ทุนจีนกับวิกฤติการศึกษาไทย


เพิ่มเพื่อน    

               ช่วงนี้มีข่าวว่าด้วย "ทุนจีน" ที่มาไล่ซื้อมหาวิทยาลัยไทยและธุรกิจยางไทย ที่ควรแก่การวิเคราะห์ให้รอบด้านว่ามีผลดีผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างไร

                เพราะแนวโน้มการขยายตัวของ "ทุนจีน" จะเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น หากไม่มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบทางบวกและทางลบให้ครบทุกมิติ ไทยเราอาจจะตกอยู่ในสภาพ "ติดกับดักทุนจีน" กลายเป็นปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอีกเรื่องหนึ่ง

                ขณะที่มีข่าวว่า "ทุนจีน" มาไล่ซื้อมหาวิทยาลัยไทย ก็มีรายงานว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จากจีนกำลังแห่เข้ามากว้านซื้อธุรกิจผลิตยางพารารายใหญ่ของไทยหลายโรงงาน

                ทำให้เกิดความกังวลว่าธุรกิจยางพาราของไทยอาจจะกำลังอยู่ในกำมือของทุนจีน

                มหาวิทยาลัยเอกชนของไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ เพราะนักศึกษาลดน้อยลงและมีการแข่งขันกันหนักหน่วงขึ้น เปิดทางให้ "ทุนจีน" เข้ามาเจรจาซื้อและบริหารตามแนวทางที่เจ้าของทุนต้องการ

                ช่วงปลายปี 2561 กลุ่มทุนจีนเข้ามาซื้อกิจการมหาวิทยาลัยเกริก

                หนังสือพิมพ์ "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า

                สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยได้รับความนิยมจากนักศึกษาจีนเป็นอย่างมาก เพราะประชากรจีนที่มีจำนวนมากแต่มหาวิทยาลัยในประเทศไม่พอรองรับ ทำให้นักศึกษาจีนเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไทยมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

                สาเหตุหนึ่งเกิดจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ระอุอยู่ในขณะนี้

                รัฐบาลจีนได้ประกาศเตือนนักศึกษาจีนที่ต้องเดินทางไปยังสหรัฐฯ ให้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

                ระยะที่ผ่านมามีนักลงทุนจีนหลายรายสนใจเข้ามาลงทุนในสถาบันการศึกษาไทย เข้ามาเจรจาซื้อกิจการของมหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง

                บางรายก็ใช้วิธีร่วมมือกับนักลงทุนไทยจัดตั้ง "บริษัท" ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเข้าซื้อกิจการมหาวิทยาลัยในไทย วิธีนี้จะช่วยลดข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งถือเป็นโอกาสและทางออกของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยหลายแห่งที่กำลังเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน

                สาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยไทยต้องเผชิญกับวิกฤติ เป็นผลพวงจากจำนวนนักศึกษาที่ลดลง  10-50% บางมหาวิทยาลัยเหลือนักศึกษาไม่ถึงร้อยคน ทำให้มีการแข่งขันรุนแรงถึงขั้นทำโปรโมชันลดค่าเทอมเพื่อแย่งตัวนักศึกษา

                "ประชาชาติธุรกิจ" อ้างแหล่งข่าวบอกว่า

                "เท่าที่ได้รับข้อมูล ขณะนี้มีกลุ่มทุนจีนมากกว่า 5 รายที่เข้ามาเดินสายเจรจาซื้อมหาวิทยาลัยไทย  โดยเฉพาะบริเวณเส้นทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากพบว่ามีมหาวิทยาลัยเอกชนเกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รวมทั้งบริเวณพื้นที่อื่นๆ อย่างย่านลาดพร้าว เช่น มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต แม้บางแห่งจะไม่ได้รับผลกระทบจากการลดจำนวนของนักศึกษา แต่ก็ได้รับการทาบทามซื้อกิจการ เป้าหมายเพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษาจีนในอนาคต ปัจจุบันก็มีบางรายสามารถตกลงให้เข้ามาร่วมทุนแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูล"

                ดร.เสนีย์ สุวรรณดี เลขาธิการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ยอมรับว่าในส่วนของเกษมบัณฑิตก็มีกลุ่มทุนจีนเข้ามาเจรจาทาบทามยื่นข้อเสนอขอซื้อกิจการเช่นกัน แต่มหาวิทยาลัยไม่มีความจำเป็นต้องขายเพราะยังมีนักศึกษาเข้ามาต่อเนื่อง

                สถานการณ์การศึกษาไทยต้องถือว่าอยู่ในภาวะ "วิกฤติ" แม้มหาวิทยาลัยของรัฐก็ใช่ว่าจะอยู่ในสภาพปกติ ปีนี้หลังการสอบ TCAS (ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย) รอบที่ 4 ยังคงเหลือที่ว่างอีกกว่า 200,000 ที่นั่ง

                เป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเลวร้ายเช่นนี้มาก่อน

                จะบอกว่าไม่มีสัญญาณเตือนภัยมาก่อนก็ไม่น่าจะใช่ เพราะมีการเตือนถึงพิษภัยของ disruption  อันเกิดจากเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา

                ดร.เสนีย์บอก "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จำนวนมหาวิทยาลัยในไทยมีเกินความต้องการเกือบ 200  แห่ง (รวมมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันเทคโนโลยี) จึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการแข่งขันที่ภาคเอกชนไม่มีแต้มต่อ เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและอยากเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐมากกว่า ขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนต่างปรับตัวด้วยการชูหลักสูตรใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียน แต่ก็มีจำนวนไม่มาก

                ดังนั้น ภาครัฐควรจะให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยขนาดเล็กจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ  เพราะหากต้องปิดตัวลงจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เบื้องต้นอยู่ที่หลายหมื่นล้านบาท

                "ปัจจุบันมหาวิทยาลัย over supply มาก ขณะที่มหาวิทยาลัยขนาดเล็กๆ ไม่มีศักยภาพในการปรับตัว เช่น การทำหลักสูตรสมัยใหม่เพื่อดึงดูดนักศึกษา รวมถึงปัจจุบันการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต้องมีหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งบางมหาวิทยาลัยที่มีฐานรากแข็งแรงสามารถปรับตัวได้  แต่รายเล็กต่างมีข้อจำกัดเชิงกายภาพที่ทำให้ปรับตัวยาก"

                "ทุนจีน" จะแก้ปัญหาธุรกิจการศึกษาของไทยหรือจะสร้างปัญหาใหม่ๆ อย่างไร ต้องคอยติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"