15 ส.ค.62 - ที่อาคารรัฐสภา เกียกกาย นายกัญจน์ ทัตติยกุล เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ (พช.) และ น.ส.เบญจา แสงจันทร์ บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เพื่อให้ตรวจสอบผลกระทบต่อการดำเนินการโครงการผังเมืองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
โดยนายกัญจน์ กล่าวว่า ตามที่เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก ได้มีคำร้องถึงเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมาถึงแม้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจะมีหนังสือตอบมาว่ากระบวนการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ คำนึงถึงความสัมพันธ์กับชุมชน สุขภาวะของประชาชน สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นไปตามหลักวิชาการผังเมืองแล้ว แต่ทางเครือข่ายกลับพบว่ามีหลายบริเวณที่มีการจัดผังเมือง อีอีซี ยังมีปัญหาที่จะนำมาซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพื้นที่ ยังผลให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนและประชาชน รวมทั้งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมลง ตนจึงขอให้พรรคฝ่ายค้านได้มีการศึกษาและตรวจสอบผลกระทบจากการดำเนินการโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยเฉพาะประเด็นเร่งด่วนเรื่องการจัดทำผังเมือง EEC เพื่อให้รัฐบาลได้มีการทบทวนพร้อมทั้งการชะลอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ด้วย
โดยน.ส.เบญจา กล่าวว่า ทางพรรคอนาคตใหม่พร้อมด้วยตัวแทนของพรรคฝ่ายค้าน จะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณากันอีกครั้ง แม้ว่าที่ผ่านมาเราเองจะมีการตั้งญัตติพิจารณาเรื่องดังกล่าวในสภาฯแต่ก็ยังไม่มีความชัดเจน ตลอดจนการตั้งกระทู้ถามสดแต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน ทั้งนี้ในอนาคตทางพรรคฝ่ายค้านจะเตรียมตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและตรวจสอบผลกระทบจากการดำเนินการโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป โดยให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย" เพื่อให้เป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ด้านตัวแทนชาวบ้านชุมชนบ่อแก้ว จ.ชัยภูมิ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ 7 พรรคฝ่ายค้าน เรื่องการขอยกเลิกหมายบังคับคดีขับไล่ชาวบ้านให้ออกจากพื้นที่ เพื่อนำเสนอต่อนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยนายนิด ต่อทุน ตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า ชาวบ้านเข้าถือครองทำประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ปีพ.ศ.2496 โดยมีหลักฐานเป็นเอกสารเสียภาษีบำรุงท้องที่ ภ.บท.11 ซึ่งต่อมาปีพ.ศ.2516 ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม และในปีพ.ศ.2521 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ได้ขอเข้าทำประโยชน์ปลูกสร้างสวนป่าคอนสาร ในระบบสมาชิกโครงการหมู่บ้านป่าไม้ เนื้อที่ 4,401 ไร่ และนำมาสู่การผลักดันขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยจำนวน 12 ครัวเรือน ซึ่งนับตั้งแต่การเข้ามาของ ออป. ชาวบ้านเคลื่อนไหวคัดค้านมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถยุติการดำเนินงานได้ กระทั่งพื้นที่ทำกินกลายเป็นสภาพเป็นสวนยูคาลิปตัสในที่สุด โดยรายสุดท้ายที่จำต้องออกจากพื้นที่ในปีพ.ศ.2529 ชาวบ้านจำนวน 277 ราย คือจำนวนผู้เดือดร้อนที่ผ่านการตรวจสอบของคณะทำงานเมื่อปี 2548 ปัจจุบันมีชาวบ้านอยู่ในพื้นที่พิพาทประมาณ 110 คน ในพื้นที่ 96 ไร่ ที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ และวันที่ 27 ส.ค. นี้ เราจะต้องออกจากพื้นที่ ซึ่งก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |