“Happy Run, Happy Health” เดิน-วิ่งฉลองสะพานมโนรมย์ เส้นทางวิ่งจากสะพานมโนรมย์ จ.ชัยนาท ไป จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมาเป็นงานวิ่งที่เปิดโอกาสให้คนทุกวัยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีโดยไม่หวังผลแพ้ชนะ แม้จะไม่ใช่รายการวิ่งใหญ่ได้มาตรฐานงานวิ่งแต่มีการบูรณาการจัดงานวิ่งอย่างมีส่วนร่วมโดยไม่ละทิ้งเรื่องความปลอดภัย สำหรับนักวิ่งทุกคนไม่ว่าจะเดิน-วิ่ง 5 กิโลเมตรและวิ่งมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร ส่วนเงินรายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ติดเตียงในพื้นที่อำเภอมโนรมย์
งานวิ่งฉลองสะพานมโนรมย์ครั้งนี้เจ้าภาพคือสาธารณสุขอำเภอมโนรมย์ สนับสนุนการจัดงานโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งชูงานวิ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ส่งเสริมประชาชนให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
จุดเด่นของงานวิ่งฉลองสะพานมโนรมย์ไม่ได้จ้างออร์แกไนเซอร์แพงๆ จัดงาน แต่มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ผนึกกำลังกับคนในพื้นที่ขับเคลื่อนจนงานวิ่งประสบผลสำเร็จ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้คนออกกำลังเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะการวิ่งซึ่งงานเดินวิ่ง-ฉลองสะพานมโนรมย์ ณ เรือสำเภาทอง อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท สอดคล้องกับทิศทางส่งเสริมสุขภาวะของ สสส. โดยงานวิ่งมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ นำโดย เจิดศักดิ์ นิลอุบล นายอำเภอมโนรมย์ และมาลีรัตน์ ยอดแตง สาธารณสุขอำเภอมโนรมย์ รวมถึง พชอ. และชุนชนอย่างเป็นองค์รวม มุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่งานนี้มีนักวิ่งสมัครร่วมกิจกรรมถึง 2,500 คน ชุมนุมคนรักสุขภาพและนักวิ่งชาวชัยนาท ตนได้ร่วมเดิน-วิ่งฉลองสะพานมโนรมย์ครั้งนี้ ประทับใจบรรยากาศ มีทั้งเด็กหนุ่มสาว ผู้สูงวัย ผู้ใช้วีลแชร์ร่วมกิจกรรมคึกคัก โดยเฉพาะเด็กๆ เปิดโอกาสให้ได้ลองออกกำลังกาย เป็นการปลูกฝังการเล่น พวกเขาจะเห็นว่ามีทางเลือกที่สนุก ไม่ต้องหมดเวลาไปกับหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์
“งานวิ่งครั้งนี้มีสะพานเป็นกิมมิกสร้างความสนุกสนานของกิจกรรม และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองจังหวัดที่การเดินทางไปมาหาสู่กันสะดวกยิ่งขึ้น เดิมใช้แพขนานยนต์หรือโป๊ะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาชัยนาท-อุทัยธานี งานวิ่งไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่ยังสร้างเครือข่ายลุกขึ้นมาทำโครงการดีๆ ให้สังคมโดยไม่หวังผลประโยชน์ มีภาครัฐหนุนเสริม ทั้งยังสะท้อนกลไกการพัฒนาในพื้นที่อย่าง พชอ. ซึ่งสาธารณสุขอำเภอเป็นกรรมการและเลขานุการขยับมาทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีมากกว่าเพียงจ่ายยารักษาคนไข้ งานวิ่งยังดึงพลังอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพอีกด้วย” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว และว่า อีกโจทย์ที่ท้าทายเป็นการสนับสนุนกีฬาเชิงท่องเที่ยวหรือสปอร์ตทัวริซึ่มให้เกิดขึ้นในพื้นที่
ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอมโนรมย์นั้น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะกล่าวว่า จากการร่วมงานวิ่งและพบปะแลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่ายรวมถึงภาคประชาชน พื้นที่นี้มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเรื่องการออกกำลังกาย มีการนำเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพทุกเย็น ตลอดจนปรับปรุงสถานที่ออกกำลังกายใหม่ให้มีประสิทธิภาพ นำมาสู่การจัดตั้งชมรมเต้นแอโรบิกรวมคนรักสุขภาพ ชักชวนกันมาอย่างสนุกสนาน อีกทั้งพื้นที่มีศักยภาพส่งเสริมเส้นทางจักรยาน เป็นงานที่ต้องร่วมกับขับเคลื่อนต่อไป
“กระแสคนออกกำลังกายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 5 ปีที่แล้วมีนักวิ่ง 5 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีมากกว่า 15 ล้านคน หรือคิดเป็น 3 เท่า สอดคล้องกับการสำรวจพบกิจกรรมทางกายสูงขึ้น สสส.จะสนับสนุนกิจกรรมกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับชุมชน โรงเรียน และบ้าน เพื่อสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืน” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว ผลสำเร็จของการเดินหน้ายุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในไทยรวมทั้งด้านสุขภาวะทางกายและปัญญาที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษยของประเทศ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |