WHOยกย่องไทย10ปีลดเด็กจมน้ำได้50%


เพิ่มเพื่อน    

(Dr.David Meddings WHO ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.กองทุน สสส. เก็มมา เมย์ ผจก.ด้านการผลักดันนโยบายระดับนานาชาติ สถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ และคีย์แมนสำคัญของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประชุมระดับโลกการป้องกันการจมน้ำในเด็ก)

            สสส.-WHO-สธ.ถกปัญหาระดับโลกDROWN NO MORE เด็กจมน้ำทั่วโลกเสียชีวิต322,000คนหรือทุกๆ90วินาที เด็กเอเชียนำลิ่วร้อยละ60 WHOยกย่องไทยใช้ยุทธศาสตร์ลดเด็กจมน้ำได้ถึงร้อยละ50เห็นชัดเจนในรอบ10ปี พร้อมหยิบยกบทเรียนเผยแพร่สมาชิกดูงานในเมืองไทย

            สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)-องค์การอนามัยโลก(WHO)-กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) สถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ(RNLI) จัดงานประชุมภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออกว่าด้วยเรื่องการป้องกันการจมน้ำ(SEA Regional Meeting on Drowning Prevention)ระหว่างวันที่29-31ก.ค.62โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกWHO South-East Asia และองค์กรนานาชาติเข้าร่วมงานกว่า16ประเทศ ที่โรงแรมดิเอทัส ลุมพินี ในการถกปัญหาระดับโลก ด้วยปรากฏการณ์เด็กจมน้ำตายมีจำนวนมากกว่าเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)(โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง)และโรคติดต่อเรื้อรัง

(นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย)

            นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เด็กอายุต่ำกว่า15ปีจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ1 ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต จึงกำหนดมาตรการป้องกันอย่างจริงจังในช่วงกว่า10ปีที่ผ่านมา ลดการจมน้ำเสียชีวิตในเด็กปีละ1,500คน เหลือ681คน ลดจำนวนได้ครึ่งหนึ่งมาจากการกำหนดแผนป้องกันการจมน้ำอย่างบูรณาการในแต่ละกระทรวง แผนฉุกเฉินอุบัติเหตุทางน้ำ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนนโยบายโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก แผนยุทธศาสตร์ชาติ(ด้านสาธารณสุข)ในระยะ20ปีครอบคลุมทั้งปัจจัยเสี่ยงระดับบุคคลไปจนถึงสิ่งแวดล้อม

            Dr. David Meddings, WHO แนวทางปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก ชุดปฏิบัติการทางเทคนิคเพื่อป้องกันการจมน้ำกล่าวว่าทั้ง16ประเทศทำงานเรื่องเด็กจมน้ำThe Bestที่แตกต่างกัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ทำได้ดีด้วยการให้ความสำคัญในการให้ความรู้กับคนในประเทศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย “เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าประเทศใดเป็นผู้นำอันดับ1 กลุ่มเด็กแต่ละประเทศมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ประเทศไทยเป็น1ที่ได้รับเสียงชื่นชมด้วยมาตรการมุมมองสู่ทิศทางWHOลดการเสียชีวิตของเด็กจมน้ำเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศทำได้ดีในช่วง30ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง10ปีที่ผ่านมาเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน”

(ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์)

            ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสสส.เปิดเผยว่าภาพรวม16ประเทศ เมืองไทยในช่วงสิบปีลดอัตราการตายของเด็กจมน้ำได้ครึ่งหนึ่ง(11.5:แสนเป็น6:แสน)เป็นตัวอย่างที่ทำได้ดีของชาวโลก ส่วนใหญ่เด็กจมน้ำในช่วงปิดเทอม เด็กในประเทศที่สัญจรทางน้ำ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซียมีอุบัติเหตุทางน้ำในช่วงเทศกาลค่อนข้างสูงเสมือนหนึ่งการตายบนท้องถนน สสส.ช่วยในแนวราบประสานงานกับภาคราชการหน่วยงานต่างๆเป็นศูนย์วิชาการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี ชุดโมเดลกล่องความรู้ 5ทักษะ

เด็กกลุ่มอายุ5-9ปีถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะธรรมชาติวัยนี้ชอบเรียนรู้สิ่งรอบตัว สสส.จึงดำเนินโครงการเพื่อป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ การทำงานได้เชื่อมประสานระหว่างโรงเรียน ภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ผ่านกิจกรรม อาทิ การออกกำลังกายกายเพื่อรอดชีวิตทางน้ำ เปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงเป็นพื้นที่เล่นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อทำให้แหล่งน้ำในชุมชนปลอดภัย พร้อมผลักดันให้เกิดมาตรการสนับสนุนป้องกันการจมน้ำของเด็กในระดับจังหวัด

            ดร.สุปรีดากล่าวว่าการแก้ไขปัญหาให้ได้ผล ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม การจัดการแหล่งน้ำในชุมชนที่พบว่าเป็นจุดเสี่ยงที่เด็กเสียชีวิตมากที่สุด ต้องทำให้ปลอดภัยโดยเครือข่ายในชุมชนร่วมมือกัน ทั้งนี้สสส.ได้สนับสนุนให้ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดีพัฒนากล่องชุดความรู้5ทักษะ ความปลอดภัยทางน้ำเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ครูช่วยเรื่องการเรียนการสอน5ทักษะ ความปลอดภัยทางน้ำที่สามารถสอบผ่านกิจกรรมเกมที่ทั้งเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ชุมชนเองสามารถนำไปต่อยอดได้

(ดร.นพ.ทักษพล ธรรมรังสี)

            ดร.นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการแผนกโรคไม่ติดต่อและอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก(WHO-SEARO)เปิดเผยว่าปัญหาการจมน้ำเสียชีวิตทำให้เกิดความสูญเสียทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม แต่ประชาชนยังตระหนักต่อปัญหาน้อยเมื่อเทียบกับผลกระทบ จากสถิติพบว่าในปี2559มีผู้เสียชีวิตเพราะการจมน้ำทั่วโลกถึง322,000คนโดยเฉพาะการเสียชีวิตเกิดในเด็กซี่งเป็นอนาคตของสังคม ร้อยละ60เกิดขึ้นในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อัตราการตายในเมืองไทยนั้นมากกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกเกือบเท่าตัว ดังนั้นการป้องกันการจมน้ำจึงต้องร่วมมือทุกฝ่าย

            เก็มมา เมย์ ผู้จัดการด้านการผลักดันนโยบายระดับนานาชาติ สถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ (Royal National Lifeboat Institution-RNLI)สหราชอาณาจักรกล่าวว่ายินดีที่สถาบันฯเข้าร่วมเวทีสำคัญนี้ เพื่อเพิ่มความตระหนักและสร้างเสริมการดำเนินงานที่สอดประสานกันเรื่องการป้องกันการจมน้ำในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก สถาบันฯได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกและองค์กรสากลต่างๆรวมถึงรัฐบาลนานชาติในการขับเคลื่อนมาตรการและข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก ผ่านการแบ่งปันองค์ความรู้และความชำนาญด้านการช่วยชีวิตคน เพื่อสนับสนุนให้การป้องกันการจมน้ำถูกยกระดับเป็นวาระสำคัญของโลก เพื่อลดการสูญเสียของประชากร

            สาธิตแนวทางการปฏิบัติที่ดี:หลักสูตรว่ายน้ำช่วยให้รอดชีวิตจากเด็กนักเรียนหญิงชายจำนวน10คนจากร.ร.วัฒนพฤกษา นนทบุรี การทำCPR อย่างถูกวิธี ด้วยWonderful Team ที่บริเวณสระว่ายน้ำชั้น9 ร.ร.เอทัสโดยมีมนุษย์กบฮุก31 นครราชสีมาจำนวน6คนที่สกรีนข้อความ“เราจะพาเขากลับบ้าน”บนเสื้อยืด ทั้งนี้พล.ต.อดิศักดิ์ สุวรรณประกร ผอ.ฝ่ายฝึกอบรม สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ สอนสาธิตการลอยตัว ในปี2015-2017มี3484ทีมmerit maker ก่อตั้ง77จังหวัดทั่วทั้งประเทศ ทีมบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัย15,501 Risky water Settingsให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำ12,275ศูนย์

            นิทรรศการที่นำมาจัดแสดงเกี่ยวกับข้อมูลเด็กจมน้ำ ไทย บังกลาเทศ พม่า อินเดีย มัลดีฟ อินโดนีเซีย เนปาล ศรีลังกา การจัดให้มีป้ายเตือนระวัง 68.75% การเฝ้าดูแลระดับน้ำให้เกิดความปลอดภัย 87.67% ให้เด็กศึกษาการว่ายน้ำเพื่อช่วยชีวิต 20% ให้การศึกษากับผู้ปกครอง เครื่องมือสื่อสาร เพิ่มความรู้ให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรอบรู้ ตระหนักถึงอันตรายจากปัญหาเด็กจมน้ำ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.):ภาพ

(การใช้เชือกดึงช่วยเด็กจมน้ำ)

 

39ประเทศมี60%ของโลกเด็กจมน้ำลดลง10%

            เก็มมา เมย์ ผู้จัดการด้านการผลักดันนโยบายระดับนานาชาติ สถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ (Royal National Lifeboat Institution-RNLI)สหราชอาณาจักร (รังสรรค์ มั่นคง สสส.ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลเป็นภาษาไทย)

            “ประเทศไทยทำงานเรื่องเด็กจมน้ำได้อย่างโดดเด่นในระดับโลก ทั้งๆที่ขณะนั้นยังไม่มีข้อมูบเพียงพอเกี่ยวกับภัยจากการจมน้ำเป็นอย่างไร ประเทศที่เป็นต้นแบบในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือไทย เวียดนาม บังกลาเทศ การจมน้ำในเด็กเป็นเรื่องใหม่ต่อสังคมโลก เมืองไทยสร้างเอกลักษณ์ด้วยการนำนโยบายเป็นตัวนำ เริ่มต้นที่กระทรวงสาธารณสุขผลักดันด้วยความมุ่งมั่นในช่วง10ปีลดอัตราเด็กจมน้ำได้ถึงครึ่งหนึ่ง  ด้วยมาตรการขับเคลื่อนสอดคล้องกับการทำงานของWHO พัฒนาทักษะการว่ายน้ำ ดูแลตัวเองของเด็กๆ การป้องกันสิ่งกีดขวางต่างๆ การจัดทำคอกเด็กเพื่อเด็กจะได้ไม่ตกน้ำเป็นที่ชื่นชมมาก”

            “การสร้างจิตอาสาในชุมชน การสร้างความพึงพอใจในงาน “เราทำได้”เพื่อลูกหลานของเรา คนไทยทำได้ดีเพราะได้รับการพร่ำสอนตลอดเวลาเมื่อมีการลงพื้นที่ มีการสาธิตด้านสาธารณสุข อีกทั้งยังจัดทำเป็นคู่มือแม่และเด็กแจกจ่ายให้กับแม่ไทยและแม่ต่างชาติ เป็นความคิดที่ดีมาก ทุกคนดูแลลูกของตัวเองลดปัจจัยเสี่ยง สิ่งเหล่านี้ไม่เห็นในประเทศอื่น นับได้ว่าเป็นงานInnovation ต้นทุนที่ไม่แพงแต่มีประโยชน์มากๆ ประเทศไทยกล้าลงทุนในเรื่องความรู้เหล่านี้ ทั้งนโยบาย การทำวิจัย  การใช้มาตรการต่างๆเพื่อเป็นการวัดผลทำให้เห็นพัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ”

