สสส.จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ วิทยากรในหัวข้อ: “เติบโตกับงาน เบิกบานกับชีวิต” ที่เมืองทองธานี สังคมควรให้ความสำคัญเปิดเวทีถกเถียงกันด้วยเรื่องประชากรกลุ่มเปราะบาง ไม่ต้องรอให้ครบ 2 ปี เพื่อสร้างกำลังใจให้กัน เบื้องหลังความยากลำบากที่สังคมไม่เหลียวแลหรือใส่ใจ ปัญหาโครงสร้างความไม่เป็นธรรม ทำโดยลำพังไม่ได้ ต้องประคับประคองในการแก้ไขปัญหา ชุมชนเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเสียงคนเหล่านี้ไม่ถูกบอกกล่าวถ่ายทอดออกไป ส่งเสริมจินตนาการไม่รู้จบ กล้าที่จะฝันให้สู่จุดหมายปลายทาง หยิบยกชีวิตของฮิวจ์ นักไต่เขาติดอันดับโลก มีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น แม้ประสบปัญหาถึงต้องตัดแขนขาแต่ก็คิดค้นกายอุปกรณ์ชั้นเลิศจนครองแชมป์ นักไต่เขาที่มีร่างกายสมบูรณ์ทุกประการประท้วงที่มีตัวช่วย
สสส.ได้สนับสนุนและดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรมทางสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขอเสนอและกลไก เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน:ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the Voiceless:the vulnerable populations” จึงเป็นการเปิดพื้นที่ในการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการทำงานขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะระหว่างภาคีเครือข่ายต่างๆ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนสังคมที่ทุกคนมีความสำคัญ ไม่ถูกกีดกัน ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และไม่ถูกแบ่งแยกออกไป (Inclusive society)
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ วิทยากรในหัวข้อ: “เติบโตกับงาน เบิกบานกับชีวิต” เวทีนี้มีคนแปลกๆ แตกต่างหลากหลายมารวมกันมากที่สุด เป็นกลุ่มเปราะบาง เราควรมาพบกันบ่อยครั้งไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 2 ปี เพื่อสร้างกำลังใจให้กัน งานนี้เป็นงานที่ทำด้วยความยากลำบาก เพราะคนกลุ่มนี้สังคมไม่ค่อยเหลียวแลหรือใส่ใจ เพราะปัญหาโครงสร้างความไม่เป็นธรรม เราต้องประคับประคองในการแก้ไขปัญหาซึ่งทำโดยลำพังไม่ได้ น้องๆ พยาบาลที่ทำงานใน อ.ฝาง ขอนแก่น ดูแลคนเปราะบางผู้พิการกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเกิดจากสาเหตุมากมายในชุมชนแห่งนี้มีผู้ป่วยจิตเวชที่ยากจนมากๆ ไม่มีที่ทำกิน ฝนแล้งต้องไปตัดอ้อยที่เมืองกาญจน์ เฒ่าแก่เอายาบ้าให้ดื่มต่อเนื่องหลายปีร่างกายทรุดโทรม มารักษาตัวที่ อ.ฝาง มีปัญหาการเข้าไม่ถึงยารักษา ก็ต้องช่วยกันให้ยาสม่ำเสมอ ทำต่อเนื่อง 1 ปี คนไข้มีอาการดีขึ้นทุกคน ผู้ป่วยบอกว่าหมอดูแลจนผู้ป่วยหายแล้ว บอกให้ชาวบ้านเลิกเรียกผีบ้าซะที เป็นการตีตราซ้ำเติม เพราะตอนนี้คนไข้หายป่วยแล้ว ต้องการกลับไปทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ชุมชนเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเสียงคนเหล่านี้ไม่ถูกบอกกล่าวถ่ายทอดออกไป โครงการ Reflex project ถูกขังในเรือนจำ มีการพูดคุยกับเพื่อนในเรือนจำว่าเจออะไรมาบ้าง ผู้คนที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำมีเรื่องราวหลากหลายเล่าสู่กันฟัง หลายคนไม่เคยคิดว่าจะต้องรับชะตากรรมติดคุกตลอดชีวิต มีโครงการให้นักโทษเขียนจดหมายระบายความรู้สึกเมื่อครั้งที่ยังเป็นหนุ่ม ชีวิตมีค่ามากกว่าการติดคุกเหมือนผม ช่างภาพถ่ายภาพนำมาภาพเหล่านั้นมา print จัดนิทรรศการภาพถ่าย New England มีชื่อเสียงมาก ผู้คนเข้าไปอ่านเรื่องราวที่มีการบันทึกในชีวิตก็รับรู้ได้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความผิดพลาดในชีวิต โลกไม่เหลือทางเลือกมากนัก เสียงคนเหล่านี้เป็นเสียงที่คนอื่นไม่ค่อยได้ยิน ทั้งๆ ที่เปล่งออกไปจนสุดเสียงแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นเราทำงานกับกลุ่มประชากรเฉพาะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง งานที่เราทำกับกลุ่มเปราะบาง กลุ่มด้อยโอกาสในสังคม มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีจินตนาการ ได้เห็นสิ่งที่มีโอกาส เราต้องช่วยกันหล่อเลี้ยงจินตนาการให้เข้มแข็ง เป็นรากฐานงอกงามในอนาคต
เรื่องของจินตนาการ 1.Empatthic Imagination ความสามารถในการจินตนาการให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจ ความต้องการความทุกข์ของผู้อื่น แม้เราไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนั้น แต่สิ่งเหล่านี้จินตนาการได้ เราไม่เคยสูญเสียลูก แต่เรารับรู้ได้ว่าแม่ปวดร้าวที่ลูกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้หล่อเลี้ยงให้เรารับรู้ได้ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร เป็นฐานการเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน
2.Reflexive Imagination เป็นการสะท้อนย้อนคิด ย้อนให้เห็นพลังของตัวเองมีคุณค่ากลับมาสอนเราได้ จินตนาการที่ดีกว่าเมื่อวาน นักเรียนเขียนเรื่องเล่าว่าเรียนหนังสือจบแล้ว เป็นคนเรียนหนังสือดี เก่งด้านคำนวณ วิเคราะห์ เขียนรายงานว่าอยากจะมีอาชีพที่มั่นคง มีบ้าน มีรถ เมื่อสมัครงานได้งานที่แปลกมาก จะได้รับคำสั่งจากหัวหน้าในช่วงตีสองเขียนรายงานทำ power point เพื่อเตรียมงานประชุมให้กับนาย present งานนี้สร้างรายได้ดีซื้ อคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเองได้ แต่ทำงานได้ระยะหนึ่งก็เริ่มรู้สึกเบื่องาน เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ เมื่อตัวเองไม่สามารถกำหนดเนื้องานได้ก็ตัดสินใจลาออก
มีเพื่อนคนหนึ่งทำงานวิเคราะห์ ทำงานศูนย์วิชาการบำบัด ออกไปดูสถานที่เกิดอุบัติเหตุ มีปัจจัยอะไรบ้าง เพื่อนำมาจัดการความรู้ ทำรายงานว่ามีคนตายกี่คน การประสานงากับรถบรรทุกอย่างรุนแรง บางครั้งรถโดยสารขาดตลอดลำ บรรยากาศที่แม่ร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญถามหาลูกคนเดียว ตะโกนถามว่าลูกอยู่ที่ไหน ก็ไม่เจอศพของลูกเพราะส่งไปที่รพ.มหาราชฯ ตีรถเข้าไปหาหมอเพื่อจะบอกกับหมอว่ามาตามหาลูก บอกลักษณะรูปร่างหน้าตา Case Idintify เมื่อเปิดผ้าคลุมหน้าศพ เหล็กพุ่งทะลุเข้าทางหน้าผากทะลุด้านหลัง หน้าโบ๋เป็นกลวงเห็นกะโหลกอยู่ข้างในทั้งหมด แม่เป็นลมล้มฟุบไป
แม่ที่สูญเสียลูกใส่ชุดดำออกมาทำงานทุกวัน แม่เจ็บปวด เป็นข้อเตือนใจว่าขอให้ทำงานอย่างดีที่สุด ถ้าไม่ดีอาจจะมีแม่แต่งตัวชุดดำไปรับศพที่โรงพยาบาลก็ได้ เป็นภาพสะท้อนความมีค่าของแต่ละคนที่เราทำงานบางอย่างได้ดี ถ้าเมื่อวานเราทำตัวเองให้ดีขึ้น “ผมทำงานวิจัยปริญญาเอกศึกษาด้านมานุษยวิทยา ศึกษาคนเลี้ยงช้างที่จังหวัดสุรินทร์บ้านเกิด ดิ้นรนในการใช้ชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับความทุกข์ที่เราเจอเพียงน้อยนิด เราจะทำอย่างไรให้ดีกว่านี้ได้บ้าง
เรื่องของจินตนาการสองข้อคือรากฐานการทำงาน ถ้า 2 เรื่องนี้แข็งแรง ไม่ย่อท้อ เราจะดีขึ้น จากนี้ไปจะดีขึ้นยิ่งกว่าเดิมได้ทุกวัน เราไม่ฝันความเป็นมนุษย์สูงสุด ไปไม่ถึง แต่เราดีขึ้นกว่าเมื่อวานได้แน่ ถ้าเรามี Reflexion ที่ดี เราทำงานยากลำบากเป็นประโยชน์
ฮิวจ์ นักไต่เขาติดอันดับโลก มีอายุเพียง17ปีเท่านั้น ไต่เขานิวแฮมเชียร์ ปีนไปยืนอยู่บนหน้าผา นักไต่เขาที่มีชื่อเสียงพิชิตยอดเขาเป็นเรื่องท้าทายตัวเองอย่างยิ่ง ในระหว่างที่ปีนเขานั้นมีพายุตกหนัก ไม่มีใครกล้าจะปีนเขาต่อเพราะมองไม่เห็นทาง มีแต่จะตกเหว ก็ต้องขุดรูหิมะกอดกันอยู่หนาวจนตัวแข็ง หิมะกัดปลายมือปลายขาจนปวดมาก อย่างชนิดที่เรียกว่าเขาอยากฆ่าตัวตายเพราะปวดจนทนแทบไม่ได้ ตัวแข็ง ขยับตัวไม่ได้ หมดสติ มีหน่วยกู้ชีพโรยตัวมาช่วยเขาไว้เพื่อส่งโรงพยาบาล เขาถูกตัดขาทั้งสองข้าง เมื่อฟื้นขึ้นมาเห็นขาขาดก็แทบช็อก ถามหมอว่าผมจะกลับไปปีนเขาใหม่ได้อีกหรือไม่ หมอตอบตามข้อเท็จจริงว่าคุณจะปีนเขาได้อย่างไรในเมื่อขาของคุณขาดทั้งสองข้าง
เมื่อเขากลับบ้านก็ทบทวนตัวเอง เราจะไปถามหมอทำไมว่าจะกลับมาปีนเขาได้เหมือนเดิมหรือไม่ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของหมอ แต่เป็นเรื่องของเราเอง ในเมื่อเราเป็นนักปีนเขา ถ้าอยากจะกลับไปปีนเขาก็ต้องหากายอุปกรณ์มาปรับแต่งให้เรากลับไปปีนเขาได้เหมือนเดิม กายอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ กดสวิตช์ ขายืดออกได้เมื่อปีนเขาชนะคนที่สมประกอบทั้งหมด ก็ถูกประท้วงว่ามีอภิสิทธิ์ใช้อุปกรณ์พิเศษในการปีนเขา ก็มีรายการท้ากันว่าถ้าอย่างนั้นคุณก็ตัดขาทั้งสองข้างออกแล้วมาปีนเขา
เขาได้ทำงานวิจัยกายอุปกรณ์ คนทั่วโลกประสบปัญหาแขนขาขาดเยอะมาก เพราะปัญหากับระเบิด โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ กายอุปกรณ์ มนุษย์เราใช้รองเท้าตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์มาถึงยุคสมัยใหม่ เวลาผ่านพ้นมาแล้วหลายพันปี รองเท้าก็ยังกัดเท้าเราอยู่เหมือนเดิม เมื่อมีการศึกษวิจัยกายอุปกรณ์ให้คนอื่นทั่วโลก เมื่อทำปริญญาเอกสถาบัน AIT สิ่งที่ทำให้นักปีนเขาไม่ล้มเลิกความฝันที่จะปีนเขาต่อไป ก็ได้กายอุปกรณ์ช่วยเหลือทำให้ฝันเป็นจริงได้
ดังนั้นจะหาทางอย่างไรที่จะช่วยเหลือมวลมนุษยชาติด้วยเทคโนโลยีของการพัฒนา มีหัวหน้าทีม Extreme Bionic AIT สร้างผลงานไว้มากมาย คำนวณวิธีสร้างขาเทียม เมื่อพบอุปสรรคขณะทำงาน จะมีอะไรหล่อเลี้ยงได้บ้าง แดน พิงค์ ถอดบทเรียนของคนจำนวนมาก คนล้มแล้วลุกขึ้นมาโดยไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรคต่างๆ เมื่อเราทำงานจะรู้สึกดีกับตนเองเราเป็นนายตัวเองได้ มีความสุขกับการทำงานมากยิ่งขึ้น นักวิชาการทำงานวิจัยเหนื่อยมาก นักปีนเขาหลายคนล้มเหลวมากกว่าจะประสบความสำเร็จ แต่เกิดความสงสัยว่าทำไมเขาไม่ล้มเลิกความคิดในการปีนเขา
ห้วงเวลาที่ดีที่สุดของเราไม่ใช่เวลาเฉยๆ เฉื่อยชา นอนดูทีวี เวลาเป็นไปเพื่อทำอย่างอื่น ห้วงเวลาดีที่สุดเมื่อได้ใช้ร่างกายอย่างเต็มขีดความสามารถ มีคุณค่าอย่างยิ่งเป็นเรื่องนามธรรมมาก ถ้าอยากเห็นรูปธรรมคือเรื่องราวของ 13 หมูป่า Academy จิตอาสาเหล่านี้ที่มาช่วยทำงานไม่ได้เงินตอบแทน แต่เขามาทำงานอย่างเต็มที่ โดยไม่รู้ว่าเขาจะเอาชีวิตรอดไปได้หรือไม่ จ่าแซมตายไป ที่เหลือไม่มีใครรู้ว่าจะรอดชีวิตด้วยหรือไม่ ทุกคนเอาความสามารถ สติปัญญาที่มีเอา 13 หมูป่ารอดชีวิตกลับออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย ทั้งๆ ที่หมูป่าดำน้ำไม่เป็น แต่ก็รอดออกมาได้ มีอาสาสมัครเข้ามาซักแห้งเสื้อผ้าและส่งไปให้เหล่าจิตอาสาได้ใส่เสื้อผ้าใหม่ทุกวันตอนตี 3 มนุษย์ทุกคนต้องการความสุขสบายในชีวิต ทุ่มเททำงานในสิ่งที่เขารัก ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในห้องนี้ก็เลือกทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก การที่เรามีเพื่อนด้วยความพยายามนำเสียงของคนที่ไม่มีใครได้ยิน ทำให้ตัวเขาเข้มแข็ง ชุมชนเข้ามาช่วยเหลือ เราได้ทำงานที่ไม่ใช่งานวิ่ง 100 เมตร แต่เป็นงานวิ่งมาราธอนและมีกำลังใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในชีวิตด้วย.
“อิคิไก” เหตุผลของการมีชีวิตอยู่
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จุดเริ่มต้นของงานนี้เมื่อ แอน ภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) มาพบผม เพื่อขอให้ผมพูดเรื่องแรงบันดาลใจให้คนทำงานในฐานะผู้มีประสบการณ์เคยเป็นประธานคณะ 2 สสส. ประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุ 11 ปีเศษ แต่พ้นจากหน้าที่มาแล้วเกือบ 5 ปี ผมก็บอกว่าอายุ 72 ปี ป่านนี้แล้วจะสร้างแรงบันดาลใจคนหนุ่มสาว คนด้อยโอกาสในสังคมได้อย่างไร แต่ตอนนั้นคิดว่าอ่านหนังสืออิคิไกเป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนญี่ปุ่น ผมขอพูดเรื่องนี้น่าจะดี
“อิคิไก” เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ผมอายุ 72 ก็จริง แต่ยังอ่านหนังสือเพื่อแสวงหาความรู้ทุกวันราวกับว่าชีวิตนี้เป็นอมตะ มีคำพูดที่พูดกันว่าเรียนไปก็ไร้ค่า ตายไปก็ลืมหมด ผมคิดทุกคืนว่านอนกลางคืน พอถึงเช้าจะได้ตื่นหรือไม่ ผมยึดถือเรื่องมรณานุสติตลอดเวลา ผมขอเล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิต ความยิ่งใหญ่ของคนญี่ปุ่น อิคิไก เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ด้วยประสบการณ์ ความสุขในชีวิต
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่เป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาอย่างยาวนาน แต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นแพ้สงครามอย่างยับเยิน เมืองฮิโรชิมา นางาซากิ เจอลูกระเบิด 2 ลูก ญี่ปุ่นถูกยึดครอง 7 ปี แต่ญี่ปุ่นก็ฟื้นตัวเองได้อย่างรวดเร็วจนเศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโลก ญี่ปุ่นสร้างระบบบัตรทองสร้างระบบสุขภาพดีถ้วนหน้า ปัจจุบันคนญี่ปุ่นมีสุขภาพดีมาก ประชากรอายุยืน มีจำนวนประชากร 125 ล้านคน ในขณะที่ประเทศจีนมีประชากร 1,300 ล้านคน แต่ที่น่าสังเกตคนญี่ปุ่นไม่ค่อยมีลูก ญี่ปุ่นยิ่งใหญ่ในลัทธิชินโต นับถือพุทธศาสนา นิกายเซน มุ่งเน้นในเรื่องการทำสมาธิ ญี่ปุ่นผลิตสินค้าคุณภาพดีและขายดีกว่าสินค้าของยุโรป เวลานี้รถญี่ปุ่นแพงกว่ารถยุโรป เพราะคนญี่ปุ่นมี QC พัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างจริงจัง ระบบเกียร์เยี่ยมยอดที่สุด มีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง
อิคิไกสร้างคุณประโยชน์ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงมีสติ มีความสุข มีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะทำงานในสิ่งที่ตนเองมีความรัก มีความสุขกับงานตรงหน้าด้วยความภาคภูมิใจ ถ้าคิดใหญ่เกินกำลังอำนาจ เมื่อคิดเล็กๆ ปลดปล่อยตัวเอง ไม่เห็นแก่ตัว ทำงานให้สอดคล้องมุ่งหวังสู่ความยั่งยืน แสวงหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ มีสติสัมปชัญญะมุ่งทำงานให้เกิดคุณภาพอย่างแท้จริง
การอ่านหนังสืออิคิไก ทำให้ผมนึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวในการใช้ชีวิต เกิดขึ้นในหมู่บ้านชนบทห่างไกล ผมเรียนจบแพทย์ตอนนั้นยังไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปาใช้อ่านหนังสือ ก็ต้องใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าซดวงเล็กๆ ตอนนั้นนักศึกษาอยู่ในยุคของการแสวงหา มีบทกลอนของวิทยากร เชียงกูล สมัยที่เป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่งขึ้นในช่วงวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงปี 2511 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ยูงทอง บทกลอนนี้ทำให้เด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถามถึงการศึกษา “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว”
ผมข้ามฟากจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเรียนที่ รพ.ศิริราช เห็นพระรูปสมเด็จพระราชบิดาที่ราชแพทยาลัย ตอนนั้นมองไกลๆ ไม่ทราบว่าเป็นใคร สมเด็จพระบรมราชชนก เป็นพระราชบิดาของรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ ทรงเป็นปูชนียบุคคลทรงวางรากฐานด้านสาธารณสุข ยกย่องให้เป็นแบบอย่าง “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” เป็นถ้อยคำที่จับใจแพทย์จบใหม่เป็นอย่างยิ่ง
บทกวีนเรศ นโรปกรณ์ “เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง ฤาจึงมุ่งมาศึกษา เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤา แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน” เมื่อผมเริ่มต้นรับราชการ มีการก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท เห็นความยากไร้ของแพทย์ในชนบทกระทบใจอย่างรุนแรง คนตายเพราะไม่มีหมอรักษา เห็นช่องว่างระหว่างหมอในชนบทกับหมอใน กทม. ชนบทไม่มีอะไร ผมเข้ามาทำงานในชนบทด้วยความคิดที่ว่าทำอย่างไรจะลดช่องว่างของเมืองใหญ่และชนบทได้ ในวันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศไทยแลนด์ 4.0 ทำอย่างไรให้คนไทยรอดพ้นจากกับดักความยากจน มีรายได้สูงขึ้นสู่ระดับโลก ช่วยกันลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราจะต้องช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ในช่วงที่ทำงานที่ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีอาจารย์แพทย์ 1 คน ตอนผมเป็นหมอนอนไม่เคยเต็มตา เพราะถูกปลุกหลายรอบทั้งคืนเพื่อตามให้ไปรักษาคนไข้ ไม่เคยนอนหลับสนิทแม้แต่คืนเดียว ประชากรกว่า 8 หมื่นคน กว่า 500 อำเภอ มี รพ.ชุมชน 100 แห่ง จำนวนกว่า 400 อำเภอไม่มีหมอ ไม่มีสถานีอนามัย แต่ปัจจุบันมีโรงพยาบาลประจำตำบลครบทุกตำบลหมื่นแห่งทั่วทั้งประเทศ
ตลอดชีวิตการทำงานผมยึดหลักอิทธิบาท 4 มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา สังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตจริยา สมานัตตา สมัยที่เป็นนักศึกษาแพทย์ก็ต่อสู้รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ นักเรียนแพทย์สมัยนั้นสูบบุหรี่มากถึง 40% แต่ปัจจุบันลดลงมากเพียง 3% โรคเอดส์สมัยก่อนใครเป็นแล้วเสียชีวิต แต่ปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินยาต้านเอดส์ตลอดชีวิต กลับไปใช้ชีวิตทำงานได้เหมือนคนปกติ เพียงแต่มีอายุสั้นกว่าคนปกติเพียง 2-3 ปี เท่านั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |