ผวาปนเปื้อนกัมมันตรังสี'ศรีสุวรรณ'จี้อย.เปิดชื่อ12ร้านอาหารญี่ปุ่นนำเข้าปลาจากฟุกุชิมะ


เพิ่มเพื่อน    

    6 มี.ค.61- นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์สมาคมฯ เรื่องเรื่อง "ขอคัดค้านการนำเข้าปลาจากฟุกุชิมะและขอให้ อย.เปิดเผย 12 ร้านอาหารญี่ปุ่นให้ผู้บริโภคทราบ" ระบุว่า ตามที่เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เจแปนไทม์ ได้รายงานว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่จังหวัดฟุกุชิมะ ของญี่ปุ่นสามารถส่งออกปลาดิบมาขายในร้านอาหารญี่ปุ่น 12 ร้านในกรุงเทพฯ ได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา หลังประสบปัญหานิวเคลียร์รั่วไหลปนเปื้อนน้ำทะเล จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0 แมกนิจูดและเกิดสึนามิเมื่อปี 2554

    การนำเข้าอาหารทะเลจากฟุกุชิมะ ซึ่งมีความเสี่ยงของการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีที่รั่วไหลลงทะเลญี่ปุ่น ชี้ให้เห็นถึงมาตรฐานการควบคุมการนำเข้าอาหารของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะทำให้คนไทยหรือผู้ที่นิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่น มีความเสี่ยงที่จะได้รับสารกัมมันตรังสีซีเซียม (Caesium) ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการวิจัยมหาสมุทร (Scientific Committee on Oceanic Research) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายประเทศทั่วโลก พบว่าเมื่อปี 2011 ปลาทะเลที่จับนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะราวครึ่งหนึ่งมีรังสีปนเปื้อนเกินระดับปลอดภัย แต่พอถึงปี 2015 ตัวเลขกลับลดลงจนเกินลิมิตมาแค่ไม่ถึง 1% ซึ่งหมายความว่า เรานำเข้าปลามา 1000 ตัว จะมีไม่ถึง 10 ตัวที่จะมีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน นั่นหมายความว่า จะกินปลาญี่ปุ่นทีนึง ก็เหมือนซื้อหวย ถ้าถูก 2 ตัวท้ายมาก็เสี่ยงมะเร็งกันหรืออย่างไร กรมประมง และคณะกรรมการอาหาร มีมาตรการในการตรวจสอบปลานำเข้าจากฟุกุชิมะทุกตัวหรือไม่ หรือตรวจสอบครั้งเดียวจบเลย

    หลายประเทศยังคงมีคำสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์จาก จ.ฟุกุชิมะ แต่มีการผ่อนผันเป็นบางกรณี หรือมีคำสั่งเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ส่งออกจาก จ.ฟุกุชิมะของญี่ปุ่น ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน รวมทั้งเกาหลีใต้ ที่ต่อสู้กันอยู่ในขณะนี้ที่ WTO แต่ประเทศไทยกลับไม่ปกป้องคุณภาพชีวิตคนไทยเลยหรืออย่างไร

    ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 61 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ด้านความปลอดภัย ด้านความเป็นธรรมในการทําสัญญา หรือด้านอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค” ขณะเดียวกันตาม พ.ร.บ.อาหาร 2522 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 26 ก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือจําหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย” 

     ดังนั้น เป็นสิทธิของประชาชนผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลที่เพียงพอในการบริโภค และสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งแน่นอนว่า “สุขภาพต้องมาก่อนการค้า” การที่ราชการไทยอนุญาตให้มีการนำเข้าอาหารทะเลหรือปลาจากฟุกุชิมะ ซึ่งมีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

    สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนจึงใคร่ขอเรียกร้องให้ อย. คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยสั่งให้เปิดเผยรายชื่อบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าและเปิดเผยรายชื่อ 12 ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ใช้ปลานำเข้าจากฟุกุชิมะมาแล้วด้วย ได้แสดงฉลากหรือข้อมูลหน้าร้านอาหารของตนให้ชัดเจนว่าเป็น “ปลาจากฟุกุชิมะ” เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนเข้าใช้บริการด้วย ซึ่งหากยังเพิกเฉยสมาคมฯอาจใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"