เชิดชูเกียรติ 6 ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนปี 2561


เพิ่มเพื่อน    

 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม ประจำปี 2561 พร้อมประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยปีนี้มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติผู้หญิง และ องค์กร นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ , ทีมฟุตบอลบูคู FC , นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค , น.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) , นางดารารัตน์ สุเทศ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงา , น.ส.หทัยรัตน์ พหลทัพ ผู้สื่อข่าวอาวุโส สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส 

 น.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กล่าวว่า  ทำงานกับภาคประชาชนมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540-2550 เห็นถึงการเติบโต ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พร้อมหลักการประชาธิปไตย แต่หลังรัฐประหาร 3 ปีมานี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ สิทธิมนุษยชนถูกลิดรอน ออกไป เหมือนกับว่าต้องมาเริ่มเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และหลักการประชาธิปไตยกันใหม่  รัฐบาลใช้กลไก อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากกว่าที่ผ่านมาในการจำกัดสิทธิมนุษยชนของภาคประชาชน ทำให้ประชาชนต้องต่อสู้ดิ้นรนมากกว่าเดิม มีความเสี่ยงในมิติทั้งภัยคุกคาม และในเชิงชีวิต  ซึ่งทำให้เราเหมือนทำงานที่ยากลำบากมากขึ้นในเชิงที่ต้องคำนึงว่าถ้าเราเข้าไปสนับสนุนประชาชนใช้สิทธิ แล้วหลังจากที่ประชาชนใช้สิทธิแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งดังนั้นเราต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของประชาชนในประเด็นนี้มากขึ้นว่าเดิม 

“เราทำงานด้านกฎหมาย อาจทำให้รู้สึกว่าไม่ค่อยโดนคุกคามเท่าไหร่ แต่ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา กลับรู้สึกว่าโดนคุกคามมากกว่าที่เคยโดยผ่านมาทั้งหมด  เช่น ไปอบรมชาวบ้าน จะมีทหาร ตำรวจ ทั้งในเครื่องแบบ นอกเครื่องแบบ มาถ่ายรูปเรา ซักประวัติ ถามชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง มานั่งฟังที่เราอบรมชาวบ้าน เราเองไม่ได้ซีเรียสในการที่เจ้าหน้าที่จะมานั่งฟัง แต่เป็นความเสี่ยงของชุมชน เพราะเราอบรมทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิ แต่เมื่อเราออกมาแล้ว แล้วพี่น้องเราล่ะ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีพี่น้องโดนตามโดนตามในพื้นที่” น.ส.สุภาภรณ์ กล่าว

ด้านนางดารารัตน์ สุเทศ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงา กล่าวว่า ได้รับภารกิจพิเศษจากรัฐบาล ให้ดูแลผู้อพยพทางเรือในสภาวะไม่ปกติ กลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญา ที่หนีภัยสงครามจากพม่าโดยใช้ไทยเป็นทางผ่าน โดยกลุ่มคนเหล่านี้ถูกแสวงหาผลประโยชน์และตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งจากเจ้าหน้าที่ของไทย และพม่า ซึ่งเมื่อถูกจับกุมกลุ่มเด็กกับผู้หญิงจะถูกนำตัวมาส่งที่บ้านพักในระหว่างรอเดินทางไปประเทศที่สาม ซึ่งบ้านพักไม่ได้เป็นสถานที่คุมขัง ทำให้นายหน้าอาศัยช่องว่างเข้ามาติดต่อชักจูงออกไป โดยมีเคสหนึ่งที่ติดต่อขอความช่วยเหลือกลับมาที่เรา จึงตัดสินใจแจ้งขอความร่วมมือไปที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองพังงา จนสามารถช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กกลับมาได้  ทราบว่าเขาถูกลวงละเมิดทางเพศจากนกต่อที่เป็นลูกน้องของเจ้าหน้าที่หน่วยหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงกับบิ๊กระดับสูง ซึ่งบิ๊กรายดังกล่าวได้โทรศัพท์มาขอให้เราหยุดเรื่อง แต่ยืนยันว่าเมื่อเดินหน้าไปแล้วก็หยุดไม่ได้  

“ทราบจากเหยื่อว่าถูกเอาโซ่ล่ามคอ ใช้รองเท้าตบหน้าตบหัว แต่พอขึ้นศาล สุดท้ายเราก็แพ้คดี เพราะเหยื่อเขาขอไม่เอาผิดแล้ว เพราะอยากกลับไปอยู่กับครอบครัว ไม่อยากเดินทางมาให้การแล้ว กลายเป็น ตัวเอง และเจ้าหน้าที่ถูกตรวจสอบแทน โดยถูกกล่าวหาว่าอยู่ในขบวนการซื้อขายโรฮิงญา แต่เมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินไม่พบสิ่งผิดปกติ เพราะเราไม่ได้ทำ เลยเอาผิดกับเราไม่ได้ ขณะที่คนที่เป็นคนทำจริงๆถูกยกฟ้อง แต่ปีนี้กำลังอยู่ระหว่างการรื้อฟื้นคดีเพราะมีหลักฐานคลิปวีดีโอต่าง ๆเพิ่มเติม”นางดารารัตน์กล่าว

นางดารารัตน์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า กฎหมายของไทยดีมาก แต่ท้ายสุดอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่หยิบกฎหมายมาเป็นเครื่องมือเอาผิดผู้กระทำความผิด เพราะเกิดความเกรงกลัว ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้  ขณะเดียวกันเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นพวกตนถูกตั้งกรรมการสอบ ทำให้คนทำงานเกิดความท้อใจ บางครั้งก็ต้องต่อสู้กับพวกนายหน้าที่มีอิทธิพล ตนยังต้องไปขอยืมปืนจากนายอำเภอเพื่อมาคุ้มครองตัวเอง นอกจากนี้เห็นว่าต้องมีการประสานความร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหนียวแน่น เพราะเคยเกิดเหตุการณ์ที่ว่าพวกตนเดินไปข้างหน้า แต่เพื่อนหน่วยงานอื่นกลับถอนตัวหมดเพราะกลัวอิทธิพล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"