ศิลปะแห่งเหตุปัจจัย และการบำบัดเข้าใจโลกของคนที่ไม่สมดุล    


เพิ่มเพื่อน    

 

ผลงานจากสีที่เหลือใช้

   ศิลปะบำบัด เกิดขึ้นมานานนับร้อยปีในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นกระบวนการทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่หล่อหลอมและชุบชีวิตให้กับคนที่ขาดสมดุล หรือ ผู้คนที่เจ็บป่วยทั้งทางกายและใจ ให้กลับมามีชีวิตชีวาหรือ สามารถใช้ชีวิตได้ดีมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยมีนักศิลปะบำบัดจำนวนหนึ่งที่ทำงานด้านวิชาชีพ และสังคมในปัจจุบันก็เปิดกว้างมากขึ้นให้กับอาชีพนี้ ในการทำการรักษาควบคู่ไปกับทางการแพทย์ 

ผลงานภาพวาดจากผู้ที่อยู่ในเรือนจำ


     หากมองดูแล้ว ศิลปะบำบัดคงน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงหรือเข้าใจได้ยาก "นิทรรศการศิลปะแห่งเหตุปัจจัยและการบำบัด(Art of Element & Therapy)" ที่จัดขึ้นโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) และ อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ภัณฑารักษ์ จะทำให้ทุกคนได้เข้าใจและสัมผัสได้ถึงประสบการณ์ด้านศิลปะและการบำบัด และผลงานศิลปะที่เชื่อมโยงบริบททางสังคมและส่งเสริมพลังด้านสุนทรียภาพ ที่มีทั้ง งานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะจัดวาง วิดีทัศน์ และการแสดง ที่จะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ - 3 พฤศจิกายน 2562 บริเวณชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ 


    ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที  กรรมการและเลขานุการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นิทรรศการในครั้งนี้   เป็นการนำเสนออีกบทบาทหนึ่งของศิลปะซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในกระบวนการบำบัดรักษาที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเครื่องมือช่วยชีวิตทางการแพทย์อื่นๆ เพราะศิลปะช่วยสร้างสมดุลย์ รักษาเยียวยากายใจ และให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ได้รับการบำบัด แต่ในขณะเดียวกันตนก็เชื่อว่าผู้ชมผลงานศิลปะจากนิทรรศการในครั้งนี้ก็จะได้รับความรู้สึกที่ผ่อนคลายมีความสุข สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี 


      อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ภัณฑารักษ์ กล่าวว่า หากมองลึกลงไปจริงๆศิลปะไม่ได้ต้องการพูดถึงแค่ตัวจิตรกร แต่เรากำลังบอกถึงการนำศิลปะมาทำงานกับคนที่ขาดสมดุล หรือ การบำบัดที่เรียกว่า มนุษย์ปรัชญา ที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างร่างกายและจิตใจ และวิญญาณของผู้ที่กำลังป่วย  เพื่อดึงจิตข้างในให้อยู่ในโลกของความเป็นจริง ถ่ายทอดออกมาเป็นเป็นสี ซึ่งนักบำบัดจะมองเห็นอะไรมากกว่าที่คนทั่วไปเห็น ให้ผู้ที่ได้รับการบำบัดได้ปลดปล่อย และใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับความดูแลของแพทย์ด้วย 

ผลงานจิตตะ ที่เป็นแนวโมชั่นกราฟฟิค

ปฏิภาคแห่งสี ผลงานของภัณฑารักษ์


        ภัณฑารักษ์ พาเดินชมผลงานที่นำมาจัดแสดง พร้อมกับอธิบายว่า ในนิทรรศการ ผู้ชมงานจะได้มีโอกาสได้ทางไปสู่โลกด้านในของศิลปิน ได้มีโอกาสกลับเข้าไปหาด้านในของตนเอง อย่างผลงานของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ที่จะพาผู้ชมไปสัมผัสประสบการณ์ในบรรยากาศกับกองเกลือ เพราะเกลือถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ หรือ ผลงานสภาวะที่เปลี่ยนผ่าน ของปรัชญาพร วรนันท์  ที่ศิลปินได้นำสีที่เหลือจากการใช้มาสร้างเป็นงานศิลปะ และส่วนที่จัดการแสดงเป็นดอกไม้สด ที่เป็นการจัดแบบโคริงกะ ของมูลนิธิเอ็ม เปรียบเสมือนกับแสงสว่าง และการที่ได้ใช้เวลาเพลิดเพลินไปกับความงาม ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ซึ่งความพิเศษก็คือ จะได้เห็นการจัดดอกไปไม้ที่เป็นการแสดงสดด้วย 

ผลงานของดุจดาว วัฒนปกรณ์


        ต่อมาคือการนำสีของพืชมาสร้างเป็นงานศิลปะ ที่สามารถใช้บำบัดผู้ที่อ่อนแรงได้ด้วย  จากศิลปินวิชภา มีทองคลั่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงพลังจากพื้นดินและแสงอาทิตย์ที่พืชได้รับ ซึ่งเป็นที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากการจัดดอกไม้โคริงกะ เดินถัดมาเป็นอุโมงค์จาก 4 ศิลปินที่มีความถนัดแตกต่างกัน แต่มารังสรรค์ผลงานชิ้นเดียว ที่เมื่อเดินเข้ามาจะให้อารมณ์ความรู้สึกตั้งแต่เริ่มตื่นนอนไปจนถึงตอนหลับตานอน ที่มีการนำผ้าไหมย้อมสี การจัดแสง รวมไปถึงการเล่าถึงชีวิตผ่านไม้ไผ่ มาทำเป็นอุโมงค์ และยังมีผลงานน่าสนใจไม่ว่าจะเป็นภาพวาดจากผู้อยู่ในเรือนจำ ได้ทำงานศิลปะ เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกในใจของพวกเขา  ซึ่งก็จะมีงานปั้นเพลโตนิค รูปทรงเรขาคณิต หรืองานวิดีโอ อาทิ รายการทุ่งแสงตะวัน หรือ จิตตะ ที่เป็นแนวโมชั่นกราฟฟิค และอื่นๆอีกมาก” ภัณฑารักษ์ เล่า

การจัดดอกไม้แบบโคริงกะ


        ในส่วนของผลงานภัณฑารักษ์ ปฏิภาคแห่งสี สื่อถึงสีว่าเป็นจิตวิญญาณของทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นพืช มนุษย์ สัตว์และธรรมชาติ ตั้งแต่เกิด การมีชีวิต ความสุข ความเศร้า ความชรา และความตายทุกสิ่งที่สีปรากฏให้ผู้คนได้สัมผัสเป็นความงดงามในชีวิตทั้งสิ้น

อ.สมลักษณ์ ปันติบุญ และผลงานปติมากรรม และภาพวาด


          ด้านศิลปิน อ.สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินเครื่องปั้นดินเผา ได้สร้างผลงานจากสีดินเป็นภาพวาดและงานปติกรรม บอกว่า สีชมพูที่เห็นบนงานปติมากรรม นับว่าเป็นความบังเอิญ ที่ทำให้เกิดสีที่สวยงามมาก ส่วนภาพวาดนั้นไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ แต่เขียนขึ้นมาจากความรู้สึก เพราะการทำงานกับดิน ได้สัมผัสมัน ก็เหมือนกับเรากำลังได้บำบัด เพราะเหมือนกับเราได้เข้าใกล้ธรรมชาติ และที่สำคัญงานปั้นยังทำให้เกิดความสงบ เพราะหากจิตใจไม่มั่นคง ไม่สงบก็จะปั้นงานออกมาไม่ได้ 


         วิสาขา ไผ่งาม นักศิลปะบำบัด ที่ได้นำผลงานภาพวาด 14 ชิ้น ของผู้รับการบำบัดมาร่วมจัดแสดง เล่าว่า ผลงานทั้ง 14 ชิ้นเป็นฝีมือของชาย อายุ 27 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คิดวนอยู่กับตัวเอง เมื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ จากนั้นแพทย์จึงแนะนำการรักษาด้วยศิลปะบำบัดควบคู่ไปด้วย ให้เขาได้เรียนรู้กระบวนการภายใน อย่างการใช้สีน้ำ ที่มีความลื่นไหลและโปร่งแสง ทำให้มีผลกับจิตวิญญาณด้านในของผู้รับการบำบัด อย่างรูปแรกที่เขาวาดจะเห็นว่า เป็นการสะท้อนการกักขังตัวเองมีกรอบมาครอบ จากนั้นในรูปต่อๆไป กรอบจะเริ่มหาย และเป็นเรื่องราวหรือรูปร่างมากขึ้น และสิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือ ความร่าเริง แจ่มใส ใส่ใจคนรอบข้าง 

อุโมงค์ที่ให้ความรู้สึกตั้งแต่เช้าจรดเย็น


        นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Exhibition Workshop ได้แก่ 1. Music ในวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา  โดย คุณภัชชพร ชาญวิเศษ นักดนตรีบำบัด 2. Painting ในวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562 โดย คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ภัณฑารักษ์ 3. กิจกรรม Special Tour ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2562 โดย คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ภัณฑารักษ์ ร่วมกับ รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี
        และการแสดงสด Arts Therapy Performance: การแสดงสดจำลองสภาวการณ์ในห้องศิลปะบำบัด ที่จะเปิดการแสดง วันที่ 7 กันยายน – 13 ตุลาคม 2562 (ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์) ทั้งหมด 12 รอบ จำหน่ายบัตรเข้าชม ราคา 350 บาท สำรองที่นั่ง หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ B-FLOOR THEATRE โทร.094 - 494 5104 (เวลา 11.00-18.00 น.)

 

ผู้คนเข้าชมนิทรรศการ



 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"