วิถีสวนฝั่งธนฯใกล้สูญพันธุ์เหตุมีถนนผ่ากลาง20ปีหลังเปลี่ยนเร็วสุด


เพิ่มเพื่อน    

นักวิชาการพบวิถีสวนฝั่งธนฯ ใกล้สูญพันธุ์  พบ20ปีหลัง มีถนนผ่ากลางทั้งถนนราชพฤกษ์ ถนนพรานนก พุทธมณฑล  ส่งผลชุมชนเกษตรกรรมล่มสลาย คูคลองน้ำเน่าเสีย ผลิตผลการเกษตรตกต่ำ ชาวบ้านขายที่ดิน ทิ้งเรือ เหลือไว้แค่ตลาดน้ำไว้ดูต่างหน้า ประวิงเวลา ทางรอดลูกชาวสวนปรับตัว ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

จากสัมมนา "ธนบุรีในวัฏจักรการเปลี่ยนแปลง : มองผ่านชีวิตคนและชุมชน" ในโอกาสฉลองกรุงธนบุรีครบรอบ 250 ปี ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เมื่อเร็วๆนี้ น.ส.วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์ อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยพื้นที่ทางกายภาพโดยรอบกรุงธนบุรี ในช่วง20ปีที่ผ่านมา พบว่า บ้านสวนริมคลองบางเชือกหนังและพื้นที่ตลิ่งชันเผชิญการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาเมืองที่มีผลทำให้ชุมชนบางแห่งได้รับผลกระทบ ทั้งจากการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนสายสำคัญ เช่น ถนนราชพฤกษ์ และถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย4 รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟฟ้ามายังฝั่งธนบุรี ส่งผลให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่สวนในย่านฝั่งธนฯ ถูกกว้านซื้อนำมาทำเป็นหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมมากขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนริมคลองบางเชือกหนังมากขึ้นที่ไม่สามารถใช้น้ำทำเกษตรได้เหมือนอดีต น้ำในคลองเน่าเสียและมีสีเขียวคล้ำ ผลร้ายทำให้ผลผลิตทางเกษตรคุณภาพต่ำลง ชาวสวนขายที่ดิน ย้ายไปหาแหล่งเพาะปลูกใหม่ การเดินทางทางน้ำซบเซา เรือหางยาวรับส่งผู้โดยสารน้อยลง พ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารสดอาหารแห้ง ซึ่งเหมือนเรือซุปเปอร์มาร์เก็ตปัจจุบันไม่มีแล้ว ทิ้งเรือ ขายเรือ จอดเรือไว้ในอู่ ขึ้นบกไปขายของในย่านการค้าที่คนอยู่หนาแน่น 

"สวนฝั่งธนฯ หายไปแน่ๆ ไม่มีคนสืบทอด การพัฒนาขยายเมืองให้ใหญ่ขึ้นทำลายความเป็นชุมชน นโยบายรัฐและกทม.ไม่สนับสนุนการฟื้นฟูสวนกลับมา ส่วนการโปรโมทท่องเที่ยวชูตลาดน้ำ ล่องเรือชมสวน ขายความเป็นพื้นถิ่น เพียงแค่ประวิงเวลาเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันยังเหลือร่องรอยสวนกลางหมู่บ้านอยู่ แต่ชาวสวนรุ่นใหม่ต้องปรับตัวใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ลดต้นทุนการผลิต ที่จะการทำสวนในพื้นที่ธนบุรีอยู่ต่อไปได้" นางสาววราภรณ์ กล่าว

ด้านนายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(ศมส.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า การศึกษาของนักวิชาการทำให้ศมส. พบถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ธนบุรี คือ ระบบการคมนาคม ซึ่งการพัฒนาเมืองเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้การพัฒนาเมือง ไม่กระทบต่อวิถีชุมชน วัฒนธรรม รวมทั้งจะทำอย่างไรไม่ให้คนดั้งเดิมทิ้งถิ่น ทิ้งบ้านเรืองที่เป็นเอกลักษณ์จนไม่เหลือรากให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษา โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อย่างเช่นเมืองนนท์ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่พัฒนาเมืองจนกระทั่งเอกลักษณ์ของสวนเมืองนนท์หายไป ส่งผลให้ทุเรียนนนท์ ที่เป็นพื้นเศรษฐกิจใกล้สูญหายตามไปด้วย เป็นต้น ที่จะส่งผลให้วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป จนไม่เหลือเค้าเดิม ซึ่งศมส.จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลวิจัยของนักวิชาการในเครือข่าย เก็บเป็นฐานข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆได้ใช้ศึกษา และใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเมือง ที่สำคัญศมส.จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และชุมชน สร้างการตระหนักรู้ถึงการรักษาวิถีวัฒนธรรมที่ดีในชุมชน หรือเอกลักษณ์ชุมชนไว้ ก่อนที่รากเหง้าด้านมานุษยวิทยาจะไม่เหลือให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"