ภรณี ภู่ประเสริฐ ชูพลังตั้งใจ สำนัก 9 สสส. มีพนักงานเพียง 7 คน ตกผลึกทางความคิด ระดมภาคีเครือข่ายทุ่มเทกว่าจะเป็นงานใหญ่ 2,400 คน ที่เมืองทองธานี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคนที่ 2 เปิดประชุม ใช้ความหลากหลายในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. บรรยายจุดยืนแก้ไขปัญหาที่ต้นน้ำ เข็นครกขึ้นภูเขาฝ่าฟันอุปสรรคสู่ยอดเขาสุขภาพที่ดี
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัด การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน:ประชากรกลุ่มเฉพาะ Voice of the voiceless:the vulnerable populations Voice of the Voiceless เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินประชากรกลุ่มเฉพาะ วันที่ 12-13 มิ.ย.2562 อิมแพ็ค ฟอรั่ม 2 เมืองทองธานี เบิกโรงด้วยการแสดงดนตรีบรรเลงโดย เด็กชุมชนคลองเตยดีจัง พิธีเปิดประชุมด้วยการแสดงชุด “Voice of the Voiceless” วีดิทัศน์ “เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน:ประชากรกลุ่มเฉพาะ”
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวรายงานสถานการณ์สุขภาพในสังคมมีความแตกต่าง ความเปราะบางของประชากรกลุ่มเฉพาะ เราจะต้องลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเท่าเทียมกันไม่แบ่งแยก เพื่อความยั่งยืน SDG ปลายทางความเป็นธรรมเพื่อสุขภาพ แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนัก 9 สสส.ในช่วง 10 ปี สนับสนุนภาคีเครือข่ายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประชากรต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง องค์ความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ พื้นที่ภาคีเครือข่าย การสร้างสรรค์นวัตกรรมทำให้มีสุขภาพที่ดี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน
การมีเวทีเอื้อต่อประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อฟื้นฟู สร้างแรงบันดาลใจให้ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการทำงาน การประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดพื้นที่แนวทางการทำงาน Show Share จัดเสวนากลุ่มย่อย สาธิตการแสดงนิทรรศการแสดงเครือข่าย
“สำนัก 9 มีบุคลากรเพียง 7 คน ไม่ใช่มืออาชีพจัดงานใหญ่ ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายใช้ความตั้งใจและทุ่มเทเตรียมงานหลายเดือน เพื่อตกผลึกทางความคิด สสส.ส่งเสียงออกไปไม่มีใครได้ยิน เราเป็นคนเล็กคนน้อย เสียงเราไม่มีพลังหรือข้อเสนอยังไม่คมชัดพอ เราตกผลึกทางความคิด ถ้ารวมพลังส่งเสียงให้ผู้กำหนดนโยบายมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยกันส่งเสียงบอกสังคมให้มองเห็นคุณค่าของตัวเองและสังคม ใช้ความหลากหลายในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคนที่ 2 กล่าวเปิดประชุมด้วยความชื่นชมการทำงานของกลุ่มประชากรเฉพาะ สสส. จัดประชุมวิชาการ Voice of the Voiceless ด้วยวิสัยทัศน์ สสส.ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีขีดความสามารถที่เชื่อมต่อสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ กระตุ้นองค์กรทุกภาคส่วน ระบบสังคมเชื่อมต่อการมีสุขภาวะที่ดีในสังคม กำหนดทุกแผนหลัก โดยคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความสำเร็จ ยกระดับสุขภาพที่มีเงื่อนไขจำกัด ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ต้องมีการขับเคลื่อนด้วยกลไกที่มีความแตกต่างเพื่อให้สอดคล้องกับประชากรกลุ่มนี้