            “ในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศใช้วิธีการทำงานที่ครอบคลุมแบบประเทศไทย นับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีให้โลก เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะลดอัตราการตายของเด็กจมน้ำได้ครึ่งหนึ่งใช้เวลา10ปี เป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆด้วย การเปลี่ยนแปลงดูเหมือนจะช้าแต่มีความเป็นไปได้ ประเทศไทยมีความเก่งในการเล่าเรื่องราวสู่นานาชาติ   ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเป็นตัวอย่างเพื่อShare Success Story ที่ทุกคนควรได้รับการชื่นชม สิ่งที่นำมาแบ่งปันความรู้จะลดเวลาในการทำงาน เป็นเรื่องท้าทายในการแบ่งปันความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เป็นActionเร่งด่วน ทำให้บางประเทศใช้เวลาเพียง5ปีแทนที่จะใช้เวลา10ปี”

            “ประเทศอังกฤษทำงานมาแล้วถึง190ปี แต่ยังไม่เคยทำหลักสูตรการสอนเด็กว่ายน้ำระดับประเทศแต่เด็กไทยมีหลักสูตรแล้ว ประเทศที่เข้าร่วมประชุมจะได้รับฟังเรื่องราวมาเห็นของจริง กระตุกต่อมความคิด หาข้อสรุปในเมืองไทยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้”

            “การปลดล็อกในระดับโลก การให้ความสำคัญในระดับนานาชาติ เป็นการช่วยฉายSpot Light Link Climate Change SDGการพัฒนาอย่างยั่งยืน น้ำทะเลสูงขึ้น อากาศแปรปรวน บนเวทีนี้มีการประเมินผลงานทั้ง39ประเทศ(28ประเทศและ16ประเทศ) ทำให้เห็นบรรยากาศผลการประเมิน มองเห็นข้อมูลปีนี้และปีหน้าได้อย่างชัดเจน ในจำนวน39ประเทศมี60%ของโลกมีจำนวนเด็กจมน้ำลดลง10%นับได้ว่าเป็นBig Change ลดจำนวนเด็กจมน้ำได้มากเป็นหมื่นๆคน มองเห็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในอีก5ปี แม้จะลดจำนวนไม่ถึงZero แต่ด้วยความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทั่วไปยอมรับว่าเด็กจมน้ำเป็นปัญหาในสังคม เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับอุบัติเหตุทางถนน7วันอันตราย ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงได้ ในต่างประเทศมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องจะมองเห็นความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่Action”

            “Media For Actionสื่อมวลชนมีความสำคัญมากๆที่จะช่วยฉายขนาดของปัญหาหนทางในการแก้ไขเพื่อให้เกิดการ Actionจากรัฐบาลและทุกภาคส่วน เป็นกระบอกเสียงของประชาชนในการเรียกร้อง เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบให้งานประสบความสำเร็จ”

บรรยายใต้ภาพ

(เก็มมา เมย์ ผู้จัดการด้านการผลักดันนโยบายระดับนานาชาติ สถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ)

            ประสบการณ์190ปีในการช่วยชีวิตที่สหราชอาณาจักร Ireland

นับเป็นเรื่องวิกฤติที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลก WHO Global Health ทุกปีชี้วัดว่าเด็กตายจากการจมน้ำ322,000คน หรือทุกๆ 90วินาที เป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง2เท่า การจมน้ำ1ใน10 สาเหตุทางกายที่มีอายุ1-24ปี มากกว่า90%เกิดขึ้นในครอบครัวมีรายได้ต่ำและกลางเป็นจำนวน3เท่าจากประเทศที่มีรายได้สูง มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กจมน้ำตายมีอายุต่ำกว่า25ปี

 

            เด็กในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 31%  เด็กในกลุ่มแปซิฟิกตะวันตก 25% เด็กในกลุ่มแอฟริกา 23% เด็กในกลุ่มยุโรป 7% เด็กในกลุ่มตะวันออกกลาง 7%


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"