2 ก.ย. 2562 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายในโอกาสนำคณะผู้บริหารและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบปะภาคเอกชน สถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในเวียดนาม ที่สถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศเวียดนาม ว่าที่ประชุมได้มีการรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและมาตรการส่งเสริมการลงทุนระหว่างไทย-เวียดนาม ได้รับรู้ว่านักลงทุนต้องการอะไรบ้าง หรือได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างในการเข้าไปลงทุนที่เวียดนาม เพื่อเป็นแนวทางให้ไทยนำไปกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการนักลงทุน โดยไทยจะให้มากกว่าแบบมาตรการต่อมาตรการ
ทั้งนี้ แม้เวียดนามมีจุดแข็งเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำถูก มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโตประมาณ 6-7% มีทรัพยากรธรรมชาติยังสมบูรณ์ ต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับ มีการเปิดการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป(อียู) แต่ก็มีจุดอ่อนที่กฎหมายการลงทุนบางข้อเขียนไว้คลุมเครือ ขณะที่ยอมรับว่าไทยมีจุดอ่อนเรื่องค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำแพงกว่าเวียดนาม ซึ่งไทยคงสู้ไม่ได้ แต่ไทยยังมีจุดแข็งเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรสามารถอำนวยความสะดวกรองรับการค้าการลงทุน แรงงานไทยมีทักษะฝีมือสูง มีความชัดเจนเรื่องกฎหมายต่างๆ มากกว่า ต่างชาติมีสิทธิ์ถือครองที่ดิน และมาตรการภาษีใช้ได้จริง
“ส่วนตัวเชื่อว่าเราจะสามารถดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยได้มากขึ้น โดยปัจจุบันพบนักลงทุนเกาหลีเข้ามาลงทุนในเวียดนามสูงสุดเป็นอันดับ 1 ประกอบกับไทยยังเห็นโอกาสที่จะดึงดูดนักธุรกิจของเวียดนามที่มีเงินทุนสูงและศักยภาพพร้อมออกไปลงทุนยังต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเบื้องต้นมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กลับไปสรุปสถานการณ์และผลการหารือครั้งนี้ทั้งหมดเพื่อเป็นแนวทางกำหนดแผนดึงดูดการลงทุนเข้าไทยก่อนนำเสนอให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอเป็นนโยบายต่อรัฐบาลต่อไป”นายสุริยะ กล่าว
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสศอ. กล่าวว่า แม้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของเวียดนามจะอยู่ในระดับต่ำกว่าไทย แต่สิ่งที่นักลงทุนไม่รับรู้ก่อนลงทุนคือ ค่าแรงงานขั้นต่ำดังกล่าวยังไม่ได้บวกค่าสวัสดิการต่างๆ ที่ต้องนำมานับรวมเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย โดยเฉพาะข้อกำหนดที่เวียดนามระบุให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีส่งเสริมการลงทุนนั้นมีโควต้าจำกัด เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในเวียดนาม กลับไม่ได้สิทธิประโยชน์จริง
โดยทางสถานทูตไทยประจำประเทศเวียดนาม ได้รายงานตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ที่ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 6 แสนล้านบาท) ขณะที่ไทยมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศประมาณ 7.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามไทยยังคงดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนสองทางทั้งการดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในไทย และการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพื่อนำส่งรายได้กลับเข้าประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |