(ชาญศิลป์ ตรีนุชกร)
หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาว ฝ่าวิกฤติด้านพลังงานมานานกว่า 40 ปี จนได้ชื่อว่าเป็นยักษ์ใหญ่ธุรกิจพลังงานน้ำมัน ที่เรียกว่าเป็นพลังงานฟอสซิล ...มาถึงวันนี้... เมื่อคณะผู้บริหารของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยบริษัทลูกในเครือ นำโดย นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ด และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ยกทีมกันไปในโครงการศึกษาดูงานนโยบายจัดการพลังงานทดแทนในสหพันธรัฐฟินแลนด์ และราชอาณาจักรเดนมาร์ก จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและน่าจับตา
แต่ละองค์กรไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกิจการทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงาน แผนกพลังงานของฟินแลนด์ บริษัท ฟอร์ตั้ม ผู้ผลิตไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศนอร์ดิก อันได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์และสวีเดน และเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานสะอาด บริษัท Woima ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานจากขยะ บริษัท โนเกีย จนถึง Danish Energy Agency หน่วยงานด้านพลังงานเดนมาร์ก บริษัท Orsted ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมใหญ่ที่สุด จนถึง เกาะแซมโซ ต้นแบบของชุมชนที่ใช้พลังงานสะอาดในการดำรงชีวิต และกำหนดว่าจะเลิกใช้พลังงานจากฟอสซิลในระยะเวลา 10 ปีจากนี้ไป
ทั้งหมด!!! ล้วนเป็นองค์กร บริษัท หน่วยงาน ที่เป็นผู้นำการพัฒนาสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทดแทนพลังงานฟอสซิส จึงเป็นภาพสะท้อนที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งว่า ยักษ์ธุรกิจฟอสซิอย่าง ปตท.นั้น กำลังขยับขับเคลื่อนตัวเอง หรือมองหาทางเลือกในการขยายเม็ดเงินลงทุนไปสู่พลังงานสะอาดสอดรับกับยุคแห่งการ Disruption หรือไม่ อย่างไร
คำถามนี้มีคำตอบ...!!??!! จากซีอีโอ ปตท.
"เราอยู่กับธุรกิจที่เป็นฟอซซิล เป็นเรื่องความมั่นคงตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว แต่โลกวันนี้มันเป็นปัญหาว่ามันมีโกลบอลวอร์มมิ่งและเรื่องของ one time พลาสติกเข้ามา ..ต่างๆ เหล่านี้ เราก็ต้องหาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องของการลดโลกร้อนลง เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเรื่องของการเพิ่มมูลค่า, รีไซเคิลพลาสติกต่างๆ และพวกไบโอทั้งหลาย เป็นไบโอฟิลด์ ไบโอพลาสติก ไบโอเคมีคอลทั้งหลายมาช่วยทำให้เกิดเป็นโปรดักต์ใหม่ๆ เพิ่มโซลูชั่นใหม่ๆ และเป็นการลดโลกร้อนด้วย อันนี้คือสิ่งที่เรามาดูงานนโยบายกาารจัดการพลังงานทดแทนในครั้งนี้"
การเรียนรู้จากประเทศที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน และถึงขั้นส่งออกระบบในการสร้างพลังงานสะอาด ตลอดจนการศึกษาถึงวิธีการปรับตัว เพื่ออยู่รอดจากอดีตสู่ยุคดิจิตอล ล้วนเป็นสิ่งท้าทาย เพราะ ปตท.มีพันธกิจผูกพันและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาพลังงานเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
"จะพบว่า ในประเทศฟินแลนด์นั้น เอกชนจะกำหนดแผนในการพัฒนาเรื่องของการผลิตไฟฟ้าว่าจะมาจากรูปแบบไหนบ้าง แล้วมีส่วนในการเสนอรัฐบาล ว่าควรจะเป็นรูปแบบไหน อย่างไร ราคาเท่าไหร่ ต้นทุนเป็นอย่างไร และควรจะเปิดโอเพ่นในการให้การรับไฟฟ้ามาจากกลุ่มนอร์ดิกทั้งภายนอก และปรับเปลี่ยนหรือไดเวอร์ซิฟาย การผลิตไฟฟ้าไปให้หลายๆ รูปแบบเพื่อความมั่นคง และมีสมาร์ทกริด (ระบบโครงข่าย) เพื่อควบคุมดูแลว่าเวลาไหนจะใช้ไฟฟ้าจากอะไร เวลามีลมก็ใช้ไฟฟ้าจากลม แล้วลดไฟฟ้าจากแก๊สลง อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าของฟินแลนด์ หลักคือนิวเคลียร์"
สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ รัฐบาลฟินแลนด์เปิดให้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากคนที่ทำธุรกิจพลังงานไฟฟ้า และการกำหนดเป็นแผนระยะยาว เขาไม่ได้เปลี่ยนบ่อยๆ เพราะถ้าเปลี่ยนบ่อยมันจะมีผลกระทบกับการลงทุนกับภาพที่เราจะเดินไปข้างหน้า มันอาจจะเดินแล้วติดขัด ไม่มีใครกล้าลงทุนระยะยาว อันนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญมาก
"ผู้บริโภคและผู้เล่นเป็นผู้กำหนดทิศทาง ผู้เล่นหมายถึงผู้ผลิต ผู้ซื้อผู้ขายเป็นผู้กำหนดทิศทาง และในประเทศนี้เป็นประเทศที่เสรี การศึกษาดี เพราะฉะนั้นการตกลงและเซ็นกันไปแล้วประเทศฟินแลนด์กลุ่มนอร์ดิกไปตกลงกันที่อียู เขาตกลงกันไปแบบไหนก็เดินตามนั้น การซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มนอร์ดิกสามารถทำกันได้อย่างคล่อง เชื่อมโยงกันด้วยอินเทอร์เน็ตออพติก และสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้ากันได้"
ต้องพร้อมที่จะปรับตัว
"เราอยู่กับธุรกิจวันนี้ เราต้องยอมรับว่าธุรกิจวันนี้ต้องทำอย่างไรให้แข็งแรงมากที่สุด เช่น การผลิตต่อหน่วยต้องดีที่สุด แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือว่าตัวที่ผลิตปิโตรเคมีจะทำให้หน่วยที่ต่ำที่สุดที่สู้คนอื่นได้แล้วปรับเปลี่ยนฐานและปริมาณการผลิตพลังงาน เช่น เพิ่มการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น แต่ไฟฟ้าเราไม่ใช้ไฟฟ้าแบบปกติ เป็นไฟฟ้าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แล้วมีพวกพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า แล้วเรื่องโรงกลั่นถ้าเราปรับตัวโดยให้โรงกลั่นที่มีตัว low value เช่น น้ำมันเตา ที่ถูกกว่าน้ำมันดิบ เราก็เอามาลงทุนใหม่ให้เป็นน้ำมันเครื่องบิน เพื่อไปทำปิโตรเคมี และตัวเราเองในแง่ของคนที่เกษียณไปมากขึ้น เราก็รับเด็กใหม่มา แต่เราก็ถือโอกาสมีการให้เด็กใหม่ๆ ได้ไปสร้างงานใหม่ๆ ในอนาคต เช่น งานในด้านสตาร์ทอัพ งานในด้านเอาหิ้งสู่ห้าง งานวิจัยใหม่ๆ เราก็จะออกมาเป็นโปรดักต์ใหม่ๆ อันนี้เป็นเรื่องของงานปรับตัว"
นายชาญศิลป์ย้ำว่า การพาผู้บริหารในส่วนต่างๆ ของเครือ ปตท.มาดูงานเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน renewable ที่ฟินแลนด์ ทำให้เราเห็นว่าเขาอยู่ได้กับการเอาโปรดักต์ต่างๆ ที่เป็น waste ขยะ เป็นสิ่งที่ไม่มีค่า ไม่ใช้แล้ว มาเป็นไฟฟ้าได้ สร้างมูลค่าได้ต่างๆ ซึ่งเราก็มาดูว่ามีอะไรบ้าง และจีพีเอสซี (บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)) จะเป็นคนเดินเรื่องเหล่านี้ กับจีจีซี (บริษัท โกลบอล กรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน)) เพราะเป็นเรื่องไบโอนั้น จีจีซีจะเก่ง ถ้าเป็นไฟฟ้าเอาขยะมาสร้างพลังงานหรือเพิ่มมูลค่านั้น จีพีเอสซีจะเป็นคนเก่งเรื่องนี้ นี่คือการปรับตัวของเรา
วันนี้ อีกอย่างหนึ่งการที่เรามาดูโนเกีย เพราะโนเกียเป็นจุดหนึ่งที่เคยเป็นบริษัทที่ยักษ์ใหญ่ในเรื่องของคอมมูนิเคชั่น และวันนี้เขาก็ถูกบริษัทอื่นซึ่งวันนี้จะดูว่าเขาจะปรับตัวอย่างไรในการอยู่รอดเพื่อเป็นตัวอย่าง
แย่งพื้นที่ของการผลิตไฟฟ้า..หรือไม่??
โจทย์การปรับตัวสู่คลัสเตอร์ด้านพลังงานสะอาด ที่ไม่พึ่งพิงฟอสซิล สำหรับ ปตท.ไม่น่าจะเป็นเรื่องเกินกำลังความสามารถ เพราะประชากรส่วนใหญ่ของ ปตท.นั้นล้วนเป็นวิศวกร และเป็นนักคิดนักบริหารที่มีประสิทธิภาพ ผ่านร้อนผ่านหนาวสู้กับวิกฤติพลังงานมากว่า 40 ปี แต่ข้อสงสัยว่า การขยับสู่ภาคการผลิตไฟฟ้านั้น จะเป็นการแย่งเค้กกันเองระหว่างรัฐวิสาหกิจและเป็นการออกนอกกรอบหรือไม่
"การไปฐานของไฟฟ้าก็ไม่ได้นอกกรอบ" ซีอีโอ ปตท.กล่าวและอธิบายว่า "เพราะเราเองต้องใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว ลูกค้าก็ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว เราก็รู้ว่าพฤติกรรมลูกค้าเป็นอย่างไร เป็นเอ็นจิเนียที่ใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว เราทำโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ส่วนว่ารถไฟฟ้า เราคิดว่าคงเอาพลาสติกไปมีส่วนร่วมในการทำรถไฟฟ้า ไปทำแบตเตอรี่ เพราะพลาสติกเราเป็นเอ็นจิเนียเรื่องพลาสติก ซึ่งจะดีมากในแง่ไปทำพวกนี้ เราเองคงไม่เป็นบริษัทที่ทำรถอะไรมาแข่ง ยกเว้นถ้าเกิดจำเป็นเราก็จะไปดูว่าเราจะร่วมมือกับใครเพื่อทำเป็นกรณีพิเศษมากกว่า"
มันคล้ายๆ กับ non oil ที่เราเพิ่มจากฐานของบริการปั๊มน้ำมัน เราก็มีพวกค้าปลีกอยู่ อย่างที่ลูกค้าเข้ามาเพื่อจะเติมน้ำมันมาเข้าห้องน้ำ ก็มีการจับจ่ายใช้สอยกาแฟ อยู่ที่รีเทล อยู่ที่ร้านเซเว่น ร้านอาหาร อันนี้ไม่ใช่นอกกรอบ มันมาจากฐานเดิมและขยายไป เรียกว่านอลออย แต่ถ้าพูดถึงเรื่องเมื่อกี้มันอยู่ในฐานเดิม จากเคมีคอลไปคอมมูนิตี้เป็นไฮแวลู่เคมีคอลเป็นฐานเดิม
ต้องดูความคืบหน้าของเรา เรามีวิสเทค คณะที่ทำดิจิตอลเอไออยู่ ตอนนี้เป็นช่วงเริ่มต้น ก็ต้องดูว่าถ้ามีโอกาสที่จะทำ และเราก็เป็นผู้ใช้ เช่น สผ.กำลังทำเรื่องโดรน เรื่องซับมารีน ในการของเรื่องดูลงไปใต้น้ำ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งไทยออยล์ทำเรื่องของหุ่นยนต์ในท่อ พวกนี้อยู่ในขั้นตอนใช้งานการศึกษาทดลอง ซึ่งถ้าเกิดมันทำได้ดีมีโซลูชั่นเราก็สามารถนำไปขายได้ทั่วโลก
อนาคต..คนรุ่นใหม่กำหนด
ฝันจะเป็นจริงหรือไม่อย่างไร กับการปรับตัวและขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสู่ความมั่นคงและยั่งยืน ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะต้องยอมรับว่า คนคือปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่การตระหนักของตนเอง และขยายสู่การรับรู้ของสังคม การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของการใช้พลังงาน ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความยั่งยืนของการใช้พลังงาน
กรณีนี้ซีอีโอ ปตท.กล่าวว่า ระยะกลาง ระยะยาวผมว่าการศึกษาเด็ก คนไทยรุ่นใหม่ คนกลางคน เขาตระหนักเรื่องนี้ เขาจะมีระเบียบวินัยเรื่องนี้
"ใจผมคือว่าระยะกลาง ระยะยาวต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งจะเห็นเลยในเรื่องการใช้หลอด การอยู่ในร้านกาแฟ การทิ้งขยะต่างๆ คนรุ่นใหม่เขาไม่ทำ แล้วผมว่าวันนี้เขาตระหนักเรื่องนี้ ผมว่าคนรุ่นใหม่มีการศึกษาและสามารถใช้ดิจิตอลได้ดี เขารับรู้จากสื่อต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เพราะฉะนั้นผมว่าในอนาคตอันไม่ไกล วันนี้เราสร้างนิสัยเสร็จ อนาคตเขาจะสามารถทำได้อย่างประเทศอื่นๆ มีการทิ้งอย่างถูกที่ และสามารถเอามารีไซเคิลได้"
การที่เอามารีไซเคิลกลุ่มเรา คือ จีซี กำลังทำอยู่ และการทำไฟฟ้าจากขยะ คือ จีพีเอสซี ทำอยู่แล้วมันเป็นแผนของมันได้ แต่ยังไม่สามารถแพร่ขยายได้ ถ้าบวกกับการสามารถเก็บขยะได้อย่างมีระบบ อันนี้จะดีมาก มันก็ประกอบกันได้
เมื่อวานนี้ ..สิ้นสุดกระบวนการตามไปดูบ้านเขากับการจัดการพลังงานทดแทนเรียบร้อยแล้ว วันนี้กลับมาบ้านเรา ต้องนำข้อมูลและสิ่งที่ได้เห็นกับตา ได้ฟังกับหู และซักถามอย่างละเอียดยิบ มาประเมินประมวลผลว่า การจะก้าวตามไปสู่คลัสเตอร์พลังงานที่ทิ้งฟอสซิลไว้ข้างหลังแบบเต็มรูปแบบ หรือสักครึ่งค่อนสัดส่วนนั้น จะใช้ทางเลือกใดที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมบ้านเรา และ..โดยมองข้ามการเมืองไปไม่ได้อย่างแน่นอน
ขอ ..เชียร์สุดใจ!! ไปให้ถึงเป้าหมาย ให้สมกับเป็นองค์กรผู้นำในการบริหารจัดการและพัฒนาพลังงานเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง.
ปิยสาร์..รายงาน
ทำได้ไหม???เรื่องแบบนี้
มองดูเขาแล้วหันกลับมาดูบ้านเรา จึงมีคำถามมากมายว่า แล้วประเทศไทยกับพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียน หรือจะเรียกว่าพลังงานทดแทนนั้น จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลเฉกเช่นกลุ่มประเทศนอร์ดิก ที่เป็นต้นแบบและผู้นำในการขยับโลกสู่นวัตกรรมใหม่ได้หรือไม่ และเมื่อไหร่
โจทย์ที่ท้าทายนี้...รอใครสักคนมาแกะกล่องและขับเคลื่อน หรือต้องฝากความหวังกับ ปตท.
0 พลังงานทางเลือกจะไม่ใช่พลังงานทางเลือกอีกต่อไป แต่เปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงานหลัก และมีพลังงานดั่งเดิมเป็นพลังงานสำรอง
0 นโยบายพลังงานหมุนเวียนที่ชัดเจนจะช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานกำกับดูแล การจัดหาวัตถุดิบ ผู้ผลิต และผู้บริโภคสามารถทำได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
0 คนในประเทศยินดียอมรับการเปลี่ยนแปลง และให้ความร่วมมือด้วยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
0 ปัจจัยสำคัญคือการลดต้นทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่
0 การมีจิตสำนึกด้านนวัตกรรม เป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการพัฒนาพลังงานชนิดใหม่
0 คนคือปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่การตระหนักของตนเอง และขยายสู่การรับรู้ของสังคม
0 การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของการใช้พลังงาน ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความยั่งยืนของการใช้พลังงาน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |