับการฝึกฝนและมีใบรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ ก่อนที่จะส่งพวกมันไปยังโรงพยาบาลหรือตามศูนย์ต่างๆ
    ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการวิจัยชี้ว่า สุนัขสามารถช่วยเยียวยาผู้ป่วยได้จริง แต่ยังไม่เคยมีใครสนใจความรู้สึกของสุนัขเองบ้างว่าพวกมันคิดอย่างไร? ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงต้องการหาคำตอบนี้ และผลที่ได้นำมาซึ่งความอุ่นใจในการบริการกันต่อไป ผลการวิจัยล่าสุดนี้ถูกเผยแพร่ลงใน Applied Animal Behaviour Science ระบุว่า สุนัขที่ทำหน้าที่ช่วยบำบัดเหล่านี้ไม่ได้รู้สึกเครียดจากการทำงาน ตรงกันข้ามในบางกรณี พวกมันรู้สึกมีความสุขเสียด้วยซ้ำ การวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย และสุนัขช่วยเยียวยาอีก 26 ตัว รายงานจาก Amy McCullough หัวหน้าวิจัยและผู้อำนวยการด้านการวิจัยและบำบัดแห่งชาติจาก American Humane ในวอชิงตัน ดี.ซี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"