เฝ้ารอ‘กม.ขจัดการเลือกปฏิบัติ’ลดเหลื่อมล้ำ


เพิ่มเพื่อน    

ทุกวันนี้ การเลือกปฏิบัติเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งมิติทางสังคมเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศสร้างความทุกข์ให้คนกับกลุ่มคนที่แตกต่างเพราะถูกกีดกันต้องกัดฟันสู้ชีวิตเพราะขาดการเหลียวแล

             

เหตุนี้ นิทรรศการ “ดินแดนแสนล้านการเลือกปฏิบัติ” จึงเกิดขึ้น ณ ลานกิจกรรมเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันก่อน เพื่อฉายภาพความเหลื่อมล้ำจากปากตัวแทนผู้ถูกเลือกปฏิบัติ พวกเขาร่วมกันสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่สังคมและรวบรวมรายชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ... แม้หลักการไม่เลือกปฏิบัติจะถูกบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ปัญหาการเลือกปฏิบัติยังปรากฏอยู่ในสังคมไทย การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้จะช่วยคืนสิทธิผู้ได้รับผลกระทบ

             

ความสำคัญของนิทรรศการนี้ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ช่วยขับเคลื่อนให้มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติเพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพของประชากรกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมแก่สังคม สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กิจกรรมในงานยังเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนไม่แพ้กัน

             

สุพจน์ ตั้งเสรีทรัพย์ ผู้จัดการมูลนิธิโอโซนและอดีตผู้ใช้ยาเสพติด เคยเสพเฮโรอีนมากว่า 8 ปี ก่อนจะหันหลังให้อย่างเด็ดขาด เป็นเรื่องจริงจากปากของเขาหลายคนฟังรู้สึกไม่เชื่อ

             

“ผู้ใช้ยาไม่ว่าใช้มากใช้น้อย บางคนนานๆ ใช้ครั้ง เมื่อเทียบกับคนไม่ใช้ยาเลยถูกมองว่าเป็นคนเลว เราวัดความดีเลวกันแค่นี้หรือ เมื่อได้ยินคำถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ไม่มีใครตอบว่าอยากเป็นขี้ยา เพราะคนจะได้เกลียดกันทั้งซอย ทุกคนไม่มีใครอยากเป็นคนขี้ยา แต่วันหนึ่งเมื่อมาเป็นคนใช้ยา ความเกลียดก็ไม่ได้เปลี่ยนไป แต่รู้สึกว่าเราเป็นสิ่งที่เคยถูกรังเกียจและคิดว่าทุกคนก็รังเกียจเรา” สุพจน์กล่าว

             

ผู้จัดการมูลนิธิโอโซนตั้งคำถามด้วยว่า ความเกลียดผู้ใช้ยาเริ่มจากการทำให้กลัว กฎหมายยาเสพติดไม่ได้สร้างผลกระทบความรังเกียจ แต่สร้างรากวัฒนธรรมที่ไม่เป็นธรรม สร้างความไม่เข้าใจ อคติการรังเกียจทั้งในสังคม องค์กร หน่วยงานรัฐ ที่ยังไม่รับอดีตผู้ใช้ยาเข้าทำงาน นำไปสู่ระเบียบองค์กรวิธีคิด วิธีปฏิบัติ รวมถึงการเข้าไม่ถึงระบบสุขภาพเมื่อไม่มีงานทำ นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ

             

“การรณรงค์ช่วงแรกที่เริ่มจากการทำให้รู้สึกกลัว เหมือนการรณรงค์เอดส์ เพราะเชื่อว่าคนจะไม่เข้าไปยุ่งแต่สุดท้ายต้องมาแก้ปัญหาลดการเกลียดกลัวผู้ติดเชื้อยาเสพติด ก็เช่นกัน ระยะเวลาที่ใช้แก้ทัศนคตินี้นานมาก สิ่งที่ควบคู่กับการระบุว่ายาเสพติดผิดกฎหมายคือการสร้างภาพลบความเลวร้ายผูกกับผู้ใช้ยา คนที่ใช้ยาล้วนมีเป้าหมายจะเลิกเหมือนคนอยากเลิกบุหรี่ แต่ยังทำไม่ได้ ในวันนี้สิ่งที่หลายครอบครัวทำเมื่อรู้ว่าลูกหลานติดยาคือ ทำทุกวิถีทางให้เขาได้ เลิกกดดันทุกอย่างให้เขาได้เลิก ทั้งๆ ที่รู้ว่าเลิกยาก แล้วจะกดดันเขาทำไม“ สุพจน์ร่วมแชร์มุมมอง

             

กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเป็นอีกประเด็นบนเวที ประเทศไทยสูญเสียโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่ดีกว่านี้เพราะการเลือกปฏิบัติ หมายถึงการกระทำต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างอย่างไม่เป็นธรรม การกีดกันจำกัดสิทธิอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ความพิการ สถานะบุคคล หรือความคิดเห็นต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

             

สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ตัวแทนผู้ขับเคลื่อนพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ... กล่าวว่า ศูนย์ทำงานมาตั้งแต่ปี 2536 ร่วมกับเครือข่ายกลุ่มประชากรที่เปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติ 9 ด้าน ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความหลากหลายทางเพศ คนพิการ ผู้หญิง เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ใช้ยาเสพติด และกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่าคนเหล่านี้ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน มักถูกเลือกปฏิบัติ กีดกันโอกาสในการดำเนินชีวิต การเรียน การเข้าถึงบริการในสังคม โดยเฉพาะการทำงาน เป็นที่มาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยมีการศึกษากฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติในต่างประเทศจากนักกฎหมาย เพื่อให้เกิดกลไกสภาส่งเสริมและขจัดการเลือกปฏิบัติ รวมถึงมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกเลือกปฏิบัติ

             

“ทุกคนอาจถูกเลือกปฏิบัติ หรือกำลังเลือกปฏิบัติกับผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว สังคมไทยสูญเสียโอกาสจากการเลือกปฏิบัติด้วยการกีดกันคนเหล่านั้นออกจากสังคม หลายคนมีความรู้ความสามารถแต่ไม่ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม ผลกลับมาที่สังคมเสียโอกาสได้คนเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อเขาไม่ได้เรียน ไม่มีงานทำ กลายเป็นภาระจะต้องเข้าไปดูแล“ สุภัทราชี้ปีญหา

              

เธอหยิบยกกรณีศูนย์ฯ ต่อสู้กับเจ้าของบริษัทยาที่ผูกขาดราคายาเจ้าเดียว ทำให้ปัจจุบันยาถูกลง ผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าถึงสิทธิการรักษารัฐบาลเอง ลงงบประมาณปีละ 3,000 กว่าล้าน ซื้อยาต้านไวรัสแจกจ่ายกับผู้ติดเชื้อกว่า 300,000 คน เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับยาทำให้พร้อมที่จะออกมาดำเนินชีวิตโดยที่ไม่เป็นอันตรายกับใคร แต่ก็ยังเผชิญอุปสรรค ไม่มีองค์กรใดรับเข้าทำงานเพราะทัศนคติของคนในสังคมยังไม่เปลี่ยน

             

“การประกาศใช้กฎหมายไม่ได้หมายความว่าเรื่องเหล่านี้จะหายไป ต้องใช้เวลา ความเป็นจริงยังเกิดการละเมิด เลือกปฏิบัติ เราต้องการกลไกจัดการปัญหา อยากเห็นทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพียงแต่เราไม่เลือกปฏิบัติให้เขาได้โอกาสในการใช้ชีวิต“ สุภัทราทิ้งท้าย ซึ่งตรงกับหัวใจสำคัญของนิทรรศการนี้ให้ทุกคนเริ่มที่ตัวเอง ไม่เลือกปฏิบัติและเป็นผู้ให้โอกาสอย่างแท้จริง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"