'มาดามโอ๊ะ' ลงพื้นที่ ร.ร.เอกชน หารือปัญหา พร้อมตั้ง คณะทำงานแก้ไข


เพิ่มเพื่อน    

1 ส.ค.62-  ที่โรงเรียนลาซาน  นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบริการจัดการโรงเรียนเอกชนพร้อมทั้งได้ประชุมหารือถึงการแก้ไขปัญหาโรงเรียนเอกชนในประเด็นต่างๆ และกล่าวภายหลังการประชุมตอนหนึ่งว่า โรงเรียนเอกชนหลายแห่งประสบปัญหาทั้งเรื่องสิทธิของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับสิทธิ  วิทยฐานะ สวัสดิการต่างๆ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ขอให้ใกล้เคียงกับหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของครู อีกทั้งยังมีการหารือในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 จะมีการเริ่มการจัดเก็บภาษี ตามพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 (12)  ที่ไม่ได้ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้สถานศึกษาเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งตนก็รับเรื่องทั้งหมดที่มีการสะท้อนมาและจะสรุปประมวลผลข้อมูลการศึกษาเอกชนทั้งหมด เพื่อตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการศึกษาเอกชน โดยมีนายพะโยม ชิณวงศ์ คณะทำงานตน เป็นประธาน

“เราตั้งใจที่จะสร้างความมั่นคงให้แก่ครูเอกชนให้ได้รับสิทธิต่างๆเท่าเทียมกับครูของภาครัฐ เพื่อที่จะให้ครูเอกชนไม่ต้องไปสอบครูผู้ช่วย โรงเรียนเอกชนจะได้ไม่ขาดครู และเติมเต็มการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียยวกันยังได้วางแนวทางแก้ปัญหาวิกฤตโรงเรียนเอกชนทยอยปิดกิจการลงด้วย”รมช.ศธ. กล่าว

วันเดียวกันนางกนกวรรณ ยังได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ พร้อมทั้งกล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยม ว่า ตนต้องการมารับฟังปัญหานักเรียนนักศึกษาทะเลาะวิวาท เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเมื่อมีการก่อเหตแต่ละครั้งจะมีผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ดังนั้นตนจึงต้องการร่วมมือเพื่อหาทางออกการแก้ปัญหาร่วมกันทั้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้บริหารวิทยาลัย ครู และผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ซึ่งเท่าที่รับทราบข้อมูลพบว่า ศธ.มีมาตรการบทลงโทษในเรื่องนี้ขั้นสูงสุด คือ การปิดสถาบันการศึกษา แต่ตนไม่ได้ต้องการให้มีการดำเนินการถึงขั้นนั้น ซึ่งเราต้องให้ความเป็นธรรมกับนักศึกษาคนอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในจุดนี้ด้วย ทั้งนี้ในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่เราจะเพิ่มบทลงโทษที่เข้มมากขึ้นในกระบวนการทางกฎหมายกับเด็กและเยาวชนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท แต่ในตอนนี้ที่ตนจะดำเนินการได้ทันทีและทำอย่างเร่งด่วน คือ การเพิ่มนักจิตวิทยาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือการแนะแนวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก รวมถึงจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาทุกแห่งสร้างกิจกรรมปลุกจิตสำนึกระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องที่ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในกลุ่มเด็กอาชีวศึกษา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมได้มีนางสุภารัตน์ แสงอรุณ ผู้ปกครองนายกมลฉัตร แสงอรุณ หรือน้องเก้า นักเรียนโรงเรียนปทุมคงคา ที่ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดบนรถเมล์สาย 180 ระหว่างเดินทางกลับบ้านจากนักศึกษาอาชีวะ เรื่อง ร้องขอความเป็นธรรมและขอให้มีมาตรการกับการใช้ความรุนแรง โดยนางสุภารัตน์ กล่าวว่า ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมาตรการหรือบทลงโทษให้วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ เกิดความเกรงกลัวต่อความผิด เพื่อจะเป็นประโยชน์มากมายต่อสังคม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"