คนชายขอบที่ถูกมองข้าม ถูกผลักให้กลายเป็นภาระของสังคม มีความเสี่ยงสูงในการดำรงชีวิต ถูกกีดกันจากนโยบาย ถูกทำให้ยอมจำนน ด้วยปัจจัยทางสังคมยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเชิงโครงสร้าง ต้องอาศัยยุทธศาสตร์สร้างแนวร่วม เสริมพลังประชากรชายขอบ การจัดงานเป็นก้าวสำคัญที่ท้าทายให้ประชากรกลุ่มเฉพาะรวมพลัง ทำให้สังคมเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีนำไปสู่การเห็นศักยภาพภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บรรยายพิเศษ “สสส.กับบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ” สสส.เป็นองค์กรเกิดใหม่ครบ 18 ปีในเดือน พ.ย. ก้าวย่างสู่วัยรุ่น เมื่อแรกนั้นมีรูปแบบที่ไม่เคยมีในสังคมไทย ผ่าน กม.จากรัฐสภา มีรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา ยาสูบ 2% มาสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยรูปแบบที่ค้นหาวิธีการทำงาน ไม้พันธุ์ใหม่ปลูกในดินไทย 18 ปีต้นไม้เติบใหญ่ ทุกท่านได้เห็นดอกผลต้นไม้ต้นนี้
ด้วยวิสัยทัศน์ สสส.ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีขีดความสามารถ สังคมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะสะท้อนการตกผลึกในคณะ กก.สสส.บอร์ด การเรียนรู้จากการทำงาน ครอบคลุมผู้คนมากขึ้น มีขีดความสามารถทางด้านสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ ภาพการเข็นครกขึ้นภูเขา เราจะมีสุขภาพดีผลักดันสู่จุดหมายปลายทาง ความชันของเนินเขาเกิดจากปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม ภูเขาแต่ละลูกมีความชันไม่เท่ากัน หลายเขามีทางลาดราบเรียบทำให้เดินได้รวดเร็วกว่า ในขณะที่อีกหลายๆ คนต้องต้องขึ้นภูเขาสูงชัน ยืนนิ่งอยู่ที่ตีนเขา เงยหน้ามองไปบนยอดเขาแล้วไม่มีกำลัง รู้สึกว่าไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ ต้องเพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนมีขีดความสามารถที่จะฝ่าข้ามไปได้ บางคนยืนจำนนอยู่ที่ตีนเขา คิดว่าฟ้าดินลิขิตเช่นนี้ ไปไหนไม่ได้ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นเนินเขามีคำที่เรียกว่า ปัจจัยที่กำหนดสุขภาพอยู่ในสังคมสิ่งแวดล้อม Social Derminants of health โลกทั้งโลกเข้าใจเรื่องสุขภาพ
สสส.จะสร้างเสริมสุขภาพคนไทย สิ่งที่เราทำอาจจะต่างกับสุขภาพที่เราคุ้นเคย เรายังมีโรคติดต่อ มีการเจ็บป่วย ทุกวันนี้การทำงานด้านสุขภาพ ต้องยอมรับว่างานสาธารณสุขไทยติดอันดับโลกเพราะเราทำงานถึงระดับรากหญ้า เป็นโรคติดเชื้อกันมาก หมอ หยูกยามีความสำคัญสูงมาก มีโรคอันดับต้นๆ มะเร็ง หัวใจ อุบัติเหตุ เบาหวานไม่ได้มาจากเชื้อโรค แต่เป็นปัจจัยทางสังคมกำหนดสุขภาพ การให้บริการรักษา 90% คนมีสุขภาพดีน้อยลง 10% ดูแลป้องกัน งบประมาณ สสส. 0.7% จากรายได้ตาม กม.ที่ได้มา เราจึงวางตำแหน่งทำงานที่ต้นน้ำ ทำให้เกิดปัญหาทุกขภาวะเกิดโรคเรื้อรัง วิธีการแก้ไขที่ต้นน้ำ ดูแลปัจจัยสุขภาพด้วยการสื่อสารจากสสส.ออกไปปรับระบบบริการสุขภาพ ไม่ใช่การสงเคราะห์ ลดปัญหาทุกคน ชุมชน องค์กรที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป็นต้นเหตุสุขภาพใน พ.ศ.นี้ เรามีแผนการทำงาน 15 ก้อน หนึ่งในแผนที่สำคัญคือ แผนประชากรกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนคนชายขอบ เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย ไร้ตัวตน ทางด้านกายภาพไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของชาติใดๆ ในโลก ทั้งๆ ที่คนนั้นมีตัวตน มีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีใครได้เห็น ได้ยิน เป็นคนชั้นล่างของสังคม มีความเสี่ยงสูงในชีวิต เรื่องความปลอดภัย สวัสดิการถูกคุกคาม ถูกกันด้านนโยบายต่างๆ ที่เข้าไม่ถึง สิทธิสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ไม่อยู่ในทะเบียนผู้ไร้โอกาส ต้องยอมจำนนและจำยอมอยู่ในสังคมที่ไร้ความสุข
กลุ่มแรงงานนอกระบบ ไม่มีตัวแทนแกนกลาง การรวมกลุ่มภาครัฐจะเข้าไปถึงคนกลุ่มนี้ให้มีสมชีวิตา มีพื้นฐานให้โอกาสเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมความเป็นธรรมสุขภาวะตามปฏิญญาระดับโลก มีส่วนร่วมสำคัญให้เป็นจริง พัฒนากันไปโดยไม่ทิ้งใครไว้อยู่ข้างหลัง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |