4 ก.ย.62- กลุ่มฮักบ้านเกิดและเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า ซึ่งประกอบด้วยชายบ้านหลายพื้นที่ใน จังหวัดขอนแก่น ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ทำหนังสือระงับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1).ของบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด ทั้งนี้จดหมายระบุใจความว่า เนื่องจากอำเภอบ้านไผ่ โนนศิลา ชนบท กำลังมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ในวันที่ 10-12 ก.ย.นั้น โดยบริษัทคอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด ที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
ด้วยสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ดังนี้ 1.ด้วยวิกฤตน้ำท่วมที่อำเภอบ้านไผ่ปัจจุบันทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดเดือดร้อนเสียหาย ทั้งทรัพย์สินบ้านเรือน ร่างกาย รวมทั้งจิตใจ ทำให้ต้องมีการเยียวยา รักษา ฟื้นฟูที่ต้องใช้ระยะเวลา และไม่เหมาะอย่างยิ่งหากยังมีการจัดเวทีในตอนนี้ เพราะจะเป็นการฉวยโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ 2.ประชาชนยังคงไม่ได้รับข้อมูลโครงการอย่างครบถ้วน 3.คณะกรรมการศึกษาศักยภาพพื้นที่ยังไม่มีการประชุม หรือปรึกษาหารือในการศึกษาข้อมูลเพื่อทราบถึงศักยภาพพื้นที่ และเผยแพร่ข้อมูลให้กับประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นกลุ่มฮักบ้านเกิด และเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า จึงมีข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นให้ทำหนังสือระงับเวทีรับฟังเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1). ในวันที 10-12 กันยายน 2560 ไปยังบริษัทน้ำตาล มิตรผล จำกัด
อย่างไรก็ตามทีผ่านมาชาวบ้านมีความพยามอย่างต่อเนื่องในการยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดเวทีเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายงานผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1). ไม่ว่าจะเป็นโครงการใด จนกว่ารัฐจะให้ข้อมูลทั้งหมดต่อผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับข้อมูลทุกด้านและอย่างทั่วถึง และจนกว่าคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนจะศึกษาผลกระทบจากโครงการ และจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ SEA จนแล้วเสร็จ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าหรือเคลื่อนไหวจากหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด
รวมถึงการเรียกร้องให้มีการให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ทำการศึกษารายละเอียดของโครงการไบโอฮับ ในอำเภอบ้านไผ่ วิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการ ร่วมกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ประเทศไทยยังขาดประสบการณ์ ขาดความเชี่ยวชาญ ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล และอาจไม่มีองค์ความรู้มากพอในการจัดการผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อต้นปี ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกลุ่มมิตรผล ร่วมกับนายอำเภอบ้านไผ่ ได้นัดหมายจัดการประชุมกับชาวบ้าน โดยอ้างว่าเป็นการประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลโครงการโรงงานอ้อยและน้ำตาลขนาด 2หมื่นตันต่อวัน พ่วงกับโรงไฟฟ้าชีวมวล 32 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะก่อสร้างในพื้นที่ที่มีการวางเป้าหมายเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือไบโอฮับ ตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาลที่เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนสำนักต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันผู้ประกอบการได้กว้านซื้อที่ดินเตรียมไว้แล้วประมาณ 4 พันไร่ แต่การจัดประชุมชี้แจงข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านของแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ สร้างความวิตกกังวลในเรื่องผลกระทบของชาวบ้านกลุ่มฮักบ้านเกิด และเครือข่ายชาวบ้านแก่งละว้า รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |