"กายฟิต-จิตดี-มีออม" ต้องร่วมมือทุกภาคส่วน


เพิ่มเพื่อน    

     “มูลนิธิไฟเซอร์-คีนัน ร่วมแถลงสรุปผลการดำเนินโครงการ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข ครบ 3 ปีสิ้นสุดโครงการที่จัดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมประชากรวัย 45+ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิตเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลา 3 ปี พบว่า ทั้งในกลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพฯ และอุบลฯ มี กายฟิต-จิตดี เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90 พฤติกรรมและภาวะเสี่ยงต่อโรค NCDs ลดลง อีกทั้งเกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ในชุมชน กว่า 40 คน ต่อยอดสู่ 27 โครงการขนาดย่อมเพื่อพัฒนาชุมชน พร้อมผลักดันภาครัฐหรือผู้กำหนดนโยบายด้านผู้สูงวัยระดับประเทศเร่งเครื่องในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยคุณภาพอย่างยั่งยืนเทียบเท่านานาประเทศ

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ (ซ้าย), ดร.นพ.นิรุตติ์ ประดับญาติ (ขวา)

     ดร.นพ.นิรุตติ์ ประดับญาติ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย (Pfizer Thailand Foundation) และ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (Kenan Foundation Asia) เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาสังคมไทยไปสู่สังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ จึงได้ร่วมกันพัฒนาโครงการ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข (Pfizer Healthy Aging Society) โดยมีเป้าหมายหลักคือ การสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับประชากรวัยก่อนสูงอายุและวัยสูงอายุ เพื่อนำไปสู่สังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ ภายใต้แนวคิด กายฟิต จิตดี มีออม ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (พ.ศ.2559-2562) ในพื้นที่เป้าหมายคือ กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตย และเขตบางขุนเทียน) และอุบลราชธานี (อำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ) โดยเป็นการทำงานที่เชื่อมโยงทั้งระดับประเทศและชุมชน มีการคัดเลือกผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-59 ปี (pre-seniors) ใน 4 กลุ่มหลัก คือ อาสาสมัครสาธารณสุข, ครู, บุคลากรสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับท้องถิ่น

     เข้าร่วมภารกิจหลักของโครงการคือ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้าง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ที่ได้รับความรู้และทักษะจำเป็นเกี่ยวข้องกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความมั่นคงทางการเงิน ผ่านการอบรมและกิจกรรมภายใต้หัวข้อต่างๆ ได้แก่ โรคติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) โภชนาการ (Nutrition) สุขภาพจิต (Mental Health) ความตระหนักรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) การจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อผู้สูงอายุ สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ชุมชน เป็นต้น ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นผลผลิตด้านบุคลากรที่สำคัญกว่า 41 คน ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์โครงการที่ช่วยพัฒนาชุมชนของตนเองถึง 27 โครงการ และจะนำเอาองค์ความรู้ไปพัฒนากลุ่มหรือชุมชนของตนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

     ส่วน ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า ภาพรวมการดำเนินงานโครงการ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข มุ่งหมายสร้าง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะมีพฤติกรรมเชิงบวกด้านสุขภาพ การเงิน และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนที่ตนอยู่ร่วม ด้วยความคาดหวังหลัก 3 ประการด้วยกันคือ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการตระหนักรู้ทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ (2) เพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิดทัศนคติที่ดี สร้างพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวก ที่มีส่วนช่วยลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มก่อนสูงอายุและผู้สูงวัย และ (3) เพื่อสร้างแบบปฏิบัติที่ดีในการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย ที่มีความยั่งยืนและปรับใช้ในบริบทสังคมไทยได้ โดยมีการดำเนินงานใน 4 องค์ประกอบหลัก คือ การสร้างความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders Engagement) การพัฒนาศักยภาพ (Strengthening Capacity) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Promotional Campaign) และการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation)

     โดยพบผลลัพธ์ว่า กายฟิต - ผู้เข้าร่วมโครงการมากกกว่าร้อยละ 90 มีความรู้ (Knowledge) เรื่องการออกกำลังกายว่าต้องทำต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที มีความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ ความดันโลหิตสูง มีทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม (Practice) เช่น กว่าร้อยละ 86 มีการตรวจร่างกายประจำปี กว่าร้อยละ 80 ออกกำลังกายแบบง่าย อาทิ เดินแกว่งแขน ทำงานบ้าน อัตราการบริโภคอาหารติดมันและเครื่องในสัตว์ และอาหารรสหวานลดลง จิตดี - ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ดีเป็นพื้นฐาน และจากการประเมินด้วย TMHI-15 พบว่า กว่าร้อยละ 60 มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ไม่มีภาวะซึมเศร้า และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี

     มีออม - ผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ด้านการออมเงินผ่านธนาคาร การประกันภัย การประกันชีวิต รวมถึงมีทัศนคติที่ดีหรือเห็นด้วยว่าการวางแผนการใช้เงิน การวางแผนการเงินเพื่อดูแลสุขภาพ การทำบัญชีรายเดือนนั้นมีความจำเป็น โดยร้อยละ 60-75 มีทัศนคติที่ดีที่ต้องการการจัดทำบัญชีใช้จ่าย บัญชีครัวเรือน แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ 10-20 ที่สามารถทำได้จริง ร้อยละ 35-50 มีการวางแผนทางการเงินล่วงหน้าทุกเดือน มีการวางแผนการออมเพื่อการเกษียณร้อยละ 49 ในขณะที่ยังมีสูงถึงร้อยละ 25 ที่ยังไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ และยังพบว่ามีภาวะหนี้สินถึงร้อยละ 61 โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้ระยะเวลาในสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการวางแผนการเงินที่ดีเพิ่มขึ้นในชุมชนของตนเอง ส่วนในด้านอื่นๆ พบว่า กว่าร้อยละ 60 มีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ผู้สูงอายุที่ปัจจุบันมีมากกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนประชากร ซึ่งกว่าร้อยละ 75 มองว่าผู้สูงอายุไม่ได้เป็นภาระ สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ มากกว่าร้อยละ 90 ที่เชื่อมั่นว่าสามารถเสียสละเวลาและแรงงานเพื่อร่วมกิจกรรมในชุมชน และสามารถสื่อสารเพื่อรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนได้ เป็นต้น

(สุภาพร มหาพลตระกูล)

     ด้าน สุภาพร มหาพลตระกูล ผู้จัดการโครงการไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ได้ผลในระยะเวลา 3 ปี คือ 1.การคัดเลือกคนที่มีจิตอาสา ตั้งแต่เรื่องของการออมเงิน การทำเพื่อส่วนรวม กระทั่งเมื่ออบรมได้รับความรู้แล้ว กลุ่มของผู้นำเหล่านี้ก็อยากที่จะส่งต่อความรู้ต่างๆ ในการดูแลสุขภาพไปสู่ผู้อื่น 2.ได้รับความร่วมมือจากกว่า 40 องค์กรในการทำงานร่วมกัน 3.โครงการนี้ได้สร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นว่า เราต้องออกมารณรงค์เพื่อสุขภาพทุกมิติ นั่นจึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ และทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเห็นคุณค่าในตัวเอง จึงนำไปสู่การความสำเร็จในโครงการที่จัดขึ้นนี้

     ส่วนแนวโน้มของการจัดกิจกรรม กายฟิต จิตดี มีออม ต่อเนื่อง หรือร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในจัดทำโครงการเพื่อผู้สูงอายุนั้น อันที่จริงแล้วมีโอกาสที่จะทำต่อ แต่ทั้งนี้อาจต้องมีการเข้าพบและเจรจากับองค์กรอื่นที่สนใจเป็นรายบุคคล เนื่องจากแต่ละองค์กรมีข้อจำกัดอยู่ เหมือนกับคีนันที่เรามีข้อจำกัด ต่อจากนี้ไปเราเน้นการสร้างเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายให้ชัดเจน ซึ่งเรามีกิจกรรมในลักษณะนี้อยู่แล้ว ปีที่แล้วเราจัดโครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุช่วงเดือน พ.ย. เรามีคนร่วมงาน 400 คน แต่ปีนี้เราจัดอีก แต่คีนันจะจัดอีกครั้งประมาณหนึ่ง ประมาณเดือนมกราคมปีหน้า เพราะปีงบประมาณของเราเริ่มที่ตุลาคม และปีถัดไปกิจกรรมที่จัดอยู่ในช่วงต้นปีพอดี ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับเอจจิ้งโซไซตี้เช่นกันค่ะ

     ส่วนโครงการย่อยอย่างโครงการ กายฟิต จิตดี มีออม นั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้จัดจะทำโครงการต่อยอดร่วมกับใคร ยกตัวอย่างว่า บริษัทประกันชีวิต ที่ต้องการวางแผนการออมและดูแลสุขภาพให้คนชั้นกลาง อาจเข้ามาต่อยอดกิจกรรมนี้ ซึ่งทางคีนันจะทำงานในส่วนของการเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรม ประเมินผล ติดตาม มีรายงานให้ แต่รูปแบบของกิจกรรมที่จัดขึ้นจะแตกต่างออกไป โดยใช้ดิจิตอลเข้ามามีส่วนในการให้ความรู้และดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมากขึ้น เป็นต้น

(ศรีรัตน์ นาผลงาม)

     ปิดท้ายกันที่ ศรีรัตน์ นาผลงาม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เขตคลองเตย บอกว่า กิจกรรมที่ทำในฐานะผู้เข้าร่วมโครงการ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข นั้น คือการสอนเด็กให้นวดเท้าให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นท่านวดง่ายๆ ที่เด็กสามารถทำให้กับผู้ใหญ่ได้ ซึ่งคน 2 วัยนี้ต่างกันทั้งอายุและมักจะไม่ค่อยได้พูดคุยกัน ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันระหว่างเด็กและผู้สูงอายุ และเด็กที่มาทำกิจกรรมกับเรานั้น เป็นเด็กตั้งแต่อายุ 8-10 ขวบ หลังจากโครงการนี้สิ้นสุดแล้ว แต่พี่จะต่อยอดกิจกรรมนี้โดยที่การสอนเด็กให้นวดผู้สูงอายุก็ยังคงอยู่ และพี่ก็จะสอนหนังสือให้เด็กๆ ที่มาทำกิจกรรมกับพี่ เช่น การสอนเด็กอ่านหนังสือ เพราะเด็กชุมชนคลองเตยอยู่ ป.5 บางคนอ่านหนังสือไม่ออก สอนทำการบ้านเพราะผู้ปกครองของเด็กจะไม่ค่อยมีเวลา และตอนนี้พี่มีน้องๆ จิตอาสาที่มาช่วยสอนหนังสือให้น้องๆ อยู่ 10 คน พี่รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ร่วมโครงการ ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข เพราะเท่ากับว่าเราได้ทำบุญ โดยการช่วยเหลือคนในชุมชนต่อไป และเมื่อทำแล้วก็เห็นผล จากการที่เด็กๆ อ่านออก เขียนได้ และมีอาหารที่ดีรับประทาน”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"