ในแต่ละปี ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย สร้างรายได้ให้ธุรกิจหมุนเวียนกว่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งในปี 2562 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 41.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.5% สร้างรายได้ 2.21 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10% ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยจะมีจำนวน 166 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 3% และสร้างรายได้ 1.12 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5%
แต่ปรากฏว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ท่องเที่ยวไทยในปีนี้สะดุด โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยวกันน้อยลง ซึ่งจากข้อมูลที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยออกมานั้น สถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1.55 ล้านล้านบาท ขยายตัว 2% เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 19.6 ล้านคน ขยายตัว 0.7% สร้างรายได้ 1.01 ล้านล้านบาท ขยายตัว 0.3% และนักท่องเที่ยวไทย 76 ล้านคน/ครั้ง ขยายตัว 2% สร้างรายได้ 5.4 แสนล้านบาท ขยายตัว 5%
นับว่าครึ่งปีที่ผ่านมาตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่ถือว่าเป็นไปตามเป้า จนกระทั่งมีการเสนอให้เป็นฟรีวีซ่า ให้กับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย ซึ่งถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดหลักของไทย เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหลักเดินทางเข้ามาเที่ยว แต่สุดท้ายแผนการนี้ก็ถูกตีตกไปด้วยประเด็นความมั่นคง คงเหลือแต่การต่ออายุมาตรการฟรีค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือฟรี visa on arrival : VOA ที่ขยายออกไปอีกจนถึง 30 เมษายน 2563 ซึ่งมาตรการนี้ถือเป็น มาตรการยาสามัญ ที่หยิบมาใช้ทุกครั้งที่ท่องเที่ยวตก แต่มันก็ไม่ใช่ยาแรงที่จะบูทส์นักท่องเที่ยวให้กับขึ้นมา
จึงต้องยอมรับว่า มาตรการนี้ไม่สามารถคาดหวังการกระตุ้นท่องเที่ยวได้
จากนี้สิ่งที่รัฐบาลลุ้นและวัดดวงมากที่สุด คือ มาตรการด้านการท่องเที่ยว “ชิม ช็อป ใช้” ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนในประเทศออกไปเที่ยว โดยรัฐบาลจะแจกเงิน 1,000 บาทไปฟรีๆ จำนวน 10 ล้านคน คิดเป็นวงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐเชื่อว่าคนไทยจะออกไปเที่ยวกันเยอะขึ้น คาดหวังมีเม็ดเงินสะพัดมากถึง 3 แสนล้านบาท
แต่เงื่อนไขในการได้รับเงินในโครงการนี้ ค่อนข้างเป็นเรื่องยาก ซึ่งมันมีเงื่อนไขบังคับไว้ 5 ข้อ คือ 1.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ททท. (24 ก.ย.-15 พ.ย.2562) เป็นคนไทย ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน มีบัตรประจำตัวประชาชน มี Smart Phone/เครือข่าย Internet มี e-mail 2.รอรับ SMS ยืนยันไม่เกิน 3 วันทำการ 3.ดาวน์โหลดแอป "เป๋าตัง" เพื่อรับสิทธิ์ 4.ท่องเที่ยวและใช้จ่ายได้ภายใน 14 วัน หลังได้สิทธิ์ 5.เที่ยวในจังหวัดที่เลือกไว้ 1 จังหวัดเท่านั้น สามารถใช้ได้ภายใน 27 ก.ย. ถึง 30 พ.ย.62 เท่านั้น
ความที่มีข้อจำกัดก็คือ โครงการนี้จะเป็นการใช้จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อว่ายังเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย และเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้เอง และผู้ให้บริการเอง ก็จะต้องเรียนรู้กันใหม่หมด
ดังนั้นบอกได้เลยว่า การขับเคลื่อนโครงการนี้ไม่ใช่ของหมูๆ แน่นอน โดยเฉพาะการใช้แอปชำระเงินที่อาจจะมีผู้ที่กล้าๆ กลัวๆ ที่จะใช้ รวมถึงร้านค้าเองก็กล้าๆ กลัวๆ ที่จะรับ
โดยทางภาครัฐระบุว่า แอป 'เป๋าตัง' จะมีวงเงินในเป๋าตัง ช่อง 1 ให้ 1,000 บาท เพื่อใช้สิทธิชิม ช็อป ใช้ ในจังหวัดที่เลือกไว้ และสามารถเติมเงินของตนเองในเป๋าตังช่อง 2 เพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการ ร้านค้า "ชิม ช็อป ใช้" นอกจากได้เงิน 1 พันบาทแล้ว รัฐบาลยังมีโปรโมชั่นโดนใจ โดยการใช้จ่ายจากเป๋าตัง ช่อง 2 รัฐบาลจะสนับสนุนเงินคืนให้ (Cash Back) ร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (หรือวงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท) ซึ่งจะจ่ายคืนเงินให้หลังสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2562
ด้วยความยุ่งยาก และเงื่อนไขการขอรับเงิน รวมถึงจุดที่ให้บริการ ถามว่ามีความพร้อมในการรองรับหรือยัง น่าจะเป็นคำถามมากกว่า ว่า อีโคซิสเต็มของระบบมันพร้อมใช้กันหรือยัง ไม่ใช่มีเงิน แต่ผู้ประกอบการรับไม่ได้ มาตรการนี้ก็ไม่สำเร็จผล
สุดท้ายนี้ เชื่อแน่ว่าคนที่จะมาขอรับเงินไปเที่ยวน่าจะมีไม่ถึง 10 ล้านแน่ๆ แล้วยิ่งมีเงื่อนไขการใช้งานที่สลับซับซ้อน ดังนั้นสิ่งที่วางเป้าว่ามาตรการนี้จะช่วยพยุงธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายได้ อาจจะเป็นแค่ความฝันก็ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |