“บุหรี่เผาปอด” รณรงค์หยุดสารพิษคร่าชีวิตปี62


เพิ่มเพื่อน    

“ยาสูบทำลายสุขภาพปอด” เป็นประเด็นที่ปีนี้องค์การอนามัยโลกและภาคีจากทั่วโลกเน้นย้ำเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกปี 2562 เพราะมีผู้คนเสียชีวิตและเจ็บป่วยโรคปอดทุรนทุรายจากพิษภัยของบุหรี่เป็นหลักฐานประจักษ์ชัด สำหรับการรณรงค์ในประเทศไทยเริ่มปูพรมแล้ว โดยมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ประเทศไทยภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบโดยการสนับสนุนของสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม Tobacco burns your lungs “บุหรี่เผาปอด” เมื่อวันก่อนมีเครือข่ายและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกระตุกและฉายภาพอันตรายของบุหรี่ สะท้อนปัญหาบริโภคยาสูบไม่ควรนิ่งนอนใจ

             

สารพัดโรคร้ายทั้งมะเร็งปอด, ถุงลมโป่งพอง, วัณโรค, ภูมิแพ้ จะค่อยๆ คร่าชีวิตและทำลายสุขภาพให้แย่ลงถ้าสิงห์อมควันยังไม่ลดละเลิกบุหรี่ ซึ่งปอดที่ถูกทำลายไปแล้วผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันไม่สามารถกลับคืนมาได้

             

นายแพทย์แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า เจตนารมณ์แรกของวันงดสูบบุหรี่โลก รณรงค์ให้คนงบสูบบุหรี่ 1 วัน แต่น่าภูมิใจที่ไทยได้ขับเคลื่อนไปสู่การเลิกบุหรี่ตลอดไป เมื่อปี 2561 รณรงค์ยาสูบทำร้ายหัวใจ ปี 2562 เน้นประเด็นสุขภาพปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่มาจากการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดอาการหายใจเข้าออกลำบาก แม้จะเลิกวันนี้แต่ต้องอยู่กับอาการต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต่ำกว่า 30 ปี อยากให้นักสูบตระหนัก อีกประเด็น เรื่องการขึ้นภาษีบุหรี่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยป้องกันและกระตุ้นให้คนเลิกสูบ เพราะราคากลายเป็นภาระ แต่ก็น่าเสียดายมีนักสูบส่วนหนึ่งเลือกตัดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแทนค่าบุหรี่ อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าระบบการเก็บภาษีบุหรี่แบบอัตราเดียวดีกว่าสองอัตรา ที่ทำให้นักสูบใช้บุหรี่ราคาถูกกว่า มาตรการต้องมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงความสูญเสีย

             

บุหรี่ไม่เพียงเผาปอดคนสูบ แต่ยังทำลายสุขภาพปอดของคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด ศ.คลินิก พญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สารพิษในควันบุหรี่สามารถเข้าสู่ทารกในครรภ์ ทำให้พัฒนาการของปอดน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองต่ำ อีกทั้งส่งผลให้คุณแม่แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด หลังคลอดหากเด็กยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงโรคไหลตาย 2 เท่า และโรคทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างร้อยละ 50-60 รวมถึงหายใจมีเสียงวี้ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 65-77 หากเป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วจะแสดงอาการมากขึ้น สารพิษในควันบุหรี่ทำให้หลอดลมบวมและตัน ไอมีเสมหะเพิ่มขึ้น

             

“ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืบที่ต้องไปห้องฉุกเฉินจะอยู่ตามบ้านที่มีนักสูบ การทำโครงการบ้านปลอดบุหรี่อย่างต่อเนื่องเป็นอีกวิธีลดนักสูบในบ้าน สร้างการเปลี่ยนพฤติกรรม มีกรณีเด็กชายอายุ 11 เดือน พ่อสูบวันละซอง น้ำหนักตัวน้อย 2,000 กรัม มีปัญหาโรคปอดแต่แรกคลอด อีกรายเด็กหญิงวัย 7 เดือน พ่อสูบ คลอดก่อนกำหนดตัวเขียว หรือเด็กหญิงอายุ 1 ปี 7 เดือน เป็นโรคหอบหืด พ่อแม่ไม่สูบแต่ที่บ้านขายอาหาร มีคนสูบบุหรี่ สะท้อนอันตรายรับควันบุหรี่มือสาม” ศ.คลินิก พญ.มุกดาย้ำเหตุที่ควรตัดสินใจเลิกบุหรี่

