มหาวิทยาลัยจับมือสถาบันพระปกเกล้าพัฒนาระบบบริหารจัดการ"เมืองอัจฉริยะ"


เพิ่มเพื่อน    

       

กลุ่มมหาวิทยาลัย ทำความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าผ่านทปอ. พัฒนาระบบบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ นำร่องก่อนที่ นครนนทบุรี  เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และเทศบาลเมืองลําพูน มีกล้องตรวจจับความเร็วรถ วัดสภาพจราจร มลพิษทาง

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนในฐานะผู้แทน ทปอ. ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ โครงการพัฒนาและร่วมทดสอบระบบบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า ภายในงาน “University Expo มหกรรมอุดมศึกษา : อุดมศึกษา – พลังขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0” ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการยกระดับการบริหารจัดเมือง ทั้งในด้านขององค์ความรู้ ที่จะมีเครือข่ายอุดมศึกษาในการเข้าไปช่วยการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในแต่ละพื้นที่ต่างมีศักยภาพ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้ท้องถิ่น รวมถึงด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วย เช่น กล้องตรวจจับความเร็วรถยนต์ การวัดสภาพการจราจร การวัดสภาพอากาศ เป็นต้น ซึ่งเมื่อในพื้นที่ต่างๆ มีเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยก็จะสามารถทำให้การบริหารจัดเมืองทำได้ง่ายขึ้น แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองได้อย่างแม่นยำและตรงจุด

“วันนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการพัฒนาเมืองของประเทศไทย และสำหรับในส่วนของ สจล. จะร่วมมือกับเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และเทศบาลเมืองลําพูน อย่างไรก็ตาม หากท้องถิ่นใดมีความต้องการที่จะเข้าร่วมในโครงการนี้ ทปอ. ยินดีที่จะช่วยในทุกภูมิภาค โดยให้ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและประสานความร่วมมือต่างๆ ”ประธาน ทปอ.กล่าว

ด้านนายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า สถาบันพระปกเกล้าถือเป็นจุดเชื่อมขององค์กรท้องถิ่นจำนวนมากและเราตั้งใจที่จะสร้างสิ่งที่ดีให้แก่ประชาชน ดังนั้นการเริ่มต้นของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ ไม่ใช่การที่เราจะไปซื้อเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่จะมีการให้องค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างการกำหนดความต้องการให้เป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด วางเป้าหมายในต่างละด้าน แล้วจึงนำเทคโนโลยีเข้ามาเติมเต็มในการบริหารจัดการดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ ของ สจล. และเครือข่ายมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะช่วยขยายความคิด คำแนะนำ และการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยโครงการนี้จะต้องมีการขยายไปในให้มาจังหวัดต่างๆ มาเข้าร่วมอย่างแน่นอน เพื่อตอบโจทย์รัฐบาลที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเข้าถึง ช่วยเหลือสังคมและท้องถิ่น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"