คิวอาร์โค้ดวิดีทัศน์วิธีทำงา นประดิษฐ์ดอกไม้
งานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย เป็นภูมิปัญญาสืบทอดหลายร้อยปี ความประณีต งดงาม ในการนำดอกไม้ไทยชนิดต่างๆ มาเย็บ ปัก ทัก ร้อย กรอง ฯลฯ ให้เป็นมาลัย เครื่องหอม พานพุ่ม เครื่องแขวน การจัดดอกไม้รูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย และนำไปใช้ในงานพิธีสำคัญทางศาสนา ทั้งงานมงคล งานพิธีกรรม หรือนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงอนุรักษ์และส่งเสริมงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย และงานศิลปะและหัตถศิลป์ไทยทุกแขนงให้คงอยู่สืบไป
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2562 สกุล อินทกุล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ หรือในอีกบทบาทที่ทุกคนรู้จักคือนักออกแบบดอกไม้ระดับโลก ได้เปิดตัวหนังสือ “มาลี มาลัย แบบเรียนงานประดิษฐ์ดอกไม้ไทยสำหรับเยาวชน” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ทางวัฒนธรรม โดยเนื้อหาของหนังสือประกอบไปด้วยบทเรียนเบื้องต้นของงานประดิษฐ์ดอกไม้ไทย พร้อมคิวอาร์โค้ด วิธีการทำทั้ง 12 บท ทั้งนี้หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายไปยังโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศเท่านั้น จำนวน 30,000 เล่มโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามสแกนคิวอาร์โค้ดได้ทาง Facebook : The Museum of Floral Culture
สกุล อินทกุล
สกุล ในฐานะบรรณาธิการ หนังสือมาลี มาลัย เล่าว่า ตั้งแต่เด็กเป็นคนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้และขยายพันธุ์ต้นไม้ จนได้เริ่มทำงานเกี่ยวการจัดดอกไม้ต่างๆ ซึ่งงานประดิษฐ์ดอกไม้นับว่าเป็นงานฝีมือ เป็นวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่ในอดีตเกิดการเรียนรู้จากการส่งทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ใช้วิธีมองแล้วทำ ยังไม่การบันทึกเป็นตำรา แต่เป็นงานที่มีความละเอียด ปราณีตอย่างมาก อย่างบ้านใครมีงานบุญต้องจัดดอกไม้ ในละแวกบ้านก็จะมาช่วยกันทำเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปก็ต้องมีการจัดทำขึ้นเป็นหนังสือ เป็นเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่สู่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ง่าย
“แรงบันดาลใจสำคัญในการทำหนังสือ มาลี มาลัย และงานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมดอกไม้อื่นๆ คือ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ครั้งหนึ่งได้ถวายงานพระองค์ตั้งแต่ปี 2543 มากว่า 10 ปี ทำให้ผมได้เรียนรู้งานประดิษฐ์ดอกไม้ไทยต่างๆ อย่างลึกซึ้ง และยังทรงเคยตรัสกับผมว่า ดอกไม้งานเอเปคสวยมาก คนชมกันมาก ขอบใจ ซึ่งเป็นประโยคที่ผมประทับใจและรู้สึกภาคภูมิใจมาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นจึงทำให้เกิดความคิดที่จะรังสรรค์งานดอกไม้ไทยที่มีความร่วมสมัยเข้ากับยุคสมัยใหม่มากขึ้น จึงได้ทำหนังสือ ดอกไม้ไทย และสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่มรดกอันล้ำค่าของไทย” สกุล เล่า
สกุล และ 4 เยาวชนผู้ร่วมทำหนังสือ มาลี มาลัย
บรรณาธิการ ยังบอกอีกว่า ตั้งใจที่จะทำหนังสือเล่มนี้ให้เป็นแบบเรียนของเยาวชนทั้งหมด 12 บท ที่ได้คัดเทคนิคเบื้องต้นในการทำงานดอกไม้ ไม้ว่าจะเป็นการเย็บ ปัก ทัก ร้อย ได้เริ่มจากการทำแบบง่าย ซึ่งก็ได้ลูกศิษย์เยาวชนที่มาเรียนกับตนเป็นผู้เขียน ได้แก่ เด็กหญิงพิณมุกดา ตงศิริ, เด็กหญิงในใจ เม็ทซกะ, เด็กหญิงกิตติมา หงส์อนุกรักษ์ และเด็กชายระวิ อนันตประยูร ซึ่งเป็นการถ่ายทอดถึงคนในวัยเดียวกันด้วย และตนก็เป็นผู้นำเนื้อหามาเกลา และเรียบเรียงอีกครั้งให้สมบูรณ์
