การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องดูแลแบบองค์รวม ตั้งแต่อารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใส จากการหัวเราะและมองชีวิตให้เป็นเรื่องบวก ไล่มาจนถึงการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม รู้จักเลือกอาหารการกินที่เหมาะสม ตลอดจนออกกำลังกาย และการเตรียมเรื่องของการออมสำหรับดูแลตัวเองในอนาคต เพราะแนวโน้มของผู้สูงวัยไทยในอนาคตนั้น จะต้องดูแลตัวเองมากกว่าการพึ่งพิงบุตรหลาน เนื่องจากปัจจุบันจำนวนของบุตรที่เกิดขึ้นลดน้อยลง พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร จิตแพทย์ผู้สูงอายุ ที่ปรึกษาและแพทย์ผู้สูงอายุ คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.ราชวิถี มาให้ข้อมูลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไว้น่าสนใจ
(พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร)
พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร บอกว่า “ประโยชน์ของการหัวเราะ อันที่จริงแล้วการหัวเราะก็เป็นเรื่องดีทำให้คนได้ผ่อนคลายสบาย แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้นั้นอาจจะเป็นการให้ผลเชิงสั้นๆ ถ้าหากความทุกข์ยังอยู่ แต่ท้ายที่สุดแล้วการที่ผู้สูงวัย “มีอารมณ์ขัน” ก็ได้ผลดีต่อสุขภาพอยู่เช่นกัน ดังนั้นหมอมองว่าถ้าในชุมชนที่อาศัยอยู่สามารถที่จะทำโครงการหัวเราะ หรือสร้างอารมณ์ขันให้กับคนสูงวัย ผ่านการรวมกลุ่มทำกิจกรรม อย่างการเล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เต้นหรือร้องเพลง เพื่อเรียกเสียงรอยยิ้ม ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพแบบองค์รวม เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง รู้สึกไม่เครียดและมีจิตที่เบิกบาน ซึ่งตรงนี้เราเรียกกันว่าเป็นการสุขภาพทั้งกายและใจ เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวนมากต้องอยู่บ้านเพียงลำพังอย่างเหงาหงอย
เมื่อมีสุขภาพจิตที่แจ่มใสแล้ว การที่คนอายุตั้งแต่ 45-90 ปีนั้นหันมา “ดูแลสมอง” ซึ่งถือเป็นอวัยวะสั่งการที่สำคัญของร่างกาย เพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมนั้น ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้อย่างง่ายๆ เช่น การฝึกบวกลบตัวเลข หรือการเล่นเกมจับคู่ร่วมกับลูกหลาน ตลอดจนทำท่ากายบริหาร เพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม เช่น การทำท่าจีบและท่าตัวแอล สลับข้างกันโดยไม่ผิด ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้สมองได้คิดเป็นต้น หรือแต่การที่คนสูงอายุ มีความรู้ในเรื่องของการดูแลตัวเอง เช่น มีทักษะความรู้ในการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เช่น “การออกกำลังกายอย่างง่าย” เป็นต้นว่า การยืนแกว่งแขน หรือทำงานบ้านเพื่อช่วยขยับเขยื้อนร่างกาย ตลอดจนการปรุงอาหารรับประทานเอง จากเนื้อสัตว์และเครื่องในที่ไร้ไขมัน การลดอาหารหวานมันเค็ม กินผักผลไม้มากขึ้น และเน้นปลอดสารพิษอีกด้วย หรือแม้แต่เรื่องของ “การออมเงิน” ตั้งแต่อายุยังน้อย การรู้จักการทำบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแม้แต่การออมเงินผ่านธนาคาร หรือการประกันภัย การประกันชีวิต เป็นต้น
ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยที่กล่าวมาข้างต้น อาจจำเป็นต้องอาศัยชุมชนหรือภาคสังคมเข้ามาช่วยกันคิดว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้สูงอายุไม่เพียง ไม่อยู่คนเดียว แต่เขาจะต้องอยู่กับเพื่อนบ้าน รวมถึงชุมชนให้ได้ โดยสามารถดูแลตัวเองในทุกมิติดังกล่าว เพราะในอนาคตอีก 20 ปี ซึ่งหากว่าตอนนี้เขาอายุ 45 ปี เขาจะต้องเป็นคนแก่ที่อยู่กับตัวเอง เลี้ยงดูตัวเอง เนื่องจากลูกหลานจะน้อยลงมาก
“คนที่จะดูแลเราต่อไปในอนาคตอาจไม่ใช่ลูกหลาน แต่อาจจะเป็นคนในชุมชน และส่วนใหญ่ต้องชุมชน ดังนั้นชุมชนเองต้องแข็งแรง โดยลงไปให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถดูแลตัวเองได้ และจะทำให้ไม่มีโรคมาก ถ้ามีก็ดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อนั้นเขาจะได้ไม่ต้องป่วยเรื้อรัง หรือป่วยทุพพลภาพ สุขภาพจิตผู้สูงอายุก็จะดี ที่สำคัญต้องไม่ลืมเรื่องการวางแผนการเงิน เพื่อจะได้ไม่ต้องหวังพึ่งลูกหลานมากเกินไป ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้สูงวัยลืมไม่ได้นั้น เมื่อมีเงินอย่าให้ลูกหลานไปหมด เนื่องจากต้องเก็บไว้ดูแลตัวเอง เพราะแนวโน้มนั้นผู้สูงอายุใหม่อาจต้องอาศัยคนอื่นมาดูแล แต่ถ้าจะให้นั้นก็ต้องมีการแวงแผนไว้อย่างรอบคอบ หรือแบ่งสันปันส่วน เพื่อป้องกันลูกหลานแย่งชิงทรัพย์สมบัติ หากไม่ได้วางแผนเรื่องนี้ไว้แต่เนิ่นๆ”
การดูแลสุขภาพที่กล่าวมานั้น นับเป็นการทำงานเชื่อมโยงระหว่างกัน และต้องอาศัยภาคชุมชนสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ในการให้ความรู้กับคนอายุตั้งแต่ 45-90 ปี เพื่อดูแลเองเนิ่นๆ ในทุกเรื่อง เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คนหลัก 3 หลัก 4 อาจต้องเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพในทุกมิติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาว ว่าไหมคะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |