กรมพระศรีสวางควัฒน ฯลงนามกับ อภ.-ปตท.ร่วมมือผลิตยาชีววัตถุรักษามะเร็งเต้านม ช่วยคนเข้าถึงยาราคาถูก


เพิ่มเพื่อน    

 

 

9ส.ค.62- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงลงพระนามร่วมมือผลิตยาชีววัตถุรักษามะเร็งเต้านม กับ อภ.-ปตท. สานพระปณิธานสร้างโรงงานนำยาออกสู่ตลาด ลดสูญเสียทางเศรษฐกิจ ช่วยคนเข้าถึงยาราคาถูกลง 

    เมื่อเวลา 15.00  น. วันที่ 9 ส.ค. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เสด็จในพิธีลงพระนามและลงนามข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และองค์การเภสัชกรรม ณ ตำหนักจักรีบงกช จ.ปทุมธานี โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นสักขีพยานในพิธี 

       ศ.เกียรติคุณดร. คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฝ่ายวิจัยและวิชาการ กล่าวว่า เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีที่ ศาสตราจารย์ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้นเพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลต่อปัญหาสุขอนามัยของประชาชน ซึ่งขณะนี้มีอัตราในการตายจากโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านยาชีววัตถุซึ่งเป็นยาที่ทันสมัยและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบมุ่งเป้า แต่มีราคาสูงมากจนยากที่ประชาชนจะเข้าถึง เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางยาและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศจึงทรงริเริ่มโครงการพัฒนายาชีววัตถุขึ้นเพื่อประเทศไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นหน่วยงานแรกและแห่งเดียวของประเทศในขณะนี้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนายาชีววัตถุยาตัวแรกคือ ทราสทูซูแมบ “Trastuzumab” เป็นยาชีววัตถุคล้ายคลึงที่มีบทบาทสำคัญในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกที่ดำเนินการโดยนักวิจัยไทยในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำโดยไม่ต้องอาศัยการซื้อหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งจะสามารถนำไปศึกษาทางคลินิกเพื่อความปลอดภัยในคนได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทั้งงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเพียงพอรวมทั้งในเชิงนโยบายในการให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมมาตรฐานและความปลอดภัยของยาทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสถาบันเพื่อนำวิทยาการและเทคโนโลยีแบบใหม่ในด้านRegulatory science มาพัฒนาการประเมินความปลอดภัยในคนอย่างถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้หลักการทางสถิติและการแสดงออกในคนไข้เป็นหลักจะทำให้สามารถนำยาออกสู่การใช้ประโยชน์ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัย

     ศ.เกียรติคุณดร. คุณหญิงมธุรส กล่าวว่า สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานสนองพระปณิธานซึ่งมุ่งเน้นและสนับสนุนการพัฒนาประเทศเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทย ได้แก่ บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่งสนใจที่จะขยายธุรกิจไปยังธุรกิจยาโดยต่อยอดธุรกิจจากความชำนาญในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่มีอยู่และองค์การเภสัชกรรมซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์และการผลิตยาในสถานประกอบการที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา

    “ ทั้งสองรัฐวิสาหกิจพร้อมร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุที่มีคุณภาพมาตรฐานและมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามความต้องการทางการแพทย์ของประเทศในทุกกระบวนการและผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้นตลอดจนนำออกสู่การตลาดอย่างเต็มรูปแบบ “ ศ.เกียรติคุณดร. คุณหญิงมธุรสกล่าว 

    ศ.เกียรติคุณดร. คุณหญิงมธุรสกล่าวว่าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จะรับผิดชอบการดำเนินการวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุที่เป็นต้นแบบและยาชีววัตถุคล้ายคลึงประกอบด้วยการสร้างพัฒนาหรือจัดหาเซลล์ต้นแบบเพื่อใช้ในการผลิตชีววัตถุพัฒนากระบวนการผลิตจนถึงระดับอุตสาหกรรมตลอดจนค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้ในการผลิตและควบคุมคุณภาพการตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ส่วน ปตท. จะผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุจนสามารถนำออกสู่ประชาชนการดำเนินการเชิงพาณิชย์และการตลาดในต่างประเทศและใช้ความชำนาญทางวิศวกรรมและการบริหารโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนเพื่อสนับสนุนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรมจะประสานงานวิจัยทางคลินิกการขึ้นทะเบียนตำรับยาการผลิตระดับอุตสาหกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของระบบสาธารณสุขไทยและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์    ชีววัตถุทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นมิติใหม่ความมั่นคงทางยาของไทย

นพ.วิฑูรย์ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข (ซ้าย) และนายชาญศิลป์ตรีนุชกร    ประธานเจ้าหน้าที่

บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) (ขวา)

     นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า นักวิจัยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประสบความสำเร็จในการพัฒนายาชีววัตถุ เมื่อมีข่าวดีนี้องค์การเภสัชกรรมร่วมกับ ปตท. จะสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง ในอนาคตหากยาตัวนี้เกิดขึ้นมาจะทำให้คนไทยผลิตยารักษาโรคมะเร็งได้ด้วยตัวเอง100% ตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำนอกจากนี้คนไทยจะสามารถต่อยอดเทคโนโลยีนี้เพื่อพัฒนาผลิตยาตัวอื่นๆตามมาซึ่งเป็นตำรับยาของไทยและเราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยเป็นการผลิตระดับอุตสาหกรรม  ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีกับคนไทยเท่านั้นแต่เกิดประโยชน์กับมวลมนุษยชาติยาที่ผลิตได้นี้จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาของคนไทยและราคาไม่แพงองค์การเภสัชกรรมเชี่ยวชาญด้านการผลิตยาแต่มีจุดอ่อนด้านวิศวกรรมขณะที่ปตท.มีจุดแข็งด้านนี้จึงเป็นพันธมิตรกัน 

    “ ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้ายาจากต่างประเทศปีละกว่าหมื่นล้านบาทหากผลิตยาได้จะลดค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ50 แต่คุณภาพยาจะไม่ลดลงสำหรับยาชีววัตถุนี้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นไม่ใช่ยาเคมีแต่เป็นยาชีววัตถุต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง  พัฒนาจากเซลล์ซึ่งนักวิจัยไทยทำได้ยาชีววัตถุสร้างจากสิ่งมีชีวิตเช่นยาชีววัตถุคล้ายคลึงชนิดโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมชื่อทราสทูซูแมบจะออกฤทธิ์มุ่งเป้าเฉพาะจุดที่มีการเสื่อมสภาพถ้ายาเคมีที่รับประทานหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์ทั่วร่างกายการรักษาด้วยยาตัวนี้จะแม่นยำมากขึ้นการพัฒนานี้จะทำให้ประเทศไทยทัดเทียมสากล“ นพ.วิฑูรย์ 

    นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่าสำหรับการผลิตยาปกติใช้เวลา10 ปีแต่จากความร่วมมือครั้งนี้ตั้งเป้าจะสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จปี  2567   หลังจากนั้นจะทดสอบยานี้กับสัตว์และคนก่อนจะขึ้นทะเบียนตำรับยาและจำหน่ายเชิงพาณิชย์  เป็นขั้นตอนมาตรฐานการผลิตยา  ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวแรกนำไปสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดติดหนึ่งในห้าของประเทศไทย 

    “ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งที่พระองค์ได้ผลิตต้นน้ำมาให้เป็นนักวิจัยที่ทรงสร้างขึ้นมาเพราะสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มีนักวิจัยที่มีศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้มาสืบสานต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดคุณค่าที่แท้จริงต่อสังคมไทยขณะนี้ทีมนักวิจัยจาก3 หน่วยงานเข้าทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ก้าวสำคัญนี้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมส่วนพื้นที่ในการก่อสร้างโรงงานขณะนี้คณะกรรมการอยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมโปร่งใสและตอบคำถามสังคมได้  “  นพ.วิฑูรย์กล่าว 

    

     นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬากภรณ์​ ทรงเล็งเห็นศักยภาพของกลุ่มปตท.ที่จะสามารถนำความเชี่ยวชาญทางด้านเคมีวิศวกรรมและประสบการณ์การบริหารจัดการโรงงานขนาดใหญ่มาสนับสนุนกับองค์กรของรัฐโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นสถาบันวิจัยทางด้านยาชั้นนำของประเทศและของโลกความร่วมมือครั้งนี้จะเริ่มจากการนำสารตั้งต้นมาผลิตยาในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

     “ ในเรื่องของการผลิตยาพบว่าประชาชนคนไทยยังเข้าถึงยายากยาส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะยามะเร็งซึ่งมีราคาสูงและประชาชนระดับกลางถึงล่างยังเข้าไม่ถึงยาปตท.จึงร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่สามารถวิจัยต้นน้ำของยามะเร็งได้และร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมเพื่อสร้างโรงงานผลิตยามะเร็งเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศถ้าทำได้ดีก็สามารถจำหน่ายต่างประเทศได้ช่วยลดการนำเข้าได้เป็นอย่างดีครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการร่วมมือกันผลิตยามะเร็ง“นายชาญศิลป์ กล่าว

     นายชาญศิลป์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นสถาบันที่วิจัยสารตั้งต้นยามะเร็งในเชิงลึกองค์การเภสัชกรรมทำหน้าที่ในการผลิตยาส่วนปตท.มีหน้าที่ในการสร้างโรงงานโดยเข้ามาเติมเต็มเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆรวมถึงการบริหารจัดการ ขณะนี้กำลังสำรวจที่ตั้งโรงงานและรูปแบบของโรงงานโดยจะเป็นรูปเป็นร่างในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

   ภายหลังเสร็จพิธีลงพระนามศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารีทรงมีรับสั่งกับผู้เฝ้าฯรับเสด็จว่า " 30 ปีที่ก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เพื่อช่วยเหลือประชาชน รู้สึกดีใจที่ความพยายามจะนำไปสู่ความสำเร็จจะเป็นการนำยามาใช้ให้เป็นรูปธรรม คนไทยได้ใช้ยาในลักษณะที่เข้าถึงได้" 
 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"