26 ส.ค.62 -โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดงานบรรยากาศการเปิดคลินิกกัญชาเป็นครั้งที่ 3 เป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ป่วยจากหลายจังหวัดทยอยเข้ามาเข้ารับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้ ได้มีการจ่ายน้ำมันกัญชา เพื่อติดตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรค ลมชัก พาร์กินสันที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแผนปัจจุบัน และเริ่มให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยยากัญชาสกัดจากของกลาง ที่ผ่านมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งนี้ คลินิกกัญชา ดำเนินการภายใต้โครงการ “กัญชา อภัยภูเบศร โมเดล เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ที่ 4 ของเดือน ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานยุทธศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดคลินิกกัญชาทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ก็มีต่างประเทศติดต่อสอบถามเพื่อขอเข้ารับการรักษากันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดคลินิกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นแห่งแรกของอาเซียน
สำหรับการประชุมภูมิปัญญาอาเซียนที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกัญชากันอย่างกว้างขวาง โดย ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า กัญชงและกัญชาคือ พืชชนิดเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์ ในพืชชนิดนี้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กันมาก ทำให้กัญชงและกัญชาแยกออกจากกันยาก ในสหรัฐอเมริกา ที่ให้ปลูกกันจะเป็นกัญชง เนื่องจากมีสารเมาปริมาณต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งนี้ ในส่วนของมูลค่าตลาดของกัญชานั้นในแต่ละฐานข้อมูลมีมูลค่าแตกต่างกัน อาจเนื่องด้วยคำจำกัดความของกัญชา บางฐานข้อมูลการตลาดก็รวมกัญชงหรือ Hemp เข้าไปด้วย และยังมีประเด็นช่องทางการจำหน่ายที่ส่งผลให้มีการรายงานตัวเลขแตกต่างกัน แต่ที่แน่นอนตลาดโดยรวมมีมูลค่าสูงขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
ดร.ผกากรอง กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อบ่งใช้ของกัญชาที่นำมาใช้กันมากคือ บรรเทาปวด แต่โดยส่วนตัวมองว่า ในประเทศไทยน่าจะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการนำมาใช้ด้วย โดยอาการปวดนั้นหากมียาที่ราคาถูก ใช้ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่าควรเลือกใช้ก่อนกัญชา ส่วนที่นำผลิตภัณฑ์กัญชาไปใช้เพื่อการรักษาโรคทางผิวหนังนั้น ต้องยอมรับว่ากำลังมาแรงในขณะนี้ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกมาก ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมุ่งวิจัย รวมทั้งพัฒนารูปแบบของยาเพื่อให้นำส่งยาได้ดีเช่น ยกตัวอย่างบริษัท zynerba pharmaceutical ที่กำลังพัฒนารูปแบบยาที่นำส่งผ่านผิวหนัง เนื่องจากศึกษาพบว่า CBD สามารถถูกเปลี่ยนเป็น THC ในกระเพราะอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของตลาดกัญชา คือ ผลข้างเคียง และความสามารถของกัญชาที่จะใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ รวมถึงสังคมผู้สูงอายุและการวิจัย ซึ่งประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้จากการคำนวณในเบื้องต้นของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่า ยาน้ำมันกัญชา 1 ล้านขวด ใช้กัญชาเพียง 40-50 ไร่เท่านั้น เพราะเป็นพืชที่ใช้เพียงน้อยก็ได้ผลแล้ว ดังนั้นการส่งเสริมให้เป็นอุตสาหกรรมวงกว้างน่าจะทำได้ลำบาก
“ส่วนการส่งเสริมกัญชงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะมีโอกาสนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความงาม และยาที่มี CBD เด่นได้ ในต่างประเทศ เมล็ดกัญชงสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเนื่องจากมีโอเมก้าสูง เส้นใยเอามาทำอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไฟเบอร์กลาสของรถยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน แกนนำมาทำอิฐมวลเบา ทำให้อาคารไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป การพัฒนากัญชงจึงต้องพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆควบคู่กัน ดิฉัน เคยไปอิตาลี และได้ทราบว่าทางการอิตาลีก็กำลังควบคุมร้านจำหน่าย CBD เพราะตรวจพบว่าสารสกัด CBD บางเจ้ามี THC สูงกว่ากำหนด อาจส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนได้ ประเทศไทยหากจะเดินทางไปทางนี้ต้องมีเครื่องมือในการตรวจ THC และ CBD ที่รวดเร็วและกลไกการลงโทษผู้ที่กระทำผิดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย” ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |