'ศรีสุวรรณ'ร้องปปช.ฟันกรมศิลป์-ธนารักษ์ทุจริตหน้าที่22ส.ค.


เพิ่มเพื่อน    

21 ส.ค. 62 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า มีชาวบ้านในพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา และใน จ.พระนครศรีอยุธยา ร้องเรียนมายังสมาคมฯ เพื่อขอให้เป็นธุระในการร้องเรียนกล่าวโทษผู้บริหารกรมธนารักษ์ และกรมศิลปากรใน 2 กรณีดังนี้
         
กรณีที่ 1 ตามที่เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารทั้งแถบในที่ดินราชพัสดุในเขตเทศบาลเมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2554 จนเสียหายทั้งหมด ต่อมาธนารักษ์พื้นที่นครราชสีมาและเทศบาลเมืองปัก ได้เห็นชอบให้มีการจัดทำผังและก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ทดแทน เพื่อให้ชาวบ้านรายเดิมได้ใช้สิทธิเช่าอาศัยกันต่อไป แต่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงผังและแบบก่อสร้างใหม่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เช่าบางรายที่ไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบที่กรมธนารักษ์กำหนด โดยไม่ได้มีการยกเลิกผังเดิมที่ได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายแล้ว จนทำให้ผู้เช่าเดิมเดือดร้อนและเสียหาย กลายเป็นข้อขัดแย้งกันมาอย่างยาวนานกว่า 8 ปีจวบจนปัจจุบัน
          
กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การกระทำของธนารักษ์พื้นที่นครราชสีมาและเทศบาลเมืองปัก อาจเข้าข่ายการทุจริตต่อหน้าที่ โดยใช้กลไกของอำนาจรัฐที่อยู่เหนือประชาชนคนยากคนจน กระทำการเปลี่ยนแปลงผังแบบแปลนการก่อสร้างอาคารใหม่ไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และอาจเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางราย ขัดต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ 2562 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 โดยชัดแจ้ง
           
กรณีที่ 2 ตามที่กรมศิลปากรได้ว่าจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) โดยให้ผู้รับเหมาดำเนินโครงการขุดวางแนวสายเคเบิลเพื่อวางระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ที่วัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโบราณสถานมีอายุกว่า 400 ปี เป็นเหตุให้อิฐและกำแพงโบราณถูกทำลาย เพื่อเปิดทางในการวางสายเคเบิ้ล-สายไฟฟ้าลงดิน แทนที่จะขุดเป็นอุโมงค์ลอด จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศในขณะนี้นั้น
           
แม้กรณีดังกล่าว รองอธิบดีกรมศิลปากรจะอ้างว่าเป็นอิฐกำแพงใหม่เมื่อดำเนินการวางสายเคเบิ้ลเสร็จแล้ว จะทำการก่อซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ แต่จากสภาพความเสียหายของกำแพงและอิฐแต่ละก้อนที่แตกเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นอิฐเก่าหรือไม่ต้องถือว่าเป็นการทำลายโบราณสถาน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากรมศิลปากรไม่ได้ใช้หลักวิชาการทางโบราณคดีมาปรับปรุงซ่อมแซมโบราณสถาน ไม่มีมาตรการควบคุมตามกฎหมายแต่อย่างใด หากแต่ปล่อยให้ผู้รับเหมากระทำการซ่อมแซมไปเสียอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อถูกสังคมจับได้มักจะออกมากล่าวอ้างแบบเอาสีข้างเข้าถูไม่สมกับเป็นหน่วยงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถานแต่อย่างใด ซึ่งกรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า กลไกการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซมโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม อาจไม่เป็นไปตาม มาตรา 10 มาตรา 10 ทวิ ประกอบ มาตรา 32 และ มาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.โบราณสถานฯ 2504 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 และ มาตรา 360 ทวิ ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากร PEA และ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จะปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่ได้
          
“ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย พร้อมชาวบ้านทั้ง 2 จังหวัดจะนำความพร้อมพยานหลักฐานไปยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเอาผิดธนารักษ์พื้นที่โคราช เทศบาลเมืองปัก อธิบดีกรมศิลปากร PEA และ ผอ.อุทยานฯอยุธยาต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันพฤหัสที่ 22 ส.ค. 2562 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ นนทบุรี” นายศรีสุวรรณ ระบุ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"