“ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์” รมว.การอุดมฯ เยี่ยมชม “ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านควอนตัม”มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เดินทางลงพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) ซึ่งเป็นการลงพื้นที่เป็นครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง รมว.การอุดมฯ เพื่อเยี่ยมชม “ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านควอนตัม”  ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพื่อนำเสนอ “โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม”

ดร.สุวิทย์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีควอนตัม เป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21 ที่โลกกำลังให้ความสนใจ เพราะทุกอย่างในอนาคตจะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แม้แต่รถยนต์ในอนาคตต้องควบคุมด้วยเทคโนโลยี  ไม่ใช่น้ำมันอีกต่อไป ดังนั้น ประเทศไทย ต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ เพราะในอนาคตเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาในชีวิตของเราอย่างเต็มตัว ประเทศไทย จะต้องมี สถาบันเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศควอนตัมที่สมบูรณ์  ภายใต้เครือข่ายของนักวิจัย นักเทคโนโลยี และการลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมผ่านการประสานงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศ ทั้งในแง่ความรู้ฐานราก ในแง่การตื่นตัวและโอกาสของทุนสมองรุ่นใหม่ และ ในแง่ศักยภาพของการพึ่งพาตนเองในด้านวิจัยและพัฒนา อันจะนำไปสู่เป้าประสงค์หลัก คือ การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อนำประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางด้วยระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมระดับสูง

รมว.การอุดมฯ กล่าวต่อว่า โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือว่ามีความสมบูรณ์และความพร้อม เป็นที่รวบรวมบุคลากรที่เก่งด้านฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก มีขีดความสามารถเชิงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ควอนตัมที่โดดเด่น อีกทั้งยังได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีการทดลองและอุปกรณ์วิจัยมากมายเป็นของตนเอง มีความสามารถในการถ่ายโอนเทคโนโลยีดังกล่าวสู่ห้องวิจัยเกิดใหม่ทั่วประเทศ

ด้านผศ.ดร.วรานนท์ อนุกูล หัวหน้าห้องปฎิบัติการวิจัยทัศนศาสตร์เชิงอะตอมควอนตัมและอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า   โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อสร้างต้นแบบและนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (deep technology) ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน รวมไปจนถึงการสร้างผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ ตลอดจนธุรกิจบ่มเพาะอันอาจจะเกิดขึ้นจากต้นแบบนวัตกรรมนั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมควอนตัมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการเตรียมพร้อมการสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเป็นรากฐานแกนกลางของการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกสาขาอย่างก้าวกระโดดในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างมั่นคงยั่งยืนต่อไป โดยเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ด้วยงบการลงทุนเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 100 ล้านบาท ผนวกกับแผนงานด้านกำลังนักวิจัยฟิสิกส์วิศวกรรม วิศวกร และนักเทคโนโลยีควอนตัม จำนวนมากถึง 17-20 อัตรา จะทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประโยชน์จากงานวิจัยควอนตัมของประเทศไทยที่สามารถดำเนินการได้ทันที


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"