             

การตายจากวัณโรคเพราะสูบบุหรี่ถือเป็นประเด็นใหม่ที่น่าวิตก พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผู้อำนวยการสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค เผยว่า ไทยติดอันดับ 1 ใน 14 ของโลกที่มีภาระโรควัณโรค โดย 1 ใน 3 ของประชากรไทยติดเชื้อวัณโรค แม้จะฉีดวัคซีนบีซีจีในเด็กแรกเกิดแต่ไม่สามารถป้องกันวัณโรคประเภทรุนแรงได้ มีคนไทยตาย 1.2 หมื่นคนต่อปีเพราะวัณโรคจากผู้ป่วย 1.2 แสนคน สารอันตรายในบุหรี่กระตุ้นติดเชื้อวัณโรคได้ ร้อยละ 20 ของคนสูบบุหรี่จะเสียชีวิตจากวัณโรค ผู้ป่วยที่สูบยังเสี่ยงพิการและตายจากระบบหายใจล้มเหลวด้วย

             

ด้าน ร.อ.นพ.สมชาย ธนะสิทธิชัย รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกปีไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 1.3 แสนรายเสียชีวิต 7 หมื่นคนต่อไป โดยมะเร็งปอดยังขาดการคัดกรองที่ดี ฉะนั้นต้องป้องกันบุหรี่เป็นต้นเหตุร้อยละ 90 แม้หยุดสูบวันนี้ยังเสี่ยงมะเร็งปอดอีก 20 ปี จะต้องป้องกันนักสูบรายใหม่และลดปัญหาบุหรี่มือสอง สารพิษจากบุหรี่ทำลายพันธุกรรมเป็นพันชนิด โอกาสผู้ป่วยตอบสนองต่อยาที่ดีน้อยกว่า นอกจากนี้พบว่ามะเร็ง 12 ชนิดสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ สารก่อมะเร็งจะเข้าทางช่องปาก ลำคอ กลืนเข้าสู่กระเพาะ ลำไส้ และตับดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว

             

ด้าน รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ประธานที่ปรึกษาชมรม “ลมวิเศษ” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคทางเดินหายใจคณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า คนที่ป่วยถุงลมโป่งพองอาการจะไม่ดีขึ้นและร่างกายทรุดโทรมลงถ้าไม่เลิกสูบบุหรี่ ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่ถูกพิสูจน์ทางการแพทย์จะซ่อมปอดและลดอัตราการเสียชีวิตได้คนสูบบุหรี่จะต้องค่อยๆ หยุดลงมือทำและให้คำมั่นสัญญาจะไม่สูบ ซึ่งนิโคตินและสารพิษในควันบุหรี่ยังทำให้เกิดเป็นวัณโรคปอดด้วยปัจจุบันไทยมีอัตราผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาสูงมาก

             

“ไม่เคยเห็นสารเสพติดชนิดใดร้ายแรงเท่าสารพิษในบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า กังวลบุหรี่ไฟฟ้าดึงดูดเยาวชนเข้าถึงบุหรี่และเป็นช่องทางเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งมีผลกระทบทำลายปอดจนถึงระบบร่างกายอื่นๆมีผลทั้งตั้งแต่นาทีแรกที่สูบกระทบตั้งแต่เด็กจนสูงวัยทุกเพศโดยเฉพาะผู้หญิงร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำลายสารพิษด้อยกว่า“ รศ.นพ.สุทัศน์ย้ำในตอนท้าย การเลิกบุหรี่โดยเร็วที่สุดลดโอกาสปอดถูกทำลาย มาร่วมลดความสูญเสียจากยาสูบเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"