ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถือเป็นพื้นที่สำคัญในการผลิตเด็กให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ศูนย์เด็กเล็กยังมีบทบาทสำคัญช่วยคัดกรองค้นหาเด็กๆที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าให้เข้าสู่การดูแลและกระตุ้นพัฒนาการจนกลับมามีคุณภาพแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีศูนย์เด็กเล็กอีกมากต้องเร่งพัฒนาให้ได้มาตรฐานปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในเกณฑ์ที่ควรได้รับการปรับปรุง1,671 ศูนย์ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน304 ศูนย์จาก21,654 ศูนย์ทั่วประเทศ
การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอย่างเป็นระบบถือเป็นหัวใจสำคัญช่วยเด็กเข้าถึงโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีนำมาสู่การลงนามความร่วมมือข้อตกลง(MOU) ในการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบก้าวกระโดดระหว่างกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลสมาคมดับบ้านดับเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เมื่อวันก่อนที่โรงแรมรามาการ์เด้น
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสสส. กล่าวว่ารายงานของกรมสุขภาพจิตพบว่าเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าถึงร้อยละ50 ไม่สามารถติดตามเด็กๆกลุ่มนี้ให้มารับการกระตุ้นพัฒนาการเมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วง2-5 ปีพบว่าเด็กร้อยละ12 เข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษาและขาดการดูแลที่ดีมีคุณภาพนี่คือความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพการศึกษาสวัสดิการต้องเร่งพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐานสสส. จะผลักดันเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีตั้งแต่ปฐมวัยMOU หวังเกิดเครือข่ายอปท. เข้มแข็งพัฒนาศูนย์เด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
การลงทุนพัฒนาเด็กเล็กคุ้มค่าที่สุดเป็นประโยคยืนยันของพญ.อัมพรเบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าแม้สถานการณ์ภาวะซีด(โลหิตจาง) ในเด็กปฐมวัยไทยทั้งเขตเมืองและเขตชนบทจะมีสัญญาณดีขึ้นแต่สบายใจไม่ได้ยังพบเด็กไทยซีดร้อยละ27 ต้องมีการจัดการให้ดีขึ้นศูนย์เด็กเล็กเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบเด็กอายุ1-3 ปีถ้ารูปร่างไม่สมส่วนเด็กอ้วนหรือผอมจะเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ง่ายเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ปัจจุบันเด็กร้อยละ41 ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงขาดสารอาหารเรื้อรังทำให้รูปร่างเตี้ยร้อยละ15 อ้วนตุ้ยนุ้ยร้อยละ10 ผอมร้อยละ6 และมีแนวโน้มมากขึ้นตามลำดับศูนย์เด็กเล็กมีบทบาทป้องกันโรคเหล่านี้จะรอให้เด็กอายุเกิน4 ปีวัดไอคิวจะสายเกินไป
“ สสส. สนับสนุนสธ. สร้างเครื่องมือติดตามเฝ้าระวังด้านพัฒนาการช่วยเหลือเด็กตั้งแต่นาทีแรกเมื่อพบว่าพัฒนาการล่าช้าปัจจุบันประเมินได้90% อีก10% ที่ตกหล่นเป็นกลุ่มที่เข้าถึงได้ยากMOU จะทำกระบวนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กแบบก้าวกระโดดกับศูนย์เด็กเล็ก273 แห่งช่วยเติมได้อีก5-7% เราต้องการเด็กไทยที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในทุกๆด้าน” พญ.อัมพรกล่าว
สำหรับ9 ขั้นตอนที่จะทำให้ศูนย์เด็กเล็กพัฒนาแบบก้าวกระโดดรศ.ดร.จุฑามาศโชติบางผู้จัดการโครงการสร้างเสริมศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยหรือCOACT บอกว่าขั้นตอนแรกต้องสร้างแรงบันดาลใจและศูนย์ต้องประเมินศักยภาพของตัวเองวางแผนพัฒนาแบบกระโดดจากนั้นเทียบเคียงกับศูนย์เรียนรู้ที่มีกระบวนการดีเลิศนำกลับมาแก้ไขปรับปรุงระบบต่อจากนั้นทบทวนและถอดบทเรียน ปลายทางคือเด็กพัฒนาการสมวัย
5 ระบบคุณภาพผู้จัดการโครงการฯย้ำว่ามีการบริหารจัดการผู้นำผู้บริหารต้องเข้าใจ ,การจัดการสิ่งแวดล้อม,การจัดหลักสูตรจัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นกระตุ้นสมองสติปัญญาตามวัย,การดูแลสุขภาพเด็กทั้งโภชนาการทันตกรรมพัฒนาการระบบสุดท้ายการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและโภชนาการเพื่อแก้ไข ทั้งหมดนี้จะพัฒนายกระดับคุณภาพปัจจุบันเด็กร้อยละ30 อยู่ในการดูแลศูนย์เด็กเล็กที่ไม่ได้มาตรฐานเพราะรูปแบบพัฒนาหลากหลายต้องมีมาตรฐานกลาง คือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
“ ปัจจุบันจ.จันทบุรีเชียงใหม่ลำพูนมีศูนย์เด็กเล็กแบบก้าวกระโดดที่ครอบคลุม รวมทั้งศูนย์ของเอกชนความร่วมมือในครั้งนี้ท้องถิ่นสมัครใจพัฒนาศูนย์เด็กเล็กใน273 แห่งมีทั้งต้องปรับปรุงเร่งด่วนต้องปรับปรุงและสนใจที่จะพัฒนาเมื่อใช้กระบวนการนี้แล้วจะเห็นผลภายใน6-8 เดือน มีกรณีศูนย์เด็กเล็กตำบลเชิงทะเลจ. ภูเก็ตเด็กอายุ2 ปีเข้ามา พูดไม่ได้ย่าค้าขายไม่มีเวลาใช้ทีวีเลี้ยงหลานทั้งวันเด็กได้รับการดูแลที่ต้นแบบศูนย์เด็กเล็กจนสามารถพูดเรียงประโยคได้“ รศ.ดร.จุฑามาศกล่าวพร้อมฝากการพัฒนาถ้าตั้งต้นที่งบประมาณก็ไปต่อไม่ได้ผู้บริหารต้องดึงศักยภาพคนในชุมชนขับเคลื่อนไม่ใช่ปล่อยเป็นภาระครู
ผู้นำหรือผู้บริหารท้องถิ่นสำคัญต้องเข้าใจ จรัญ ดวงสะเก็ดนายกเทศมนตรีตำบลวังผางจ.ลำพูนกล่าวว่าศูนย์เด็กเล็กลำพูนเป็นหนึ่งในต้นแบบพัฒนาก้าวกระโดดโดยคณะพยาบาลศาสตร์มช. เป็นพี่เลี้ยงเพราะพัฒนาการของเด็กที่ล่าช้าร้อยละ30 ผู้บริหารท้องถิ่นจะช่วยแก้ไขอย่างไรซึ่งผู้บริหารทำคนเดียวไม่สำเร็จต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายรพ.สต. ผู้ปกครองชุมชนศูนย์273 แห่งที่นำร่องผู้บริหารมีศักยภาพที่จะนำการพัฒนาอย่างรอบด้านและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
การเดินหน้าพัฒนาศูนย์เด็กเล็กแบบก้าวกระโดดไม่เพียงบรรเทาสถานการณ์ปัญหาเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าแต่ยังหนุนยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีให้บรรลุเป้าหมายพัฒนาคนในทุกช่วงวัย