อว. พร้อมปลดล็อกปัญหาช่วยม.เอกชนผลักดันเป็นต้นแบบด้านการทำงาน


เพิ่มเพื่อน    


1 ส.ค.62-  นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวภายหลังการหารือกับร่วมกับสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ตอนหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยเอกชนมีจุดเด่นในเรื่องการรับนักศึกษา นักศึกต่างชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนมีนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาถึงร้อยละ 59 มากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ถือว่ามีศักยภาพในการช่วยการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตาม ตนได้ขอให้มหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมดกลับไปทบทวนบทบาทของตนเอง พร้อมทั้งจัดว่าแต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มใดของประเทศ คือ มหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก มหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ชุมชนและพื้นที่ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาให้ตรงจุด 

ในเบื้องต้นมองว่า มหาวิทยาลัยเอกชน มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบ 3 ด้าน คือ ด้านการทำงานการศึกษาต่างประเทศ ทั้งการดึงนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียน และการรุกออกไปสอนที่ต่างประเทศ โดยเรื่องนี้ตนจะประสานกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในการช่วยผลักดัน ด้านการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเข้าไปยกระดับวิสาหกิจขนาดย่อม (SME) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ อว. ในการนำองค์ความรู้เข้าไปยกระดับชุมชน และเพื่อให้ทำได้ในวงกว้าง อว. และด้านการเป็นต้นแบบในการควบรวมหลักสูตรการเรียนข้ามมหาวิทยาลัย และการเรียนออนไลน์ เพราะมหาวิทยาลัยเอกชนมีความคล่องตัวในการปรับหลักสูตรสามารถยุบหลักสูตรที่ซ้ำซ้อน รวมถึงให้ไปดูเรื่องการเปิดหลักสูตรระยะสั้น ให้คนทุกช่วงวัย เข้ามาเรียนพัฒนาตัวเอง เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“สิ่งที่มหาวิทยาลัยเอกชน ขอให้แก้ปัญหาคือทบทวนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2562 ที่เพิ่งประกาศ ใช้ แต่ไม่ได้แก้ในประเด็นสำคัญ ที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยมีความคล่องตัว รวมทั้งจะไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เกี่ยวกับระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ซึ่งมี 5 รอบ มากเกินไป ทำให้มหาวิทยาลัยเอกชนรับเด็กได้น้อย ผมรับจะไปพูดคุยกับทปอ. แต่ก็อยากให้มหาวิทยาลัยเน้นพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเลือกมาเรียน ด้วยคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอง”รมว.อว.กล่าว

ด้านนายพรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเอกชน ได้เสนอ 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.อยากให้มีการตั้ง Business industry university หรือมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งจะมีรูปแบบทำงานการร่วมกันในการพัฒนาบุคลากร วิจัย ให้แก่ภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจSME ซึ่งที่ผ่านมายังมีอีกหลายเรื่องยังไม่ได้รับการพัฒนา 2.เรื่องการพัฒนาอุดมศึกษานานาชาติ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเอกชนมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนจำนวนมาก อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศ 1 ใน3 ของโลกที่น่าเรียน 
    
ดังนั้น อยากให้ อว.เป็นหัวหอกประสานงานกับส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ม.เอกชนบริการทางการศึกษากับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นรูปธรรม 3.ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนได้ทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะต่างคนต่างทำ และอยู่เบื่องหลัง ดังนั้น จึงอยากให้มีการนำความสามารถของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีศักยภาพมาร่วมเข้าด้วยกัน 4.อยากให้ อว.ช่วยลงทุนทรัพยากรด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้ เช่น อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่าง เพื่อที่จะช่วยให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยใหญ่และเล็กสามารถเข้าถึงฐานเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง 

และที่สำคัญในอนาคตจะได้สร้างการเรียนรู้แบบออนไลน์ต่างๆ ได้ด้วย เช่น โมบายเลินนิ่ง และ 5.อยากให้ อว.แก้กฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนาหลักสูตร เนื่องจากติดกับกฎระเบียบ ไม่มีความคล่องตัว อย่างไรก็ตาม ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ รมว.อว.เข้าใจ และเห็นว่าม.เอกชนเป็นพาสเนอร์ในการพัฒนาการศึกษา ยกระดับงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรม โดยจะไปหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"