หลายคนที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวง และเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะรถเมล์ เรือ โดยสารทั้งเจ้าพระยา และคลองแสนแสบ รวมถึงยังมีรถไฟฟ้าที่มีทั้งใต้ดินและบนดิน ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีหลากหลายรูปแบบ และยิ่งปัจจุบันจะมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นอีกหลายสายทางการพกบัตรโดยสารหลายใบ อาจจะสร้างปัญหาความสับสนให้กับผู้ใช้เส้นทางต่างๆ ได้ ดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้กับประชาชน ด้วยบัตรเพียงใบเดียวนั้น และยังสามารถใช้ซื้อของในร้านค้าที่ร่วมรายการได้อีกด้วย
ก็ได้แต่รอคอยกันไปหลายรัฐบาล หลายรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคมจนแล้วจนรอดตัวร่วมที่ประกาศว่าจะใช้งานได้ก็ต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ล่าสุดกลางปี 2562 คิดว่าจบทุกอย่างเมื่อกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดตัวบัตรแมงมุม สำหรับการเดินทางในระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยมีการแจกบัตรฟรีในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วง รวม 200,000 ใบ และว่ากันว่าจะใช้ได้กับระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และรถเมล์ของ ขสมก.ได้
แต่รถไฟฟ้า BTS ไม่ได้ โดยสาเหตุหลักๆ เรื่องต้นทุนที่ BTS ต้องจ่ายเพิ่ม เพื่อพัฒนาเครื่องรับบัตร การปรับระบบต่างๆ
ซึ่งจากเหตุดังกล่าวนั้นทำให้ รฟม.ได้อัพเกรดบัตรแมงมุมให้เป็นระบบ EMV (Euro Mastercard Visa) คือใช้ระบบเดียวกับบัตรเครดิตและเดบิต ด้วยความหวังว่าในอนาคตประเทศไทยมีความหวังที่จะใช้บัตรใบเดียวเดินทางผ่านระบบขนส่งมวลชนได้ง่ายขึ้น ใช้บัตรใบเดียวจ่ายเงินได้เลย และอาจจะรวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อจ่ายค่าเดินทางต่างๆ แต่ BTS ก็ยังไม่เข้าร่วมการใช้บัตรแมงมุมอยู่ดี ทำให้ผู้โดยสารยังคงต้องถือบัตรหลายใบในการเดินทางโดยรถสาธารณะ
ซึ่งทางด้าน นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ออกมาระบุว่า บัตรแมงมุม หรือตั๋วร่วม ปัจจุบันยังใช้กับขนส่งไม่หลากหลายตามที่รัฐคาดการณ์ไว้ ต้องจับตามองในปี 2564-2565 ว่า จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเป็นปีที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองเปิดใช้งาน โดยรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจะเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT สายน้ำเงิน ดังนั้น ทาง รฟม.น่าจะมีเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานว่าต้องมีระบบใช้ตั๋วร่วมกัน รวมถึงไม่คิดค่าตั้งต้นเพิ่มเมื่อประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 2 สายขึ้นไป
พร้อมทั้งย้ำว่า แม้ รฟม.จะให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูกับ BTS แต่เพราะมีสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ระบบตั๋วต้องเป็นระบบเดียวกัน และมีเงื่อนไขว่า ถ้าประชาชนเดินทางจากสายสีชมพูหรือสายสีเหลือง แล้วต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต้องใช้ตั๋วใบเดียวกัน และเสียค่าตั้งต้นหรือค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว เมื่อเปลี่ยนขบวนไปที่รถไฟฟ้าอีกสายก็ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีน่าจะเห็นความชัดเจนว่ารถไฟฟ้าจะมีเงื่อนไขอย่างไร เมื่อต้องใช้ระบบตั๋วร่วมกันผู้ประกอบการต้องคำนวณต้นทุนหัวอ่าน ระบบบริหาร ระบบความเสี่ยงในจุดต่างๆ เพิ่มเติม และต้องหวังว่า รฟม.จะไม่ปล่อยให้ประชาชนต้องถือบัตร 2 ใบเพื่อใช้เดินทางในรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง ซึ่งเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง
และล่าสุด นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาระบุอย่างชัดเจนหลังจากมีการประชุม คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าและติดตามแนวทางบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และได้สั่งการให้ รฟม.เร่งรัดการดำเนินงานบัตรแมงมุมภายใต้มาตรฐานของ รฟม. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สรุปรายละเอียดการเปิดใช้งานรวมถึงแก้ไขปัญหาที่ยังค้างอยู่ให้มีความชัดเจนภายใน 1 เดือน
แต่ในระยะใกล้นี้ต้องยอมรับกันไปก่อนว่า แม้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ เปิดตัวทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ยังต้องใช้บัตรแรบบิทเหมือนเดิม และจะเปิดส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังใช้บัตร MRT ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เดิมไปก่อน พร้อมกับลุ้นกันต่อไปว่าตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมจะได้ใช้กันจริงๆ เมื่อไหร่.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |