10 ผลงานสถาปัตยกรรมแบบไทยทรงคุณค่า ฝีมือสถาปนิกหญิง อ.วนิดา พึ่งสุนทร   


เพิ่มเพื่อน    

 

 

เขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติฯ


ในแวดวงสถาปัตยกรรมแบบไทย ไม่มีใครไม่รู้จัก  อ.วนิดา พึ่งสมุทร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม(แบบประเพณี) ปี2546  ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างเด่นชัด และมีผลงานมากมายเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งยังเป็นสถาปนิกหญิงที่ได้ถวายงานรับใช้ สถาบันพระมหากษัตริย์ มาตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่9 รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองค์ 


จึงเป็นที่มาของนิทรรศการ “สถาปัตยกรรมไทย ใต้ร่มพระบารมี”  โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้นำ 10 ผลงาน สถาปัตยกรรมแบบไทย ของ อ.วนิดา มาจัดแสดงใเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสถาปัตยกรรมให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้นำไปสืบสานต่อยอด อนุรักษ์ความเป็นให้คงอยู่สืบไป โดยสามารถเข้าขมได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2562 ณ ห้อง125 ชั้น1F  ศูนย์การค้าไอคอนสยาม

พระตำหนักสมเด็จพระสังฆราช


ผลงานออกแบบทั้ง 10 ชิ้น ที่ได้นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการ ได้แก่ 1.พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา 2.อาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 ที่ตั้งอยู่ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา สาธารณรัฐอินเดีย 3.เขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติฯ ที่วัดธัมธโร กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย 4.อาคารประดิษฐานพระบรมรูป รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่พระบรมมหาราชวัง 5.หอพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6.ศาลาการเปรียญ วัดนิเวศธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา 7.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวังม่วง จ.ราชบุรี

ศาลาการเปรียญ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร


8.พระมหาเจดีย์มงคลศิทธาจารย์ วัดตะโก  จ.พระนครศรีอยุธยา 9.หอพระพุทธสิรินาถเภสัชยคุรุจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ 10.พระตำหนักสมเด็จพระสังฆราช วัดนาควชิรโสภณ(วัดช้าง) จ.กำแพงเพชร โดยเป็นการจำลองโมเดล ให้ได้รับชม อีกทั้งด้านใต้โต๊ะยังเป็นลิ้นชักที่สามารถดึงออกมาได้ โดยด้านในจะมีหนังสือประกอบคำอธิบายการออกแบบ นอกจากนี้ยังมีการยกห้องทำงานจริงของ อ.วนิดา มาจัดแสดงไว้ภายในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย 

โต๊ะตั้งแสดงโมเดลผลงาน

ผังการออกแบบ

อิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วธ.  ชมนิทรรศการ


นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประธานเปิดนิทรรศการคร้้งนี้ กล่าวว่า นิทรรศการชุดของอ.วนิดา พึ่งสุนทร  นอกจากจะเป็นการเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ผลงานสถาปัตยกรรมไทยระดับแนวหน้า  โดย10ผลงานการออกแบบยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของผลงานทั้งหมดของ อ.วนิดา  ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น  ซึ่งแต่ละชิ้นงานล้วนเป็นงานสถาปัตยกรรมไทยที่มีความสำคัญ และทรงคุณค่า อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติ ให้แก่ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน สถาปนิกรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมไทย ได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นแบบอย่างในการทำงาน และมีส่วนร่วมในการสืบสานรักษามรดกทางวัฒนธรรมต่อไปด้วย

อ.วนิดา พึ่งสมุทร ในห้องทำงาน


ด้านอ.วนิดา เล่าถึงชีวิตการทำงานว่า นับเป็นความภาคภูมิใจ และประทับใจอย่างมากในชีวิตที่ได้เคยถวายงานรับใช้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะพระองค์ทรงรอบรู้งานด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างมาก อย่างงานชิ้นแรกที่ได้ทำถวายพระองค์ก็คือ พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ที่ตั้งอยู่เมืองกุสินารา รัฐอุตตร ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย ที่ทรงพระวินิจฉัยในการปรับแก้แบบตามกฎหมายท้องถิ่นของที่นั้น ที่กำหนดความสูงของอาคารไม่ให้สูงกว่าโบราณสถานสำคัญในพื้นที่ด้วยพระองค์เอง โดยทรงตรัสว่า ให้ปรับยอดเจดีย์สูงและกว้างขึ้นมาอีกหน่อย เพื่อให้การสร้างออกมาสมบูรณ์แบบ โดยในแบบก็ทรงมีลายพระหัตถ์ของพระองค์ด้วย อีกทั้งการสร้างยังต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี GRC ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ทำขึ้นในไทย และส่งไปยังอินเดียด้วยข้อกำหนดที่ช่างไทยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถสร้างได้แล้วเสร็จสมบูรณ์สง่างาม 

ห้องทำงานอ.วนิดา
  ผลงานอีกชิ้นที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระวินิจฉัย อ.วนิดา เล่าต่อว่า คือ อาคารประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์  ซึ่งประดิษฐานพระบรมรูปขนาดโตกว่าองค์จริง คือสูง2.30 เมตร และยังเป็นการผสมผสานศิลปกรรมของไทยและอินเดีย โดยเสาอาคารจะใช้วัสดุหินทราย และฝีมือแกะสลักจากช่างชาวอินเดีย ซึ่งอาคารแห่งนี้ก็ได้นำรูปแบบมาสร้างยังประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสได้ชมความงาม  โดยจะตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้  ยังมีการออกแบบ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา คือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดม่วง ที่ต้องสอดคล้องกับบริบทชุมชน จึงออกแบบให้เป็นอาคารทรงไทย ใต้ถุนยกสูง หรือหอพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีความโดดเด่นด้วยการขยายพื้นที่ระเบียงทางเดินโดยรอบหอพระ ที่สามารถลงเดินไปยังระดับผิวน้ำได้  


อ.วนิดา ยังบอกอีกว่า นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานที่ทำเพราะทุกชิ้นที่ได้ทำถวายพระบรมวงศานุวงศ์ล้วนได้ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ จึงมีความสำคัญและประทับใจอย่างยิ่ง ทำให้เราอยากที่จะทำงานด้านนี้ไปจนกว่าจะไม่สามารถคิดหรือสร้างงานได้ เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย 

อาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 9
ผู้ที่สนใจชมนิทรรศการ“สถาปัตยกรรมไทยใต้ร่มพระบารมี” สามารถเข้าขมได้แล้วตั้งแต่วันนี้- 31 สิงหาคม2562 ณ ห้อง125 ชั้น1 ศูนย์การค้าไอคอนสยามกรุงเทพมหานคร 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"