ทูตสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติยืนยันเมื่อวันอังคารว่า พม่ายังคงเดินหน้า "ล้างเผ่าพันธุ์" ชาวโรฮิงญาอยู่อย่างต่อเนื่อง นับแต่กองทัพเปิดปฏิบัติการกวาดล้างเมื่อ 6 เดือนก่อน ด้วยการรณรงค์สร้างความหวาดกลัวและการบีบบังคับให้อดอยาก
ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาเดินเท้าข้ามแม่น้ำนาฟจากพม่าเข้าบังกลาเทศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 แฟ้มภาพ FRED DUFOUR / AFP
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 อ้างคำแถลงของแอนดรูว์ กิลเมอร์ ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ยืนยันภายหลังได้พูดคุยกับชาวโรฮิงญาที่เพิ่งเดินทางมาถึงค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ ว่า "การล้างเผ่าพันธุ์" ชาวโรฮิงญาจากพม่ายังคงดำเนินอยู่ และเขาไม่คิดว่าสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินที่คอกซ์บาซาร์จะสามารถสรุปเป็นอื่นได้
เขากล่าวในแถลงการณ์ว่า ธรรมชาติของความรุนแรงในพม่าเปลี่ยนแปลงจากการล้างเลือดอย่างบ้าคลั่งและการข่มขืนหมู่เมื่อปีที่แล้ว มาเป็นการรณรงค์สร้างความหวาดกลัวและบีบบังคับให้อดอยากในระดับที่รุนแรงน้อยกว่า ซึ่งดูเหมือนมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันชาวโรฮิงญาที่หลงเหลืออยู่ ออกจากบ้านเรือนของพวกเขาเข้าสู่บังกลาเทศ ชาวโรฮิงญาที่เข้ามาใหม่นี้เดินทางมาจากเมืองชั้นในของรัฐยะไข่ที่ไกลจากชายแดน
นับแต่กองทัพพม่าเปิดปฏิบัติการกวาดล้างในรัฐยะไข่ เพื่อตอบโต้ที่กองกำลังติดอาวุธชาวโรฮิงญาโจมตีที่ตั้งของฝ่ายความมั่นคง 30 จุดพร้อมกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2561 สังหารตำรวจกว่า 10 นาย ชาวโรฮิงญาราว 700,000 คนพากันอพยพออกจากพื้นที่ พร้อมกับคำบอกเล่าความโหดร้ายป่าเถื่อน การเข่นฆ่า ข่มขืน และวางเพลิง โดยฝีมือของทหารและม็อบชาวยะไข่
แถลงการณ์ของทูตยูเอ็นผู้นี้กล่าวด้วยว่า คงเป็นเรื่อง "เหลือเชื่อ" ถ้าชาวโรฮิงญาจะสามารถกลับคืนพม่าได้ในอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ว่าพม่าได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะเริ่มรับผู้ลี้ภัยบางส่วนกลับคืน
"รัฐบาลพม่าง่วนกับการบอกต่อชาวโลกว่าพม่าพร้อมจะรับชาวโรฮิงญากลับคืน แต่ในขณะเดียวกัน กองทัพพม่าก็กำลังผลักดันพวกเขาเข้าสู่บังกลาเทศอย่างต่อเนื่อง" กิลเมอร์กล่าว "การกลับคืนถิ่นอย่างปลอดภัย มีศักดิ์สรี และยั่งยืน นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้"
พม่าไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าว, นักการทูต และองค์กรบรรเทาทุกข์เกือบทั้งหมด เข้าถึงพื้นที่ตอนเหนือของรัฐยะไข่ ยกเว้นการเยือนช่วงสั้นๆ ที่มีทหารติดตามไปด้วย
กองทัพพม่าอ้างว่าการปราบปรามของพวกเขาเป็นปฏิบัติการที่ชอบด้วยเหตุผลเพื่อกวาดล้างกองกำลังติดอาวุธชาวโรฮิงญาที่โจมตีสังหารตำรวจ 12 นายเมื่อปีทีแล้ว แต่ยูเอ็น, กลุ่มสิทธิ และชาติมหาอำนาจจากตะวันตกกล่าวหากองทัพพม่าว่า ใช้การปฏิบัติการกวาดล้างเป็นข้ออ้างเพื่อขับไล่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ออกจากพม่า
องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (เอ็มเอสเอฟ) ประเมินว่า มีโรฮิงญาอย่างน้อย 6,700 คนโดนฆ่าในเดือนแรกของการปราบปราม รายงานข่าวและข้อมูลการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมพบว่าหมู่บ้านชาวโรฮิงญาหลายร้อยแห่งโดนวางเพลิง และมีอย่างน้อย 55 แห่งที่โดนไถปราบ กำจัดร่องรอยที่เคยเป็นบ้านเรือน บ่อน้ำและแปลงเกษตรไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |