13ส.ค.62-นักวิชาการระดมความคิด “การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ระบบการศึกษาระดับท้องถิ่น ต้องปรับตัวรับมือ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก แนะองค์กรท้องถิ่นต้องออกแบบจัดการศึกษา ที่สามารถสร้างเด็กให้มีทักษะที่หลากหลาย เรียนรู้ได้อย่างไร้ขอบเขตขีดจำกัด พร้อมกับตอบโจทย์ความต้องการท้องถิ่น ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ในชุมชน
เมื่อเร็วๆนี้มีการเสวนาหัวข้อ “การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21” โดย มหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 จ.ร้อยเอ็ด มีวิทยากร ได้แก่ นาย.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.), นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ : กล่าว่า กพฐ. มีหน้าที่กำหนดคุณภาพการศึกษาที่เรากำหนดให้ เน้นคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน แต่เราต้องรู้ก่อนว่า ในศตวรรษที่ 21 จะเกิดอะไรขึ้น ดังนี้ 1. คนจะรู้หนังสือมากขึ้น 2. จำนวนคนเรียนสูงจะมากขึ้น แต่การเรียนสูงไม่ได้บ่งบอกว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราผลิตเด็ก แต่เด็กที่เราผลิต มีทักษะการทำงานไม่เป็นไปตามที่เขาอยากได้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้คนเรียนสูงเยอะขึ้น 3 .รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษา คนของเราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน 5 จี แต่สิ่งที่สำคัญสื่อเหล่านี้เด็กเราใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตัวเองได้แค่ไหน และต้องเรียนรู้อย่างถูกวิธี 4. เรียนรู้ตลอดเวลา ฯลฯ
ประธานกพฐ. กล่าวอีกว่า ในมุมมองส่วนตัว เห็นว่าเราจะปั้นเด็กไปแบบไหน ซึ่งกพฐ.ได้กำกับติดตามเด็กไปตามนโยบาย คุณลักษณะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 สิ่งแรกที่เราอยากเห็นคือ 1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยให้คล่องในระดับอนุบาล 3 มีความสามารถด้านเทคโนโลยียีดิจิตอล เราต้องการอุปกรณ์ที่เข้าถึง 4. มีความสามารถในการเรียนรู้ไผ่รู้พัฒนาตนเอง แม้สื่อดีถ้าไม่สร้างอุปนินิสัยเรียนรู้เพื่อการพัฒนา สมรรถนะของเด็กต้องดี 5. ความมุ่งมั่นมานะะอดทนเป็นตัวของตัวเอง ภารกิจหลักมีคาวามคิดอ่านด้วยเหตุผล ไม่ชักจูงได้ง่าย สู่พลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดี 6 มีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องฝึก 7. อยากเห็นคนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม 8 อยากเห็นเด็กถูกฝึกทักษะแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เด็กจะรู้ว่าอะไรควรปรับปรุงแก้ไข 9 เด็กไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ อนาคตเด็กควรมีการสอนอาชีวะใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ ) ถ้าเราผนวกกัน เมื่อเด็กจบแล้วมีอาชีพก็เป็นเรื่องดี และต้องสอนในเชิงสมรรถนะ 10 อย่าทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย
ด้าน นายวุฒิสาร ตันไชย กล่าวว่า การศึกษาระดับท้องถิ่นจะเตรียมรับมืออนาคตอย่างไร คิดว่าเราไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณจัดการศึกษา ในปี 61 เราได้งบฯการศึกษากว่า 5 แสนกว่าล้านบาทเท่ากับ 4.8ของจีดีพี สูงกว่าประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ดังนั้นงบประมาณไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ครูและการพัฒนาครู อีกเหตุผลหนึ่งคือ วันนี้การบริหารการศึกษาของเราติดอยู่ในกับดักเชิงโครงสร้าง การศึกษาระบบท้องถิ่นไม่ควรเดินตาม ครูไม่ควรมีภาระงานรับผิดชอบหลายอย่างที่เกินขีดความสามารถ ซึ่งควรทำให้ผู้ปกครองเป็นหุ้นส่วนมีส่วนช่วยครูและโรงเรียน
ประธานสถาบันพระปกเกล้ากล่าวอีกว่า นอกจากนี้โจทย์การศึกษาไทยไม่ใช่วัดแค่เด็กเก่ง ชุมชนต้องสร้างตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของชุมชน สร้างอัตลักษณ์ให้เด็กในท้องถิ่น ดังนั้น สิ่งที่การศึกษาระดับท้องถิ่นควรทำคือ 1 ท้องถิ่นควรเป็นผู้จัดการศึกษาเพราะมีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว 2 .องค์กรท้องถิ่น ต้องคิดออกแบบ จัดการเรียนการสอน ค้นหาสิ่งที่เป็นข้ออ่อนของเด็ก เพื่อรีบพัฒนา 3 องค์กรท้องถิ่น ต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กสามารถใช้ชีวิตให้รอด เอาปัญหาของชุมชนเป็นฐานและให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิตจริง ๆ 4 .ต้องขยายความคิดปรัชญา“เอ็ดดูเคชั่น ฟอร์ ออล” คือ ไม่ใช่การศึกษาเฉพาะนักเรียน แต่เพื่อทุกคน ท้องถิ่นควรรทำเรื่องการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. เพื่อทำให้คนเกิดความรู้อยู่ตลอดเวลา 4 การศึกษาท้องถิ่น ต้องช่วยลดความเลื่อมล้ำของคนได้ เช่น เด็กมาจากครอบครัวยากจนแค่ไหนก็ต้องได้เรียนขั้นพื้นฐาน หรือแม้แต่เด็กต่างด้าวก็ยังได้มาเรียน ต้องบริหารจัดการให้ได้
สรุปคือในอนาคตชุมชนต้องรับผิดชอบต่อสถานศึกษา ผู้เรียนในอนาคตจึงต้องมีทักษะที่หลากหลาย ไม่ว่าสถานศึกษาแห่งไหน ต้องสามารถสร้างเด็กที่พร้อมที่จะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอนาคตเขาด้วยตัวเองได้ เด็กจึงต้องมีทักษะหลากหลายด้าน สามารถทำในสิ่งที่ไมได้เรียนมาได้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ได้ 2 . เด็กต้องมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพราะทักษะด้านภาษาทำให้เขาพร้อมเปลี่ยนงานใหม่ 3. ต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี 4 .ทักษะการเรียนรู้ ที่สามารถเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ไม่จำกัด อนาคตทักษะนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้อะไรก็ได้ที่เขาสนใจ 5. ทักษะการทำงานเป็นทีม 6. ทักษะภาวะผู้นำ ถ้าเราสร้างเด็กให้มีทักษะหลากหลายได้ ก็จะทำให้ทำเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ในตัวเอง และมีความกล้าแสดงออก 7 .ทักษะการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ 8 ทักษะมนุษย์สัมพันธ์ 9 .ทักษะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง คนไทยอย่าเชื่อง่าย อย่าแชร์อย่างไม่มีเหตุผล
ด้าน นายตวง อันทะไชย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะไม่เหมือนเดิม เพราะโลกเปลี่ยน ต่อไปยุค 5 จี ซึ่งมีทั้ง fintech / block chain /digital/ business / robot ในอนาคตเราต้องไปสร้างนวัตกรรมก็ได้แม้ไม่ต้องจบปริญญา แต่ขอให้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ ในระบบโรงเรียนเด็กๆ ต้องสังเกตตัวเองว่า เรียนอะไรแล้วชอบ เรียนไประยะหนึ่ง เมื่อค้นพบสิ่งที่ชอบ หยุดเรียนฝากหน่วยกิตไว้แล้วไปทำงานก่อนได้ ในรูปแบบอาชีพ ดังคำพูดที่ว่า “ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้“ หรือ “ทัศนคติสำคัญกว่าไอคิว และความฉลาด” โลกของการศึกษาในอนาคต คือ 1 การจัดการศึกษาคือการพัฒนาและเตรียมคนให้ไปอยู่ได้ใน สังคมอินเทอร์รับชั่น 2 .การจัดการศึกษาคือการพัฒนาคน ให้เต็มศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวของผู้เรียน 3 .การจัดการศึกษาในความเชื่อว่าเด็กทุกคนสมารถเรียนรู้ได้ มีความฉลาดที่แตกต่างกัน โรงเรียนจะต้องหาทางบ่มเพาะสติปัญญาหรือความฉลาดที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่สมดุลย์
" เมื่อโลกเปลี่ยน เกิดปฏิวัติโลก เกิดระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เกิดปัญญาประดิษฐ์และการตัดสินใจ เกิดอินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง การเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ไม่ได้พูดถึงปริญญา แต่พูดถึงความเก่งในตัวเด็กแต่ละคน เราในฐานะครูผู้สอนจะทำอย่างไร เราต้องพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ต้องถามเด็กว่าเขาจะเป็นอะไร อยากเรียนอะไร เช่น เขาอยากเป็นนักฟุตบอลก็ไม่ต้องเก่งด้านฟิสิกซ์ ชีวะ เราต้องหาศักยภาพของเด็กแล้วดึงความเก่งนั้นออกมา เราจึงต้องเปลี่ยนวิชาการ เพราะระบบการศึกษาสร้างคนและสร้างชุมชนได้ อย่าไปคาดหวังปฏิรูปเศรษฐกิจการเมือง เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ นายตวงกล่าว