นักวิทยาศาสตร์ใกล้ค้นพบยาที่สามารถรักษาโรคอีโบลาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ภายหลังยา 2 ชนิดที่อยู่ระหว่างการทดลองใช้ทางคลินิกสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
แฟ้มภาพ พยาบาลฉีดวัคซีนอีโบลาให้เด็กที่เมืองโกมาของดีอาร์คองโก เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 / AFP
คำแถลงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐ (เอ็นไอเอช) ที่ร่วมให้ทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยของคองโก แต่ขณะนี้การศึกษาถูกระงับแล้ว และผู้ป่วยในอนาคตทุกคนจะถูกเปลี่ยนไปรับการรักษาที่แสดงผลลัพธ์ในเชิงบวก
แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อของเอ็นไอเอช กล่าวกับเอเอฟพีว่า ยา REGN-EB3 และ mAb114 เป็นยา 2 ตัวแรกที่ทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้วให้แสดงผลลัพธ์ในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยไวรัสอีโบลาได้อย่างมีนัยสำคัญ จากนี้ ผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาด้วยยาอีก 2 ชนิดที่หยุดการให้ยาไปแล้ว คือ Zmapp และ remdesivir จะสามารถเปลี่ยนไปรักษาด้วยยาที่ได้ผลตามดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
เฟาซีอธิบายว่า การทดลองครั้งนี้ออกแบบให้ทำการทดลองกับคน 725 คน แต่คณะกรรมการอิสระตัดสินใจสั่งระงับการทดลองเมื่อผ่านไป 681 คนแล้วพบว่า ยา REGN-EB3 โดยบริษัท รีเจเนอรอน ได้ผลในระดับที่มีนัยสำคัญ ส่วนยา mAb114 ก็ให้ผลลัพธ์ด้อยกว่าไม่มาก
เฟาซีกล่าวว่า ข้อมูลที่วิเคราะห์จนถึงขณะนี้ได้จากผู้ทดลอง 499 คน จาก 681 ในกลุ่มนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ REGN-EB3 มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 29% ส่วน mAb114 มีอัตราเสียชีวิตที่ 34% เปรียบเทียบกับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาตัวใดตัวหนึ่งในนี้ ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิต 60-70% ส่วนอัตราการตายของผู้ป่วยที่รับยา Zmapp และ remdesivir มีอัตราการเสียชีวิตที่ 49% และ 53% ตามลำดับ
ยา REGN-EB3, mAb114 และ Zmapp นั้นเป็นยาปฏิชีวนะแบบโมโนโคลนอลที่จะเกาะติดกับไกลโคโปรตีนของไวรัสอีโบลา และทำให้ไวรัสชนิดนี้ไม่สามารถแพร่เชื้อสู่เซลล์อื่นได้
เฟาซีเสริมด้วยว่า การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสุดท้าย ซึ่งจะรวมถึงผลจากผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการประมวลผล จะรู้ได้ภายในปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม หลังจากนั้นผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จะนำเสนอเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่มีผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบ
เอ็นไอเอช, หน่วยงานด้านสาธารณสุขของดีอาร์คองโก และองค์การอนามัยโลก พากันยกย่องคณะทำงานทุกคนที่ทำงานในสภาพที่ยากลำบากอย่างที่สุดเพื่อทำการศึกษาครั้งนี้ รวมถึงผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา
นับแต่อีโบลากลับมาระบาดที่ภาคตะวันออกดีอาร์คองโกเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว มีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วมากกว่า 1,800 คน
เฟาซีกล่าวด้วยว่า วิธีดีที่สุดในกำจัดไวรัสอีโบลาคือการป้องกันไม่ให้แพร่ระบาด ซึ่งทำได้ด้วยการมีวัคซีนที่ดี รวมถึงการติดตาม, แยกกักกัน และสุดท้ายคือการรักษา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |