กุญแจสู่ขนส่งอัจฉริยะ


เพิ่มเพื่อน    

 

        การขยายตัวของจำนวนประชากรชนชั้นกลางกำลังมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่นับว่าเป็นเมืองสำคัญและมุ่งหน้าสู่การเป็นเมกาซิตี้หรือมหานครที่มีประชากรรวมมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งกว่าที่แต่ละเมืองจะก้าวสู่การเป็นเมกาซิตี้อย่างเต็มรูปแบบได้นั้น จำเป็นต้องรับมือและจัดการกับความท้าทายมากมายที่เกิดจากการขยายตัวของความเป็นเมือง การพัฒนาแผนแม่บทเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ต้องเร่งดำเนินการ

                เมื่อต้นปีที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ประกาศนโยบายในการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการการขยายตัวของความเป็นเมือง โดยยังคงรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของแต่ละเมืองไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น โดยหนึ่งในแกนหลักสำคัญ คือการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อสร้างระบบขนส่งที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และสะดวกสบายให้แก่ประชาชนในเมือง รวมถึงนักท่องเที่ยว โดยภาครัฐได้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูประบบขนส่งปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและมีการเชื่อมต่อที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้านั่นเอง

                แต่ในขณะเดียวกันระบบคมนาคมขนส่งมักเป็นปัญหาหลักของหลายเมืองใหญ่ ที่กำลังมุ่งพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการจราจรติดขัด และมลพิษจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบการคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและการพัฒนาเมือง สำหรับในประเทศไทยเองมีผลสำรวจพบว่า คนไทยเสียเวลาไปกับปัญหารถติดเฉลี่ยรวมกว่า 24 วันต่อปี หรือเฉลี่ยมากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีสาเหตุหลักคือจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน อย่างในกรุงเทพฯ มีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนกว่า 9.8 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ถนนและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สามารถรองรับได้ถึง 8 เท่า

                การขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ จึงไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่เพิ่มตัวเลือกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ แต่จำเป็นต้องพัฒนาเครือข่ายการเดินทางสาธารณะที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อจากการใช้ทรัพยากรข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้เดินทางให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะในชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำใช้ข้อมูลก็เป็นหัวใจหลักของการพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะ ในขณะที่แพลตฟอร์มบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรมเช่นเดียวกัน

                สำหรับนำบิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสำหรับคนกรุงเทพฯ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ในการเรียกใช้และให้บริการดังกล่าวในแต่ละวัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณมหาศาล เช่น สถานที่ที่คนนิยมเรียกบริการรับ-ส่ง ช่วงเวลาที่การจราจรมีความหนาแน่นที่สุด

                ขณะเดียวกัน การส่งเสริมให้เกิดระบบการคมนาคมขนส่งที่ไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูลจากภาครัฐและเอกชน เพราะประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือและโซเชียลมีเดียในระดับสูง จึงมีความคุ้นเคยกับโลกออนไลน์ และมีความคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นเช่นเดียวกันในการเดินทางด้วยระบบขนส่งต่างๆ ความคาดหวังดังกล่าวจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ลดช่องว่างในการเชื่อมต่อ และส่งเสริมให้เกิดตัวเลือกที่สะดวกสบายแก่ผู้เดินทาง

                อย่างไรก็ตาม การบูรณาการข้อมูลจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขนส่งได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถวิเคราะห์และวางแผนระบบการเดินทางขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการปลดล็อกศักยภาพด้านการเดินทางในกรุงเทพฯ แล้ว  แพลตฟอร์มบริการรถยนต์ร่วมโดยสารยังมีอิทธิพลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชัน Grab ที่รวบรวมบริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อย่างการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และสร้างโอกาสทางรายได้ให้แก่พาร์ตเนอร์ผู้ขับขี่ เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"