ช่วยชาติประหยัด 2,600 ล้าน ด้วยระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะ


เพิ่มเพื่อน    

ด้วยความต้องการอยากให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้ในราคาที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพในระบบไฟฟ้าไม่ให้เกิดไฟตกหรือดับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมที่สามารถบริหารจัดการปัจจัยสำคัญของประเทศทั้ง 2 ประการไปพร้อมกัน

‘ระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. โดยการนำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่ำ ซึ่งระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะมีต้นทุนในการจัดทำเพียงชุดละ 30,000 บาท แต่กลับช่วยชาติและช่วยคนไทยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 2,600 ล้านบาท หรือลดลงครัวเรือนละ 0.03 สตางค์/หน่วย นับตั้งแต่เริ่มใช้งานมา

“เพื่อให้สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนในการผลิตราคาต่ำได้เต็มที่ เช่น ในช่วงฤดูฝน โรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว มีน้ำที่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก ซึ่งทรัพยากรน้ำมีราคาต้นทุนในการผลิตถูกกว่าก๊าซธรรมชาติ หรือ ถ่านหิน จึงต้องการให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่ เพื่อทำให้ภาพรวมด้านต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่ำลง” สิริกัลยา พัชนี วิศวกรสาวจาก กฟผ. พูดถึงแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก แต่ในทางเทคนิคแล้วไม่สามารถส่งไฟฟ้าได้เกินกว่าขีดความสามารถของสายส่ง เพราะระบบส่งไฟฟ้าก็เปรียบเสมือนกับท่อน้ำ ที่หากปริมาณน้ำที่ส่งมากเกินกว่าความจุของท่อ ก็อาจจะเกิด ‘ท่อแตก’ ได้ เช่นเดียวกับสายส่งไฟฟ้าที่สามารถรับไฟฟ้าได้จำกัด ซึ่งหากมีการผลิตและส่งไฟฟ้ามากเกินกว่าที่ประสิทธิภาพของสายส่งไฟฟ้าจะรับได้ จะทำให้เกิดการขัดข้องของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า และนำไปสู่การเกิดไฟฟ้าดับในบริเวณกว้างได้

หรืออธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ คือ สมมติว่า มีสายส่ง 2 เส้น โดยแต่ละเส้นสามารถรองรับปริมาณไฟฟ้าได้เส้นละ 200 เมกะวัตต์ รวมเป็น 400 เมกะวัตต์ หากเกิดเหตุการณ์ที่สายส่งเส้นหนึ่งขัดข้องไม่สามารถส่งไฟฟ้าได้ ระบบนี้จะสั่งการอัตโนมัติให้ตัดปริมาณไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไม่ให้ส่งไฟฟ้าจำนวน 400 เมกะวัตต์ เข้าสายส่งที่เหลือเพียงเส้นเดียว ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าดับได้

 

ระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะนี้จึงมีหน้าที่เข้ามาบริหารจัดการ และตัดสินใจแทนมนุษย์ในเวลาเสี้ยววินาที เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ และสร้างเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า

 

หลักการทำงานของระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะเป็นการผสานกันระหว่างซอฟต์แวร์ กับฮาร์ดแวร์ โดยที่ซอฟต์แวร์ จะเป็นระบบที่สามารถประมวลผลสภาพระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแบบ Real time และสามารถตัดสินใจควบคุมระบบแทนมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาเพียง 30 มิลลิวินาที ในขณะที่ฮาร์ดแวร์ เป็นกล่องควบคุมที่ติดตั้งอยู่ที่สถานีไฟฟ้า (Substation) ทำหน้าที่สั่งการควบคุมระบบไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้าในสถานการณ์นั้นๆ เพื่อความมั่นคงของระบบและการรักษาเสถียรภาพ

 

“การสั่งการของระบบสามารถทำได้เร็วกว่าโอเปอร์เรเตอร์ที่เป็มนุษย์ และรวดเร็วกว่าการกะพริบตาของคนเสียอีก”วิศวกรจาก กฟผ. กล่าวถึงความอัจฉริยะของระบบนี้

 

 

 

นวัตกรรม ‘ระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ เป็นไอเดียของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบ พร้อมเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำได้เต็มที่ ด้วยความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีราคาที่เหมาะสม รวมทั้งสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศนวัตกรรม ‘ระบบสั่งการโรงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ จึงได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ ที่เป็นเครื่องการันตีความสุดยอดของนวัตกรรมชิ้นนี้ โดยได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุด (Platinum Award) ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)” เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

นับเป็นความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ของชาว กฟผ. ที่ทำเพื่อประเทศไทย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"