ในปี ค.ศ.1939 ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt มีดำริกำหนดให้มีคณะทำงานเพื่อบริหารภาพลักษณ์และชื่อเสียง เพื่อให้รัฐบาลเป็นที่ยอมรับของประชาชน และทำงานอยู่ภายใต้บรรยากาศที่เป็นบวก เอื้ออำนวยให้รัฐบาลสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างราบรื่น ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากประชาชน ทำให้โครงการและนโยบายต่างๆ ที่เป็นสาระในการทำงานของรัฐบาลสามารถดำเนินไปได้ท่ามกลางการยอมรับของประชาชน ควบคุมกระแสและความเคลื่อนไหวของข่าวสาร วางยุทธศาสตร์ในการสื่อสารให้รัฐบาลเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับการทำงานของรัฐบาล
หน่วยงานนี้เป็นฝ่ายยุทธศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการแก้ปัญหาต่างๆ กำจัดความขัดแย้งทางความคิด จัดการกับข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคกับการทำงานของรัฐบาล ทำหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ แล้วให้คำแนะนำกับฝ่ายบริหาร (หมายถึงรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ) ว่าควรจะแสดงจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นขัดแย้งดังกล่าวนั้น และจะวางยุทธศาสตร์ในการสื่อสารเพื่อแสดงจุดยืนอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน และให้ประเด็นถกเถียงดังกล่าวนั้นมีบทสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศของรัฐบาล หน้าที่หลักก็คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับการทำงานของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย การกำหนดนโยบาย การมีโครงการ การแต่งตั้งคนทำงาน และการใช้งบประมาณต่างๆ ให้ประชาชนมองว่าเป็นการทำงานที่มีความชอบธรรม เป็นการทำหน้าที่ตามกฎหมาย และทำงานเพื่อการพัฒนาประเทศให้เป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่ปล่อยให้การทำงานของรัฐบาลเป็นเป้านิ่งให้ฝ่ายตรงกันข้ามทำลาย
หน่วยงานนี้มีการพัฒนาเรื่อยมาในฐานะเป็นผู้ช่วยรัฐบาล หัวหน้าคณะเป็นพนักงานทางการเมืองที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาใดๆ เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นตามความพอใจของหัวหน้ารัฐบาล ดังนั้นบางช่วงบางเวลาประธานาธิบดีอาจจะไม่ได้ตั้งคนเข้ามาทำหน้าที่นี้ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีของสหรัฐเห็นความจำเป็นต้องมีคณะนี้ จึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานคณะนี้มาตลอด วางยุทธศาสตร์ในการสร้างบรรยากาศที่เป็นบวก เอื้อต่อการทำงานของรัฐบาลไม่ให้มีอุปสรรคจากฝ่ายตรงกันข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของยุทธศาสตร์การสื่อสาร ในแต่ละสมัยหัวหน้าคณะทำงานดังกล่าวนี้มีการเปลี่ยนก่อนหมดสมัยของประธานาธิบดี เพราะถ้าหากหัวหน้าคณะที่ทำหน้าที่เป็นนักยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่สามารถทำให้บรรยากาศในการพัฒนาประเทศของประธานาธิบดีเป็นไปอย่างราบรื่น ตกเป็นเบี้ยล่างของฝ่ายตรงกันข้าม ทำสงครามข่าวสารสู้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่ได้ ก็จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะสมัยนี้เป็นยุคสังคมข่าวสารที่นักการเมืองฝ่ายต่างๆ ใช้ข่าวสารเป็นอาวุธ (Weaponization of information โดยเฉพาะตอนนี้ที่รุนแรงอย่างน่ากลัวก็คือ Weaponization of Social Media หรือสงครามข่าวบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์) ในการต่อสู้กัน ภ้าหากคนที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะ Presidential Staff วางยุทธศาสตร์การทำสงครามข่าวารไม่ดีพอ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
Presidential Staff ทำหน้าที่ไม่เหมือนกองโฆษกที่เรียกว่า Press Secretary เพราะกองโฆษกจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานให้ประชาชนทราบ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันตามธรรมเนียม ไม่มียุทธศาสตร์ใดๆ ในการทำสงครามข่าวสาร เป็นเพียงการทำงาน “รายวัน” ที่จำเป็นต้องทำ ทำหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กับสื่อมวลชน เป็นหน่วยงานเบื้องหน้า ในขณะที่ Presidential Staff เป็นหน่วยงานวางยุทธศาสตร์อยู่เบื้อหลัง คณะทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นที่รู้จักของสังคม ในขณะที่คนทำงานในกองโฆษกจะต้องเป็นที่รู้จักของสังคม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อสารมวลชน
หากมีเรื่องใดที่ประชาชนควรรู้ แต่ไม่รู้เป็นความผิดของกองโฆษก การนำเสนอข่าวสาร ถ้าหากใช้คำผิด ประโยคผิด พูดแล้วประชาชนไม่เข้าใจ ไม่พอใจ ก็เป็นความผิดของกองโฆษก (Press secretary) แต่หากรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำการทำสงครามข่าวสาร ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามนำเสนอข่าวสารได้มากกว่า ได้ดีกว่า ได้น่าเชื่อถือมากกว่า ด้วยวิธีการที่ดีกว่า ด้วยยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า ก็จะเป็นความผิดของคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์สงครามข่าวสาร (Presidential Staff) เมื่อสองหน่วยงานนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ (1) Press Secretary เป็นกองหน้า แต่ Presidential Staff เป็นกองหลัง (2) Press Secretary ทำหน้าที่รายงาน แต่ Presidential Staff ทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์สงครามข่าวสาร (3) Press Secretary ต้องสร้างสัมพันธ์กับสื่อมวลชนเพราะต้องรายงานข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน แต่ Presidential Staff ไม่จำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์กับสื่อมวลชนและไม่จำเป็นต้องให้ใครรู้จัก (4) Press Secretary จะต้องมีทั้งไหวพริบและบุคลิกที่ดี สง่างาม น่าเชื่อถือ มึความสามารถในการสื่อสาร การแสดงออก แต่ Presidential Staff จะต้องเป็นนักยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาด สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หน้าตาไม่มีความสำคัญใดๆ จากความแตกต่างที่ชัดเจนดังกล่าวนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลของไทยควรจะมี Prime Minister Staff ที่ทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์การทำสงครามข่าวสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ชื่อเสียงให้รัฐบาล และสร่างบรรยากาศที่เป็นบวก เอื้ออำนวยให้รัฐบาลทำงานท่ามกลางการยอมรับ การสนับสนุน และการร่วมมือของประชาชน
เรื่องทั้งหมดนี้จะอาศัยการทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่เป็นข้าราชการประจำก็คงจะยาก เพราะพวกเขาจะต้องทำงานเป็นกลาง ไม่อาจจะทำงานในลักษณะของการทำสงครามกับฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล คณะทำงาน Prime Minister Staff จะต้องเป็นพนักงานทางการเมืองที่เป็นคนทำงานเบื้องหลังในการวางยุทธศาสตร์ ไม่ใช่คนทำงานเบื้องหน้าที่เป็นการรายงานความเคลื่อนไหวและการทำงานของรัฐบาลเป็นกิจวัตรประจำวันเท่านั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |