นักวิชาการเชื่อพรรคนิติราษฎร์เกิดยากสนามเลือกตั้งจะอาศัยมุมกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้


เพิ่มเพื่อน    

4 มี.ค.61- นายยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า บรรดาพรรคการเมืองที่เดินทางไปจดทะเบียนนั้น หากแบ่งจากโครงสร้างพรรคแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1. พรรคที่ตั้งใหม่โดยมีสายสัมพันธ์กับพรรคหรือกลุ่มการเมืองเดิม คล้ายกับพรรคสาขาลูก 2.พรรคการเมืองที่ตั้งใหม่เลย โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายใด อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองทั้ง 2 ลักษณะ อาจไม่ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งสนามใหญ่มากนัก เพราะจากพรรคเหล่านี้ไม่มีอะไรมาการันตีคะแนนเสียง เช่นเดียวกับพรรคการเมืองใหญ่ที่มีมีมาอย่างยาวนาน เพราะในสนามแข่งขัน จะอาศัยเพียงมุมของกฎหมายมาใช้ คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องมีบริบทอื่นๆประกอบ ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการเปิดพื้นที่สาธารณะเพิ่มรับฟังความเห็นของประชาชน ซึ่งพรรคเหล่านี้เต็มที่แล้ว คงเป็นได้เพียงพรรคการเมืองขนาดกลางเท่านั้น
    สำหรับแนวทางเบื้องต้นสำหรับการสร้างพรรคการเมืองแบบใหม่ ที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอนั้น ถือว่ามีความน่าสนใจ และจะช่วยดึงบรรดาคนรุ่นใหม่ที่ยังคงติดภาพการเมืองไทยแบบเดิมๆ หรือไม่ให้ความสนใจ หันมาสนใจและทำความเข้าใจการเมือง ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะไม่เป็นไปตามที่คิด ซึ่งจะส่งผลดีต่อไปในระยะยาว  อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปนั้น น่าจะเป็นไปในลักษณะเดิม หากมีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมก็คงไม่ถึงร้อยละ 30 เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นในตัวผู้แทนฯในพื้นที่เช่นเดิม.  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"