ทำไมใครต่อใคร ก็ลดดอกเบี้ย?


เพิ่มเพื่อน    

                การประกาศลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา สร้างความประหลาดใจให้แก่หลายวงการพอสมควร

                เพราะก่อนหน้านี้ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่คาดว่า กนง.น่าจะรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม

                ผมอ่านบทวิเคราะห์ของ "หลักทรัพย์บัวหลวง" ในวันรุ่งขึ้นแล้วมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อมองจากแง่ของวงการธนาคารซึ่งหนีไม่พ้นว่าจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

                กนง.มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.75% เป็น 1.50% ในรอบ 4 ปี ด้วยผลโหวต 5:2  จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

                เป็นจังหวะเดียวกับที่มีการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่ง ทั้งธนาคารกลางสหรัฐ  (Fed), อินเดีย และนิวซีแลนด์

                ปัจจัยที่คณะกรรมการนโยบายการเงินพิจารณาน่าจะมีหลายประเด็น เช่น

                -ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และต่ำกว่าระดับศักยภาพ

                -การส่งออกสินค้าหดตัว จากสภาวะการกีดกันทางการค้า

                -การท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง

                -การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงตามรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตร

                -การจ้างงานที่ปรับลดลง

                -อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากราคา พลังงานที่ปรับลดลงเร็ว

                คำถามคือ ใครได้ประโยชน์ และใครเสียประโยชน์?

                บทวิเคราะห์นี้มองว่า

                ผลกระทบต่อตลาดหุ้น : รอบนี้เป็นการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นจังหวะที่ตลาดหุ้นมี Valuation สูงอยู่ คาดโอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นแรงเหมือนในอดีตนั้นจำกัด

                ใครได้ประโยชน์?

                กลุ่มที่ต้นทุนหลักเป็นดอกเบี้ย ซึ่งมีโอกาสที่จะเห็นต้นทุนที่ลดลงและมาร์จินกว้างขึ้น เช่น สินเชื่อบุคคล, สินเชื่อรถยนต์, จำนำทะเบียนขนส่งมวลชน, โรงไฟฟ้า, หุ้นปันผลสูง และกองทุนรวมต่างๆ เป็นต้น

                ใครเสียประโยชน์?

                ทุกๆ 0.25% ที่ดอกเบี้ย MLR ปรับลง กำไรธนาคารจะลดลง 7.00% แต่ผลกระทบอาจเบาลงเหลือ  3.00% หากธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากด้วย เราคาดจะเห็นหุ้นธนาคารใหญ่ โดย De-rate  valuation ลงต่อ

                ผลกระทบต่อค่าเงิน :

                บทวิเคราะห์มองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะกระทบค่าเงิน เพราะค่าเงินจะ Sensitive  กับเงินสำรองต่างประเทศเป็นหลัก

                ดังนั้นคาดค่าเงินได้รับผลจำกัดจากการลดดอกเบี้ย แล้วงบการเงินของ 3 แบงก์ใหญ่เพิ่มขึ้น/ลดลง เพราะอะไร?

                เดินทางเข้าสู่ช่วงทยอยประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน นำโดยกลุ่มแบงก์จะเริ่มประกาศงบการเงินเป็นกลุ่มแรก โดยช่วงระยะเวลาของการประกาศ ดังนี้

                -งบไตรมาส 1 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11-20 เม.ย. และวันที่ 6-15 พ.ค.ประกาศงบของทุกกลุ่ม

                -งบไตรมาส 2 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11-20 ก.ค. และวันที่ 6-15 ส.ค.ประกาศงบของทุกกลุ่ม

                -งบไตรมาส 3 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11-19 ต.ค. และวันที่ 6-15 พ.ย.ประกาศงบของทุกกลุ่ม

                -งบประจำปี และงบไตรมาส 4 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11-22 ม.ค. และวันที่ 26 ก.พ.-6  มี.ค.งบของทุกกลุ่ม

                แล้วช่วงนี้เองก็เข้าสู่การประกาศงบไตรมาส 2 ของกลุ่มแบงก์ รายงานกำไรสุทธิรวม 5.34 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.1% YoY และ 4.2% QoQ โดยหลักการทั่วไปนั้นปัจจัยที่กระทบกับตัวเลขในกลุ่มแบงก์ก็คือ

                1.การเติบโตของสินเชื่อ ซึ่งการให้สินเชื่อเป็นธุรกิจหลักของธนาคาร ส่งผลให้รายได้จากส่วนนี้เป็นรายได้หลักของธนาคารเช่นกัน

                2.รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) เป็นส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับ (ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการปล่อยเงินกู้และสินเชื่อต่างๆ) หักกับดอกเบี้ยจ่าย  (ดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นผลประโยชน์ให้แก่ประเภทเงินฝาก)

                3.รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย นั้นมาจากรายได้จากค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น โอน จ่ายบิล ซึ่งปัจจุบันลดลงค่อนข้างมากหลังจากการปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Banking และค่าธรรมเนียมการขายประกัน กองทุน

                4.การตั้งสำรองจากหนี้สูญ กรณีลูกหนี้ที่กู้เงินไปและไม่จ่ายชำระหนี้

                5.ต้นทุนรายจ่าย อาทิ เงินเดือนพนักงาน การตั้งสำรองเงินเกษียณอายุ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ฯลฯ

                ต่อไปนี้ความผันผวนจะกลายเป็นเรื่องปกติที่ทุกวงการต้องเกาะติดทุกฝีเก้า เผลอนิดเดียวหลุดโลกได้เลย!

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"