ทุ่งกุลาต้านโรงน้ำตาลโรงไฟฟ้าชีวมวลสอดไส้ถ่านหิน ซัดรัฐหยุดหนุนปลูกอ้อยเปิดทางนายทุนน้ำตาลแย่งยึดที่ดินชาวบ้าน


เพิ่มเพื่อน    

11 ส.ค.62- เครือข่ายชาวบ้าน จ.ร้อยเอ็ด กลุ่มเครือข่ายคนรักษ์ปทุมรัตต์ สภาองค์กรชุมชน ตำบลโนนสวรรค์ และตำบลสระบัว อ.ปทุมรัตต์ ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินอีสาน คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน ภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จัดเวทีเวทีชำแหละนโยบายอุตสาหกรรมน้ำตาลกลาวทุ่งกุลา ที่วัดโพธิการาม ต.นครสวรรค์ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมออกแถลงการณ์  หยุดโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลปทุมรัตต์ โดยระบุว่า สืบเนื่องจากรัฐบาล คสช. อันมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันยุทธศาสตร์ อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี (พ.ศ.2558-2569) เมื่อปีพ.ศ.2558 ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมุ่งเปลี่ยนภูมินิเวศวัฒนธรรมอีสานจากพื้นที่ ข้าว นาและป่าโคก สู่ การเป็นพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย  อันจะทำให้พื้นที่นา ไร่ สวนและผืนป่าอีกกว่า 6 ล้านไร่  กลายเป็นป่าอ้อยสุดลูกหูลูกตา โรงงานน้ำตาลทรายพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลจะผุดขึ้นในทั่วทุกมุมเมืองของอีสานอีกกว่า 20โรง

แต่ในการวางยุทธศาสตร์ที่ว่า กลับไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนปทุมรัตต์บนผืนแผ่นดินที่เรียกว่าทุ่งกุลา  ดินแดนแห่งข้าวหอมมะลิและวิถีวัฒนธรรมชาวนา การที่จะมีโรงงานน้ำตาลทรายขนาดกำลังการผลิต 24,000ตันอ้อยต่อวัน ต้องการพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 200,000ไร่ โรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาดกำลังการผลิต80เมกกะวัตต์มาตั้งอยู่ในพื้นที่ เสมือนการทิ้งระเบิดควันพิษลงกลางใจผู้คน ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกอย่างหนัก พวกเรา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบและองค์กรตามแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ขอยืนหยัดที่จะบอกว่า ไม่ต้องการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ด้วยเหตุผลประการสำคัญ ดังนี้ 

1. อ้อย ไม่ใช่พืชชนิดเดียวที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ ดินแดนทุ่งกุลาแห่งนี้ คือ แหล่งข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เป็นข้าวคุณภาพชั้นเยี่ยม ได้รับรางวัลทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้ง ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกลายมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด สู่ การเป็นนครหลวงข้าวหอมมะลิโลก  2.การส่งเสริมการปลูกอ้อยมีเบื้องหลังเพื่อสนับสนุนกลุ่มทุนผูกขาดน้ำตาลทรายในประเทศที่มีเพียงไม่กี่ราย ให้สามารถผูกขาดตลาดเกษตร ควบคุมทิศทางการผลิตและราคาได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงมิใช่เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง ราคาข้าวตกต่ำที่เกิดขึ้นในภาคอีสานดังกล่าวอ้าง  

3.ยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย เป็นช่องให้กลุ่มทุนใช้เป็นข้ออ้างในการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะที่ดิน และแหล่งน้ำและป่าโคก อันเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับชุมชนออกไปเป็นจากท้องถิ่น สู่เงื้อมมือของทุนเพียงกลุ่มเดียว เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะถูกทิ้งให้เผชิญกับความเสี่ยงของราคาผลผลิต และความไม่มั่นคงทางอาหาร 4. การก่อสร้างโรงงานน้ำตาลทรายและโรงไฟฟ้าชีวมวลในเขตชุมชน จะทำให้ชุมชนต้องใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงอย่างน้อย  3.ด้านหลัก คือ 1) ด้านสุขภาพ  2) ด้านสิ่งแวดล้อม จะเกิด การแย่งชิงน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน เราไม่เชื่อว่าโรงงานจะสามารถกักเก็บแหล่งน้ำและใช้น้ำจากแม่น้ำร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่เบียดเบียน  3) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะความปลอดภัยบนท้องถนน ที่ต้องเผชิญหน้ากับรถบรรทุกอ้อย รถขนชานอ้อย กากน้ำตาลและอื่นๆ กว่า 2,400 เที่ยวต่อวัน  

5.กรณีโรงงานไฟฟ้าชีวมวล มีการปกปิดข้อมูลการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงร่วม ซึ่งถ่านหินเป็นตัวก่อผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 6.การดำเนินกิจการที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความไม่ชอบธรรม ปิดกั้นและกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังกรณีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อ-EIA ครั้งที่ 1  7. ภายใต้การดำเนินยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาล เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่ล้าหลัง ไม่ทันกระแสการบริโภคของโลก โดยเฉพาะยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลัก มีแนวโน้มลดการบริโภคน้ำตาลลงอย่างต่อเนื่องตามกระแสรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันจะทำให้ราคาอ้อยตกต่ำลงในอนาคต สวนทางกับพื้นที่ปลูกอ้อยในประเทศไทยที่กำลังจะเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ถูกลอยแพหรือถูกทำให้ยินยอมขายผลผลิตในราคาที่ไม่เป็นธรรม ซ้ำเติมให้เกษตรกรเข้าสู่วัฏจักรหนี้สิน การสูญเสียที่ดิน การแตกสลายของครอบครัวและชุมชน  8. พื้นที่ทุ่งกุลาแห่งนี้ ไม่ใช่ดินแดนอันว่างเปล่า แต่มีผู้คน ภูมิปัญญา วิถีชีวิต เป็นแหล่งอายรธรรมอีสานมาหลายร้อยหลายพันปี การเปลี่ยนดินแดนแห่งนี้เป็นไร่อ้อยและโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า จึงเท่ากับการทำลายอายธรรมทุ่งกุลาอันเก่าแก่ประเมินค่าไม่ได้

จึงข้อเรียกร้อง ว่า  1.ขอให้ยกเลิกการผลักดันโรงงานอ้อย น้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่อำเภอปทุมรัตต์ ทั้งนี้ การพัฒนาอีสานรวมถึงพื้นที่ทุ่งกุลาจะต้องมาจากคนอีสานและยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดที่มุ่งสู่การเป็นนครหลวงข้าวหอมมะลิโลก  แหล่งเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ 2.การพัฒนาจะต้องวางอยู่บนฐานการเคารพหลักสิทธิชุมชน หยุดการพัฒนาแบบเบียดขับชุมชนท้องถิ่นออก จากกระบวนการมีส่วนร่วม 

3.หน้าที่ของรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมต้องคำนึงการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ ปากท้องของประชาชน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชน ไม่ควรผลักดันโครงการที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ตกต่ำลงไปด้วยการผลักดันโรงงานน้ำตาลพ่วงโรงไฟฟ้า 4 ยกเลิกนโยบายอ้อยและน้ำตาลทรายเพราะเป็นส่วนสำคัญในการแย่งยึดที่ดินของชาวบ้าน ทำลายพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ทำลายรากฐานวัฒนธรรมชุมชน  5. กฏหมายและแนวทางเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชีวมวลจะต้องไม่มีถ่านหินมาเกี่ยวข้อง เป็นโรงไฟฟ้าทางเลือก เน้นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"
Thailand Web Stat