บรรยากาศวันเปิดตัวหนังสือ
“สำหรับหนังสือมาลี มาลัย จะเป็นการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการประดิษฐ์ดอกไม้ประเภทต่างๆ ว่านำไปใช้ในประเพณีไหน หรือเหมาะกับงานประเภทใด ชนิดดอกไม้ที่ใช้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างมาลัยตุ้ม ซึ่งเป็นการจัดประเภทหนึ่งของมาลัย ดอกไม้ที่นำมาใช้ก็มีหลายชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกกุหลาบ หรือขันหมากเบ็ง ที่พบเห็นได้บ่อยในแถบภาคอีสาน นิยมใช้เป็นเครื่องบูชาในทางพุทธศาสนา หรือการทำกระทง ที่จะทำมาลอยในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นประเพณีของไทย ที่จะสอนให้เด็กได้ใช้กลีบดอกบัวมาพับเป็นกลีบกระทง และอื่นๆ ส่วนวิธีการทำเพื่อให้เด็กได้เข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าการเขียนเป็นตัวอักษร จึงมีการจัดทำเป็นวิดีทัศน์ คาดหวังสิ่งเหล่านี้จะได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ให้ได้เห็นถึงวัฒนธรรมดอกไม้ของไทย และในเล่มต่อไปก็พัฒนาเป็นหนังสือ มาลี มาลัย ใบตอง” บรรณาธิการ กล่าว
4 เยาวชน ผู้เขียนเนื้อหาในหนังสือ มาลี มาลัย
ด้าน เด็กชายระวิ อนันตประยูร หรือ น้องลายคราม นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ลูกศิษย์เยาวชนของครูสกุล หนึ่งในผู้เขียนหนังสือมาลี มาลัย เล่าว่า ได้เริ่มเข้ามาเรียนการทำดอกไม้ตั้งแต่เรียนอยู่ ป.2 ในช่วงที่มีการจัดงานลอยกระทง และทางโรงเรียนจัดงาน จึงอยากที่จะเรียนรู้ในการทำกระทง ซึ่งในตอนยังเด็กก็รู้จักดอกไม้บางชนิด พอได้เริ่มฝึกทำอย่างจริงจัง ก็รู้สึกสนุก ได้รู้จักการทำดอกไม้แบบต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่การร้อยมาลัย แต่ยังมีการจัดพาน งานดอกไม้ตกแต่ง ได้ช่วยครูในการทำหนังสือในส่วนของวานเครื่องแขวนเล็ก ซึ่งเป็นงานที่ง่าย สามารถทำประดับตกแต่งได้ เพื่อนหรือน้องๆก็สามารถเรียนรู้ได้เพราะเป็นการทำแบบง่ายไม่ยาก และยังช่วยทำให้เรามีสมาธิ ได้สืบสานวัฒนธรรมของไทยนี้ให้คงอยู่ต่อไปด้วย
นอกจากนี้ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 ที่๋ผ่านมา ทางพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ยังได้จัดงาน “บุษบัญชลี เทศกาลกล้วยไม้ถวายพระพร” โดยเป็นงานแสดงกล้วยไม้ถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และในโอกาสเปิดดำเนินการครบรอบ 7 ปี ภายในงานจะมีกิจกรรม อาทิ จัดอบรม และสาธิตบทเรียนเบื้องต้น ของงานประดิษฐ์ดอกไม้สดไทย12 บท, การสัมมนาให้ความรู้การทำปุ๋ยอินทีรัย์ที่ไม่ใช้สารเคมี โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ, การประชันบทกลอนดอกไม้และแรงบันดาลใจ, การออกร้านสินค้าศิลปะหัตถกรรม และกิจกรรม Night at Museum : Jazz in The Garden
ผู้ที่สนใจ ติดตาม ความเคลื่อนไหว ของ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ : http://www.floralmuseum.com/ หรือ www.sakulintakul.com และ facebook : The Museum of Floral Culture
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้
ดอกไม้ที่จัดตกแต่งภายในงานห้อยระย้าสวยงาม
งานดอกไม้ที่นำมาตกแต่งบ้านเรือนในพิพิธภัณฑ์ฯ
ภายในพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้
เยาวชนสนใจหนังสือแบบเรียน มาลี มาลัย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |