แค่กฎหมายเก่า "ศุลกากร "โร่แจง ไม่ได้เข้มงวดตรวจสินค้า


เพิ่มเพื่อน    

ศุลกากรเต้นแจงประกาศใหม่ แค่กฎหมายเก่านำมาใช้ไหม่  ย้ำไม่ได้เข้มงวดกว่าเดิม ยกเว้นการเก็บอากร คนที่ขนสินค้าติดตัวมาเกิน 20,000 บาท และนำสินค้าปลอดภาษีเข้ามาในประเทศไทย

7 มี.ค.2561 นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวชี้แจงกรณีที่กรมศุลกากรได้ออกประกาศกรมศุลกากร 2 ฉบับ เกี่บวกับ  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติการศุลกากรในการตรวจปล่อยผู้โดยสารและหีบห่อสัมภาระระหว่างสนามบินภายในประเทศ โดยวิธีการ Check Through ซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนเที่ยวบิน หรือโดยเที่ยวบินเดิม ระหว่างสนามบินในประเทศ  และ ประกาศที่ 60/2561 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางอากาศยาน  โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ประกาศ 2 ฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายใหม่ แต่เป็นการนำกฎหมายฉบับเดิมที่มีการยกเลิกไปก่อนหน้านี้ กลับมาประกาศให้มีผลบังคับใช้อีกครั้ง 

ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กรมศุลฯ มีการปฏิรูปกฎหมายศุลกากรครั้งใหญ่ โดยเริ่มใช้พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ทำให้ประกาศที่มีอยู่ภายใต้กฎหมายเดิมต้องถูกยกเลิกไปด้วย ส่งผลให้ขณะนี้กรมฯต้องทยอยนำประกาศกฎหมายเดิมออกมาประกาศใช้ ให้สอดรับพ.ร.บ.ใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้ 

“ ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือกรมจะไปตรวจสอบเข้มงวดกว่าเดิมเลย เช่น การยกเว้นการเสียภาษีให้กับของส่วนตัวที่เจ้าของที่นำเข้ามาไม่เกินคนละ 20,000 บาท  สินค้าปลอดภาษี ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรขาออกในเมือง จะต้องนำออกไปใช้นอกราชอาณาจักรเท่านั้น หากนำกลับเข้ามาก็ต้องเสียภาษี ก็เป็นเรื่องปกติที่เคยทำมากันอยู่แล้ว” นายกุลิศ กล่าว

นายกุลิศ กล่าวอีกว่า ยืนยันประกาศที่ออกมาเป็นกฎหมายฉบับเดิมที่เคยใช้ โดยกรมไม่ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ หรือเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบของติดตัวผู้โดยสารขาเข้าและขาออก ดังนั้นขอให้ผู้โดยสารสบายใจว่าการเดินทางออกและเข้าในประเทศยังปฏิบัติได้เหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา และไม่ต้องกลัวว่าจะเสียเวลาถูกตรวจสอบในการเข้าออกสนามบินเพิ่มขึ้น เพราะปกติเวลาขาออกเจ้าหน้าที่ศุลกากรก็แทบไม่เคยตรวจสอบอยู่แล้ว ยกเว้นขาเข้าก็อาจมีการสุ่มตรวจบ้าง รวมถึงถ้าใครไม่แน่ใจว่าของที่นำติดตัวมาเป็นประเภทใด เข้าข่ายเสียภาษีหรือไม่ก็ให้ผ่านการตรวจที่ช่องแดงก่อน 

ส่วนกรณีที่ระบุว่า การเดินทางออกนอกประเทศ หากนำของมีค่าออกไป เช่น นาฬิกา กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ซึ่งมีเครื่องหมาย เลขหมายที่สามารถตรวจสอบได้ ให้แจ้งต่อพนักงานศุลกากรก่อนนั้น เป็นการอำนวยความสะดวกในกรณีผู้โดยสารที่ต้องนำของที่มีมูลค่ามากๆติดตัวออกไปต่างประเทศ ก็ให้ทำหลักฐานแจ้งไว้ก่อนเดินทางออก เพื่อเขากลับมาแล้วจะได้ไม่ต้องตรวจซ้ำ หรือถ้าหากถูกสุ่มตรวจจะได้มีหลักฐานยืนยันไว้ว่าเป็นของใช้ตัวเอง ซึ่งเป็นกฎหมายเดิมที่เคยมีอยู่ ซึ่งผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องไปแจ้งทุกคน 

อย่างไรก็ตาม การที่กรมฯ ต้องการให้ประชาชนสำแดงสินค้านั้น เพื่อป้องกันกรณีที่หากเกิดการเรียกสุ่มตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร จะได้มีหลักฐานอ้างอิงสินค้าเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่า ประชาชนทุกรายจะยื่นสำแดงสินค้าหรือไม่ยื่นก็ได้ เพราะไม่ได้มีความผิด แต่เป็นเพียงการแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของสินค้าเท่านั้น  ซึ่งการสำแดงสินค้าสามารถยื่นได้ที่กรมศุลกากรเท่านั้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"