ปัญหาขยะในประเทศไทยเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ทำให้เป็นปัญหาใหญ่ได้ รวมทั้งยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งสังคมการเป็นอยู่ก็ติดขัด แถมยังเป็นมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการรณรงค์ลดปัญหาขยะก็เป็นเรื่องที่ทำมาโดยตลอด การทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง หรือแม้แต่การคัดแยกขยะก็มีคนออกมาเดินหน้าเรื่องนี้
และส่วนใหญ่ความเคยชินของคนเราก็จะเอาชนะความถูกต้องเสมอ เมื่อเหตุแบบนี้เกิดขึ้น ก็ยิ่งทำให้เรื่องขยะในประเทศไทยเป็นปัญหาที่แก้กันไม่จบไม่สิ้นสักที และมีทีท่าว่าจะต้องแก้ไขกันอีกต่อไปเรื่อยๆ
แต่ถึงจะไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขปัญหาเรื่องขยะได้จบ เพราะเรื่องพวกนี้ต้องอาศัยเวลาในการปลูกจิตสำนึกที่ดี แต่ก็ยังมีโครงการต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนเรื่องพวกนี้อยู่เรื่อย และทุกโครงการที่จุดประสงค์ที่เชื่อว่าจะทำให้สังคมน่าอยู่ และลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในเมือง ป่า หรือในน้ำ อย่างเช่นโครงการ "พัฒนาอุปกรณ์ติดทุ่นกักขยะลอยน้ำสำหรับติดตั้งในบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองสาขา" ที่ดำเนินการโดย ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยล่าสุด นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำจำนวน 20 ชุด ให้กับนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำไปขยายผลติดตั้งร่วมกับทุ่นของ ทช. ณ บริเวณปากแม่น้ำและลำคลองสาขา พร้อมนำร่องในพื้นที่ 13 จังหวัด เพื่อลดปริมาณขยะไหลลงสู่ทะเล คาดว่าจะช่วยกักขยะได้ 30 ตัน ภายใน 6 เดือน
ซึ่งทุ่นกักขยะลอยน้ำ ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับติดตั้งบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองสาขา โดยออกแบบให้มีกลไกฝาเปิด-ปิดที่อาศัยหลักการไหลของน้ำและแรงดันช่วยกักขยะลอยน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขยะที่กักได้ไม่หลุดลอยออกนอกทุ่นตามอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง โดยได้ทดลองติดตั้งทุ่นกักขยะแล้ว 5 จุด ณ บริเวณปากแม่น้ำระยอง และคลองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจสามารถรวบรวมและกักขยะลอยน้ำได้เฉลี่ย 7.7 กิโลกรัม/วัน/ชุด โดยจะขยายผลติดตั้งทุ่นกักขยะอีก 20 จุด ใน 13 จังหวัดนำร่อง
นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาขยะทะเล จำเป็นต้องจัดการขยะอย่างเป็นระบบทั้งบนบกและในทะเล ควบคู่กับการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และพลาสติกที่ไม่จำเป็นลงให้ได้ เพราะขยะที่ไหลลงสู่ทะเลเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายทรัพยากรทางทะเล สัตว์ทะเล และระบบนิเวศทางทะเลที่สมบูรณ์ ซึ่งกลายเป็นวิกฤติสำคัญของไทยที่ต้องแก้ไขให้ได้ทั้งระบบอย่างจริงจัง
ซึ่งลูกพะยูน "มาเรียม" กลายเป็นแรงกระตุ้นจิตสำนึกของคนให้เห็นภัยของขยะพลาสติกต่อชีวิตสัตว์ทะเลหายากมากขึ้น เนื่องจากไทยมีขยะพลาสติกมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ดังนั้น พลาสติกที่ไม่จำเป็น เมื่อใช้แล้วต้องทิ้งให้ถูกที่ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ผ่านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือหลักการ 3R ซึ่งความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ด้าน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า จากการสำรวจของกรม พบว่าประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลจำนวนกว่า 500 สาย ซึ่งทุ่นที่ได้รับมอบจากเอสซีจีจำนวน 20 ชุดนี้ จะนำไปติดตั้งในพื้นที่ 13 จังหวัดชายทะเล ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา ภูเก็ต สตูล และระนอง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการจัดการเพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่จะไหลลงสู่ทะเล ลดผลกระทบที่จะเกิดต่อระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก
ปัญหาขยะในทะเล ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากขยะในแม่น้ำลำคลองไหลสู่ทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทางทะเล โดยความร่วมมือระหว่าง ทช. และเอสซีจีในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่ได้นำนวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหาขยะในแหล่งน้ำ ทั้งนี้ ทุ่นกักขยะลอยน้ำจะอยู่ในการดูแลของ ทช. โดยเอสซีจีจะร่วมติดตามผล และศึกษาการจัดการขยะที่เก็บได้จากแหล่งน้ำ และป้องกันไม่ให้กลับสู่แหล่งน้ำอีก
นอกจากนี้ เอสซีจียังได้นำความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์มาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ “หุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0” ซึ่งจะช่วยเก็บขยะในพื้นที่น้ำนิ่ง และพื้นที่ที่เข้าถึงลำบาก คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมทดลองใช้ภายในปลายปี 62 นี้
ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือและการดำเนินโครงการที่สำคัญอย่างมาก ที่เป็นเครื่องมือจะช่วยให้สภาพแวดล้อมทางละเทของประเทศเรานั้นมีความสดใสและสวยน่ามองอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันยังไม่ทำให้การทิ้งขยะที่เกิดจากความเคยชินของทนุษย์นั้นไปเบียดเบียนความเป็นอยู่ของสัตว์ร่วมโลกอีกด้วย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |