แฟ้มภาพ
5 มี.ค. 61 - ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล รองประธานสภากทม. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเจ้าของบ้านเลขที่ 37/208 ซอยศรีนครินทร์ 55 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. อ้างเหตุเดือดร้อนจากการประกอบกิจการตลาดดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า ทางคณะกรรมการฯได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยได้ลงมติเห็นชอบลงบันทึกรายงานที่ 010/2561 จำนวน 10 หน้า พร้อมแนบเอกสารประกอบ ก่อนส่งรายงานไปยังผู้ว่าฯกทม.พิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย
สำหรับข้อสรุปในเบื้องต้นทางคณะกรรมการฯ มีความเห็นร่วมกันว่าตลาดทั้ง 5 แห่ง จัดตั้งอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ในการขออนุญาตจัดตั้งตลาดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ทั้งประเภทที่ 1 ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและประเภทที่ 2 ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร โดยทั้งหมดไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งตลาดมาตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2551 ซึ่งเดิมบริเวณดังกล่าวมีการตั้งแผงขายของยาวตลอดแนว ลักษณะนี้ไม่ถือเป็นตลาด ต่อมาตลาดสวนหลวงเริ่มก่อตั้งตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร ในปี 2551 ตามด้วยตลาดเปิ้ลมาร์เก็ต ตลาดยิ่งนรา ตลาดรุ่งวาณิชย์และตลาดร่มเหลืองในปี 2553-2554 ตามลำดับ และปัจจุบันมีมติเห็นว่าตลาดทั้ง 5 แห่งไม่มีสภาพเป็นตลาด
สำหรับรายชื่อข้าราชการที่เกี่ยวข้องมี 2 ส่วน ได้แก่ 1.สำนักการโยธา ผู้ควบคุมกำกับดูแลในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พบดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายขณะนั้น ปรากฎรายชื่อของ นายจุมพล สำเภาพล (ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2552-2554) และนายวินัย ลิ่มสกุล (ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2554-ตุลาคม 2556) อดีตผู้อำนวยการสำนักการโยธา
2.สำนักงานเขตประเวศ ซึ่งเป็นอนุญาตจัดตั้งตลาดตามพ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ พบดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นระดับผอ.เขต ปรากฎตามเอกสารตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน 4 ราย คือ 1.นายสมชาย ฉัตรสกุลเพ็ญ 2.นางอัจรา ห่อสมบัติ 3.นายณรงค์ จงแจ่มและ นายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผู้อำนวยการเขตประเวศปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายโยธาและฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมประมาณ 20 ราย โดยปรากฎในเอกสารชัดเจนว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง
นายนิรันดร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนการดำเนินการตามกฎหมายของผู้อำนวยการเขตประเวศในแต่ละช่วงปี พบว่าได้มีการดำเนินการตามกฎหมายทุกปี แต่ต้องไปพิจารณารายละเอียดความหนักเบาของการดำเนินการอีกครั้ง เนื่องจากบางปีพบว่า มีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด อาทิ ระหว่างปี 2555-2559 ตลาดยิ่งนราถูกดำเนินคดี ตามพ.ร.บ.อาคาร กรณีเปิดตลาดก่อนการใช้อาคาร ถูกพิจารณาปรับ 4.7 แสนบาทมีโทษจำคุก 1 เดือนและรอลงอาญา ขณะที่ เมื่อปี 2555 ตลาดรุ่งวาณิชย์ถูกปรับ 157,500 บาท ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดพระโขนง ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงทั้งหมดจะส่งให้เอกสารให้ผู้ว่าฯกทม.ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยเพื่อพิจารณาดำเนินการตามข้อกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากตรวจสอบพบผู้กระทำความผิดได้เกษียนอายุราชการไปแล้วจะดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างไรบ้าง นายนิรันดร์ กล่าวว่า แม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว ตามระเบียบข้าราชการสามารถดำเนินการกับผู้นั้นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 1.โทษทางอาญา หากมีผู้ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนกรณีดังกล่าว ชี้มูลและส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นฟ้องต่อศาล 2.โทษทางวินัย หากผู้บังคับบัญชา เห็นว่ามีหลักฐานสมควรตั้งคณะกรรมการสอบวินัยได้ ซึ่งมีผลต่อเจ้าหน้าที่ที่เกษียณอายุราชการหรือไม่ก็ตาม โดยโทษทางวินัยประกอบด้วย ความผิดร้ายแรง เช่น ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ฯลฯ ลงโทษไล่ออก ปลดออก และหากพิสูจน์มีความผิดไม่ร้ายแรง ต้องลงโทษตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ ซึ่งมีกำหนดไว้ตามระเบียบราชการ
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.ถึงประเด็นดังกล่าว ว่า ทางคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่มีนายนิรันดร์ ประดิษฐกุล เป็นประธาน นำข้อมูลทั้งหมดมามอบให้ตนในช่วงบ่ายวันนี้(5 มี.ค.) โดยทางกทม.ต้องนำข้อมูลดังกล่าวรายงานไปยังศาลปกครองกลาง รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของกทม.คนใด ที่มีการละเลย หรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดเกี่ยวข้อง ทางฝ่ายบริหารจะหารือร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ก่อนตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ว่าความรับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งหากพบว่ามีความผิด ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย โดยฝ่ายข้าราชการประจำ ต่อไป
“ต้องมีการตรวจสอบกระบวนการการดำเนินการทั้งหมดในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของสำนักการโยธา และสำนักงานเขตประเวศ รวมทั้งพฤติการณ์ต่างๆ ทั้งการแจ้งความดำเนินคดี การเปรียบเทียบปรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ ซึ่งผมยืนยันได้เลยว่า ทางกทม.ไม่ได้ดำเนินการล่าช้า เพื่อให้เกิดความยืดเยื้อ เพราะผมเป็นคนใจร้อน ทำอะไรต้องทำเร็ว”
ผู้ว่ากทม. กล่าวอีกว่า ในส่วนของการดำเนินคดีของศาลปกครองนั้น ขณะนี้ ศาลปกครองเหลือเพียงเรียกตัวแทนเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ที่รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวอีก 1 ปาก มาชี้แจงข้อมูลว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถสร้างตลาดได้หรือไม่ หรือสามารถก่อสร้างได้เพียงที่อยู่อาศัยเท่านั้น นอกจากนี้ทาง 50 เขตอยู่ระหว่างการส่งข้อมูลการสำรวจตลาดที่ไม่ได้มีการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |