1 ก.ย.62- กลุ่มรักษ์น้ำอูน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดสกลนคร ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการดำเนินการโครงการของบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ที่กำลังก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขนาด 12,500 ตันอ้อยต่อวันและอาจจะขยายเป็น 40,000 ตันอ้อยต่อวันในอนาคต รวมทั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 48 เมกกะวัตต์ซึ่งอาจจะขยายเป็น 112 เมกกะวัตต์
โดยแถลงการณ์ระบุว่า บริษัทเริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่บริเวณที่ตั้งโครงการซึ่งเคยเป็นป่าเต็งรังที่อุดมสมบูรณ์เมื่อประมาณปี 2559 ซึ่งขณะนั้นรายงานวิเคราะห์กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการยังไม่ผ่านความเห็นชอบ ปัจจุบันการก่อสร้างโรงงานได้เริ่มก่อความเสียให้กับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ห้วยสาธารณะ หนองน้ำสาธารณะ ถนนสาธารณะ ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการขุดถมขยายถนนโดยพลการจนถนนหนทางเสียหายประชาชนสัญจรไปมาลำบาก บางช่วงไม่อาจจะสัญจรได้ นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้าชีวมวลก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน มีการสร้างอาคารที่พักอาศัยของคนงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และสร้างความเสียหายให้กับลำห้วยที่อยู่ติดกัน
จากการกระทำดังกล่าวมาจะเห็นได้ว่าบริษัทมีเจตนาจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และพื้นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน กลุ่มรักษ์น้ำอูนและประชาชนจังหวัดสกลนครจึงขอเรียกร้องดังนี้ 1.ให้หยุดการก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงน้ำตาลสกลนครไว้ก่อน 2.ให้มีการตรวจสอบว่าการก่อสร้างโรงงานทั้งสองว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ 3. ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายในกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้าชีวมวลก่อนได้รับอนุญาต
4. ให้มีการตั้งกรรมการตรวจสอบกระบวนการอนุมัติอนุญาตที่เกี่ยวข้องว่าดำเนินตามกฎหมายหรือไม่ 5.ขอให้มีการตรวจสอบความเสียหายของถนนสาธารณะ ห้วยสาธารณะ หนองน้ำสาธารณะ คลองส่งน้ำสาธารณะ ตลิ่งลำน้ำสาธารณะในพื้นที่ก่อสร้างโครงการว่าได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างของบริษัทหรือไม่ 6.ให้ตั้งกรรมการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. อำเภอ จังหวัด กรม กระทรวง ว่ามีส่วนได้เสียหรือได้รับผลประโยชน์จากการจ้างงาน การรับเหมาก่อสร้างของบริษัท หรือประโยชน์อื่นใดจนเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ไม่ปกป้องสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ 7.ให้ชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลไปจนกว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จและมีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
ด้านนางสมัย มังทะ สมาชิกกลุ่มรักษ์น้ำอูน ชาวบ้านโคกสะอาด หมู่ 4 ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเห็นว่าหนองน้ำสาธารณะ ถนนสาธารณะ คลองไส้ไก่สาธารณะห้วยตาด ห้วยเตยมีความเสียหายจึงได้ทำหนังร้องเรียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ตรวจสอบการดำเนินการ นอกจากนี้หมู่บ้านเราปลูกข้าวพื้นบ้าน 400 กว่าสายพันธุ์ ปีที่ผ่านมาปลูกต้นไม้และแจกจ่ายพันธุ์ไม้แลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้มากกว่า 1 แสนต้น มีเป้าหมายจะปลูกผักหวานอีก 1 แสนต้น เลี้ยงห้อยทาก หอยหอมขยายพันธุ์ได้แล้วนับล้านตัว นี่ล้วนเป็นแนวทางการต่อสู้ของเราเพื่อยืนยันสิ่งที่เราเชื่อและแนวทางการพัฒนาที่อยากจะให้จังหวัดของเรา เป็นไปไม่ใช่ถูกบังคับให้พัฒนาตามนายทุน ที่นั่นมีโรงเรียนอยู่ใกล้ ๆ เราอยากจะรักษาอากาศดี ๆ ไว้ให้ลูกหลานหายใจ หากมีการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าเราจะไม่ปลอดภัย เราก็ต้องต่อสู้ต่อไปตามสิทธิต่อไป การพัฒนาของเขากำลังมาทำลายสิ่งที่เราพยายามพัฒนาตัวเองมาตั้งแต่พ่อแม่ปูย่าไม่ใช่เพื่อเราสักนิดเดียว
นายชาติชาย พุทธิไสย ผู้ใหญ่บ้านบ้านโคกสะอาด ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงงานมากที่สุดกล่าวว่าที่ผ่านมาการพัฒนาและการก่อสร้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่สาธารณะหลายอย่าง เช่น ลำห้วยตาดก็มีความเสียหหาย ถนนสาธารณะปัจจุบันประชาชนไม่สามารถสัญจรได้สะดวกเพราะมีรถบรรทุกวิ่งเยอะมากโดยเฉพาะถนนสายสกล-นาหว้าซึ่งมีรถเพิ่มขึ้น ขณะที่ก็พบอุบัติเหตุบริเวณดังกล่าวบ่อยขึ้นบริเวณเส้นทางโรงงานน้ำตาล รถชนรถบรรทุกอ้อย ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นผลกระทบแล้ว ที่สำคัญปัญหาความขัดแย้งแตกแยกภายในชุมชนซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดที่สุด พี่น้องญาติมิตรไม่มองหน้ากัน
ผศ.ดร.พุฒฑจักร สิทธิ อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภาษา ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวว่าตนเองถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการนี้โดยตรงเพราะเป็นคนอำเภอนาหว้าอยู่ในสายลำน้ำอูนที่เลี้ยงชีวิตมาตั้งแต่เด็ก แนวนโยบายโรงงานน้ำตาลที่มีมติคณรัฐมนตรีให้ย้ายมาที่นี่ การพัฒนาพัฒนาให้เจริญขึ้นและพัฒนาแล้วหายนะลง การพัฒนาที่เจริญขึ้นบริทเจ้าของโรงงานอาจจะรวยขึ้น แต่ชาวบ้านก็จะหายนะได้ มีมติไม่ให้สร้างใหม่แต่หมกเม็ดว่าให้ย้ายและขยายกำลังการผลิตได้ เป็นการหมกเม็ด เป็นนโยบายที่ลอยมาจากนโยบายส่วนกลางนี้ช่างเป็นนโยบายที่ไม่เห็นหัวประชาชน ทำให้เกิดความขัดแย้งไปทั่วภาคอีสานและความขัดแย้งที่ฝังรากลึกอยู่ในชุมชน และสร้างความเสียหายกับระบบนิเวศ
บาทหลวงประยูร พงษ์พิศ เลขาธิการอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง กล่าวว่า ใครเป็นเจ้าของท้องถิ่นซึ่งขณะนี้เรากำลังถูกรุกไล่ เราสู้เพื่อยืนยันสิทธิของเราเป็นสิ่งที่กล้าหาญทางจริยธรรมที่ออกมาต่อสู้ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมในความเป็นเจ้าของ อ้อยเอามาหีบเป็นน้ำตาล แล้วเอาชานอ้อยมาเผาเป็นไฟฟ้าชีวมวล ในทางเศรษฐกิจนายทุน เขาคิดว่าทำอย่างไรให้ได้กำไรมาที่สุด เงินจะได้พอกขึ้นนี้คือการพัฒนาของเขาแต่มันสวนทางกับเราที่เราต้องการมีพื้นที่ของเรา มีบ้าน มีพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ถ้ามันพัฒนาต้องยึดตรงนี้
"แต่นายทุนจับมือกับเจ้าหน้าที่ จับมือกับนักการเมือง แต่คนเหล่านั้นไม่ใช่เจ้าของชุมชน เรากำลังถูกลิดรอนสิทธิในการพัฒนาตามทิศทางที่เขายืนยัน ความรักในที่นี้หมายถึงความรักที่เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น แหล่งน้ำ ต้นไม้ ยืนยันสิทธิและทำให้สิทธินั้นเป็นของเรา ถ้าเจริญจริงคือพัฒนาเจริญไม่จริงก็ไม่พัฒนา ตอนนี้เราป้องกันไม่ทันมันสร้างแล้ว คำถามใหญ่คือแล้วเราจะกอบกู้บ้านเกิดเมืองนอนเราอย่างไร นี่คือคำถามที่เราในฐานะเจ้าของแผ่นดินของเราจะทำอย่างไร สิทธิที่เกิดจากการกระทำของเราที่เราทำมาแต่ปู่ย่าตายายรักษาหวงแหนทรัพยากรนั้นสืบต่อกันมา และนี้คือการต่อสู้รักษาทรัพยากร คือการยืนยันมโนธรรมในจิตใจของเรา"
ทั้งนี้ โครงการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขนาด 12,500 ในระยะแรกและ 40,000 ตันอ้อยในระยะที่ 2 ปัจจุบันสร้างในระยะแรกก่อน และโรงไฟฟ้าชีวมวลกำลังการผลิตขนาด 46 - 114 เมกะวัตต์ จากกากอ้อยปริมาณ 1,440,000 ตันต่อปี (ลานกองกาก 168,130 ตร.ม.) ของบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมาตั้งอยู่เลขที่ 89 หมู่ 8 ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างโรงงานแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมการผลิตน้ำตาล .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |