1 ส.ค. 2562 นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า จากผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าที่ยืดเยื้อระหว่างสหรัฐฯ-จีน ทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยในห่วงโซ่การผลิตและพึ่งพาตลาดจีนสูงหดตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ส่งผลให้ ธสน. ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของภาคส่งออกไทยในปี 2562 ลงเหลือ 0.2% โดยในช่วงครึ่งปีแรก ภาคการส่งออกขยายตัวได้เพียง 2.9% เท่านั้น
นอกจากนี้ สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบในระดับหนึ่งกับผู้ประกอบการในภาคการส่งออกของไทย โดยที่ผ่านมา ธสน. ได้ทำการอบรมให้ความรู้ และเสริมเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเชื่อว่าในระยะต่อไปภาพรวมการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ภาพรวมผลการดำเนินงานของ ธสน. ในช่วงครึ่งแรก มีกำไรสุทธิ 523 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2562 อยู่ที่ 4.26% คิดเป็นวงเงิน 4.56 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปีมี NPL อยู่ที่ 3.78% เนื่องจากผู้ประกอบการรายเดิม ๆ ยังไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ และหลายผู้ประกอบการไม่ใช้เครื่องมือในการป้องกันและบริหารความเสี่ยง อีกทั้งมีการผิดนัดชำระของลูกค้า ทำให้ออเดอร์สินค้าที่ผลิตมาแล้วสะดุด กลายเป็นปัญหากับผู้ประกอบการ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ธนาคารมีการจ่ายเคลมประกันลูกค้าที่ทำประกันส่งออกไว้มากกว่า 2 เท่าของปีที่ผ่านมา
“ยอมรับว่าปีนี้กำไรอาจไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ส่วนภาพรวมสินเชื่อของปีนี้เชื่อว่ายังเติบโตได้ แต่อาจจะไม่สูงเหมือนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ภาคการส่งออกของไทยในปีนี้เติบโตได้ไม่ดีนัก” นายพิศิษฐ์ กล่าว
นายพิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า ธนาคารมีสินเชื่อคงค้างทั้งหมด อยู่ที่ 1.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.10% หรือ 1.07 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ 9.47 หมื่นล้านบาท โดยเป็นปริมาณธุรกิจเอสเอ็มอี 5.29 หมื่นล้านบาท และมีผู้ส่งออกเอสเอ็มอีเข้าถึงบริการของธนาคารเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วน 12.48% ของผู้ส่งออกเอสเอ็มอีทั้งหมด และในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ธสน. มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุน อยู่ที่ 5.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.15 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปริมาณธุรกิจเอสเอ็มอี 1.14 หมื่นล้านบาท หรือ 21.56% ของปริมาณธุรกิจสะสม และมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.31 พันล้านบาท โดยเป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำนวน 6.16 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 162.58%
สำหรับภาพรวมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ยังต้องจับตาผลกระทบจากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อุปสงค์ประเทศคู่ค้าชะลอตัว เงินบาทแข็งค่า โดยกลุ่มสินค้าที่จะช่วยพยุงการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง ส่วนกลุ่มที่จะได้รับอานิสงส์จากปัญหาสงครามการค้า ได้แก่ สินค้าที่ไทยผลิตเหมือน/ทดแทนสินค้าจีน เช่น ยางล้อ ของเล่น เครื่องนุ่มห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มสินค้าที่หนี้จากตลาดจีนไปตลาดหลบภัย ได้แก่ การส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบไปอินเดีย การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าไปเม็กซิโก ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดใหม่ ๆ เช่น การส่งออกรถยนต์ไปอินเดีย และ CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา, เวียดนาม) ขณะที่การส่งออกบริการยังขยายตัวได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การก่อสร้าง โลจิสติกส์ และธุรกิจนันทนาการ
อย่างไรก็ดี มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจและการส่งออกในปี 2563 จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากความมั่นใจดีที่ขึ้นของนักลงทุน ภายหลังมีรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการมากขึ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |