สสส.ผนึกเครือข่ายรณรงค์“นมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน” เป็นห่วงเด็กไทยไม่ดื่มนม กะปิ ผักใบเขียวตัวเตี้ยแน่


เพิ่มเพื่อน    

             

เครือข่าย “นมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน” ผนึกกำลัง สสส.รณรงค์คนไทยดื่มนมเนื่องในวันดื่มนมโลก 2562 สอดคล้องกับกิจการโคนมเป็นอาชีพพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งช่วยลดการนำเข้านมจากต่างประเทศ สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจพฤติกรรมการดี่มนมของคนไทยแล้วต้องอ้าปากค้าง คนไทยดื่มนมน้อยที่สุดเกือบรั้งท้ายของโลก 18 ลิตร/คน/ปี เพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องการดื่มนม ในขณะที่กลุ่มยุโรปและอเมริกาดื่มนมแทนน้ำ คนทั่วโลกดื่มนมเฉลี่ย 113 ลิตร/คน/ปี นักโภชนาการแนะนำหากท้องเสีย ให้ดื่มโยเกิร์ต นมพร่องไขมัน เนย นมถั่วเหลือง เพราะนมแหล่งอุดมด้วยสารอาหารครบ5หมู่ ดื่มได้ทุกวัยและทุกวันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา

               

อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัยและผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ทำหน้าที่พิธีกรในงานเปิดตัวเครือข่าย “นมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน” ณ ห้องกรีน อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องในวันดื่มนมโลก 2562 เพื่อผนึกกำลังรณรงค์คนไทยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงเต็มร้อยโดยดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว ทั้งนี้ อ.สง่าเปิดประเด็นคำถามว่า คุณรู้ไหมทุกวันที่ 1 มิ.ย.ของทุกปีเป็นวันนมโลก เป็นภารกิจของทุกคนที่จะรณรงค์ให้คนไทยดื่มนมให้มากยิ่งขึ้น เพราะสถิติคนไทยดื่มนมน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชีย ข้อมูลจากสวนดุสิตโพลทำให้เห็นการดื่มนมของคนไทยน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในขณะที่ประเทศในกลุ่มเอเชียดื่มนม 66 ลิตร/คน/ปี จีน 38 ลิตร/คน/ปี ญี่ปุ่น 90 ลิตร/คน/ปี สิงคโปร์ 62 ลิตร/คน/ปี กลุ่มยุโรป 237 ลิตร/คน/ปี (ดื่มนมแทนน้ำ) อเมริกาเหนือ 237 ลิตร/คน/ปี ทวีปแอฟริกายังไม่มีตัวเลข สถิติคนทั่วโลกดื่มนมเฉลี่ย 113 ลิตร/คน/ปี แต่คนไทยดื่มนมในปริมาณที่น้อยมากเพียง 18 ลิตร/คน/ปี

             

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าหมาย 25 ลิตร/คน/ปี โดยองค์การอาหารและเกษตรโลก (FAO) ตั้งเป้าหมายในภูมิภาค 35 ลิตร/คน/ปี ด้วยการรณรงค์ให้มีการดื่มนมอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายนมดี ดื่มได้ทุกวัน ช่วยกันรณรงค์ให้คนทุกวัยดื่มนมทุกวัน นักวิชาการโคนมร่วมกันคิดและทำกิจกรรมเพื่อให้ได้ผู้บริโภคนมตามเป้าหมาย

             

กิจการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพพระราชทานตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ให้มีความยั่งยืนต่อไป ประเทศไทยส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมเป็นเวลา 50 ปี ใน 25 จังหวัด จำนวน 1.6 หมื่นครอบครัว ผลิตได้ 3,300 ตัน  ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ลดดุลการค้าได้เป็นอย่างดี รัฐบาลสนับสนุนให้จัดตั้งคณะกรรมการโคนม สนับสนุนงบประมาณโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนมากกว่า 27 ปี มีการจัดอบรมให้ความรู้ผู้เลี้ยงโคนมทางด้านวิชาการมาโดยตลอด

             

ขณะนี้ สสส.เข้ามารณรงค์ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน นำความรู้มาเผยแพร่ รณรงค์ช่วยกันดื่มนมได้ทุกวัยและดื่มได้ทุกวัน “เครือข่ายนมดีทุกวัย  ดื่มได้ทุกวัน จะเป็นความหวังใหม่ให้กับคนไทยได้ตระหนักเห็นคุณค่าของการดื่มนมเพื่อสุขภาพ มีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนงานรณรงค์การดื่มนมในกลุ่มวัยต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่องต่อไป”

             

“คนทั่วไปเข้าใจผิดว่านมเหมาะสมเฉพาะเด็กด้วยคำพูดที่ว่า ฟันยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม แต่คนทุกวัยดื่มนมได้ อย่างผมเกษียณอายุมาแล้ว 9 ปี อายุจะ 70 ปี ดื่มนมเพื่อลดความบางของมวลกระดูกลง  เด็กไทยอยากสูงต้องดื่มนมเพราะมีสารอาหารครบถ้วนทุกอย่างอยู่ในนม ในวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารในนมมากที่สุด นมไม่ได้ทำให้เด็กอ้วน แต่น้ำตาลในนมต่างหากที่ทำให้อ้วนและฟันผุ ดังนั้นเลือกดื่มนมจืด คำถามที่ว่าคนเป็นโรคหัวใจดื่มนมได้ไหม คำถามอีกว่าโปรตีนในน้ำนมทำให้เกิดมะเร็งจริงหรือ ดังนั้นต้องมีการสื่อสารให้รับรู้ข้อเท็จจริง การให้ความรู้เป็นเรื่องๆ กินนมแล้วไม่เป็นมะเร็ง และไม่ส่งผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน เราต้องช่วยกันกระตุกต่อมคนไทยให้รับรู้ข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้วอย่างถูกต้องอย่างมืออาชีพ”

             

ดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันดื่มนมโลกจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์กระตุ้นให้ประชากรโลกได้เห็นคุณค่าของการบริโภคนมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง การบริโภคนมเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรโคนม รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมนม เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกัน คนไทยก็จะได้ดื่มนมคุณภาพดี รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมนมไทยให้พัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย

             

“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจมากที่คนไทยดื่มนมเพียง 18 ลิตร/คน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำอัดลมที่เราดื่มกันเยอะมาก เราจึงตั้งเป้าหมายให้คนไทยดื่มนม 25 ลิตร/คน/ปี ภายในปี 2563 แต่กว่าจะได้สถิติ 18 ลิตร/คน/ปี ก็ใช้เวลาพอสมควร มีการแจกนมถุงให้กับรถ บขส.คนละ 1 ถุง ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นคนขับรถท้องเสีย เพราะคนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกับการดื่มนมพาสเจอไรซ์ ทำอย่างไรถึงจะดื่มนมแล้วไม่ท้องเสีย คำถามบางคำถามที่ว่าดื่มนมแล้วอ้วน นมไม่ได้ทำให้อ้วน แต่น้ำตาลที่ทำให้นมหวานทำให้อ้วน สิ่งเหล่านี้ต้องให้ความรู้ควบคู่กันไปด้วย”

               

อาจารย์วิเชียร ผลวัฒนสุข ประธานเครือข่ายนมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน กล่าวว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่นมนมของคนไทยประจำปี 2562 โดยสวนดุสิตโพลพบว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยอายุ 13-20 ปี มีการบริโภคนมลดลงกว่าครึ่งจากสัดส่วน 89% เหลือเพียง 44% เมื่อเทียบกับเด็กวัยอนุบาลและประถมศึกษา ส่วนในกลุ่มผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไปนั้น พบว่ามีสัดส่วนที่ไม่ดื่มนมโคเลยถึง 1 ใน 4 จากผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจ กลุ่มผู้ที่ไม่บริโภคนมโคนั้นหันไปดื่มนมถั่วเหลือง 43% เครื่องดื่มกาแฟ 22% และนมเปรี้ยว 14% 

             

สาเหตุหลักเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการดื่มนม และความไม่มั่นใจในคุณภาพของน้ำนมโค ส่งผลให้อัตราการดื่มนมของคนไทยยังมีปริมาณน้อยมากเฉลี่ยเพียงคนละ 18 ลิตร/คน/ปี หรือเพียงสัปดาห์ละ 2 แก้วเท่านั้น  ดังนั้นจึงมีแนวคิดจัดตั้งเครือข่าย “นมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน” ในวันดื่มนมโลกในปีนี้นั้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยทุกวัยดื่มนมโคอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

             

อ.ณัฐพล แย้มฉิม ประธานสวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจสวนดุสิตโพลโครงการสำรวจพฤติกรรมการดื่มนมของคนไทยในปี 2562 สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย มีแนวคิดในการสำรวจพฤติกรรมการดื่นนมและความคิดเห็นจากแบบสำรวจทั้งหมด 2,000 ตัวอย่าง เลือกข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด 1,753 ตัวอย่าง ทั้งนี้จะไม่สำรวจเด็กที่ดื่มนม รร.เท่านั้น แต่จะสำรวจเด็กที่ดื่มนมที่บ้านด้วย พบว่าพฤติกรรมการดื่มนมของคนไทย 44.10% ดื่มนมเป็นประจำ 42.04% ดื่มนมบ้าง  13.86% ไม่ดื่มนมเลย สาเหตุคือ 30.13% ได้รับสารอาหารจากแหล่งอื่น นมถั่วเหลือง กาแฟ นมเปรี้ยว ข้าว อาหาร เครื่องดื่มชูกำลัง 24.50% ไม่ชอบดี่มนม 21.19% ดื่มแล้วไม่สบายท้อง  12.58% คิดว่าไม่มีความจำเป็น

             

วัย 3-12 ปี ดื่มนม 88.89% วัย 13-20 ปี 44.17% วัย 21-35 ปี ดื่ม 41.39% วัย 36-50 ปี 38.56% วัย 51-60 ปี 35.29% มากกว่า 60 ปี  29.96% พฤติกรรมการดื่มนมแต่ละวัน 1 ครั้งต่อวัน 70.33% 2 ครั้งต่อวัน 23.51% 3 ครั้งต่อวัน 3.77% มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน  2.38% ช่วงเวลาในการดื่ม ช่วงเช้ามากที่สุด 32.74% ก่อนนอน 19.73% ไม่แน่นอน 19.12% เย็น 14.58% กลางวัน 11.01% ระหว่างมื้ออาหาร 2.80%

             

เหตุผลที่ทำให้ดื่มนม 27.99% เพื่อสุขภาพ 14.16% ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน 11.21% ดื่มแล้วรู้สึกอิ่มท้อง 8.85% รับประทานแทนมื้ออาหาร ปัจจัยที่ทำให้ดื่มนมได้มากขึ้น 30.61% มีนมไว้ติดบ้าน 24.57% มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย 23.71% สารอาหารในนมที่มีมากขึ้น 16.57% มีสินค้าใหม่ๆ ให้ลอง แหล่งที่มาของข้อสงสัย สิ่งที่กังวลเกี่ยวกับการดื่มนม 32.56% จากความสงสัยด้วยตนเอง 13.95% facebook 12.21% โฆษณาทางโทรทัศน์ 10.47% เพื่อน/คนรู้จัก 9.30% อินเทอร์เน็ต ข้อเสนอแนะเพื่อการประชาสัมพันธ์ 24.94% ไม่โฆษณาเกินจริง ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 15.80% เพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดให้มีความน่าสนใจ 8.79% ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง 8.79% ประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงมาตรฐานการผลิต

             

จิรประภา (พริม) บุญปาน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ กล่าวว่า นมมีสารอาหารที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยและดื่มได้ทุกวัน นมเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่อยู่ในตัวเอง โดยเฉพาะโปรตีนช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และนมยังอุดมด้วยแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกของทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่วัยเด็ก ช่วยให้เด็กสูงสมวัย  วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุช่วยให้กระดูกแข็งแรงและชะลอการเปราะบางของกระดูกได้อีกด้วย

             

WHO ระบุว่า เด็กสามารถดื่มนมได้ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยชรา ทุกช่วงของวัย เพราะนมอุดมด้วยอาหารครบทั้ง 5 หมู่ นมดื่มได้ทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน แม้บางคนจะเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือด อ้วน เบาหวานก็ดื่มนมได้ ในนมยังมีแหล่งวิตามินบี บี 2 บี 12 สัมพันธ์กับระดับฟอสฟอรัส แคลเซียมสร้างกระดูก แต่ละช่วงวัยมีความต้องการปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกัน แคลเซียมในผักใบเขียว 4 ทัพพี ในขณะที่ดื่มนม 1 แก้วจะได้รับแคลเซียมเท่ากัน ดังนั้นเราควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งโลก WCRF สำรวจอาหารโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง นมช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ ถ้าไม่ชอบการดื่มนมก็มีทางเลือกในการดื่มโยเกิร์ต จะไม่มีอาการท้องอืดแต่อย่างใดเพราะมีจุลินทรีย์ ชีส น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง นม Low Fat

             

ถ้าเราจะกินกะปิให้ได้แคลเซียมเท่ากับนมเรา ก็ต้องกินกะปิถึง 4 ช้อน ผักใบเขียว 4 ทัพพี ขอให้ทราบด้วยว่าแคลเซียมในนมเข้าถึงกระดูกได้รวดเร็วที่สุด แคลเซียมจะทำงานควบคู่ไปกับฟอสฟอรัส ทั้งหมดนี้ก็ล้วนอยู่ในนม เด็กอายุ 4-9 ขวบควรได้รับแคลเซียม 800 มิลลิกรัม เด็ก 9 ขวบ-ผู้ใหญ่ 71 ปี ต้องการปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม บางคนดื่มนมมากเกินกว่าปกติก็ต้องดูสภาวะของบุคคลนั้น นมเป็นแหล่งสร้างพลังงาน ถ้าเลือกดื่มนมที่ไร้ไขมัน หรือเน้นแคลเซียม ก็ไม่ทำให้อ้วน

             

“เด็กไทยดื่มนมน้อย เพราะพื้นฐานปัจจัยของครอบครัวในบ้านของคนไทยมักจะซื้อน้ำอัดลมเข้าบ้านมากกว่าจะซื้อนมเข้าบ้าน  เด็กก็ติดน้ำอัดลม บางคนบอกว่าเด็กแพ้นมวัวจะมีอาการหืดหอบขณะหายใจ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอาการเหล่านี้ก็จะหายไปได้” 

             

นสพ.นิพนธ์ ตันติพิริยะพงศ์ นายกสมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUVA) กล่าวว่า ขณะนี้เราได้ น้องหนู-บุญยา โป้บุญส่ง นายกสมาคมนิสิตเก่าอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาช่วยงาน มี 8 องค์กรร่วมลงนาม MOU เพื่อช่วยกันทำงานแบบปิดทองหลังพระ เพื่อให้คนไทยบริโภคนมเพิ่มขึ้น ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลแสดงให้เห็นว่า 23% ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจมีความไม่มั่นใจในคุณภาพของน้ำนมโค ปัจจุบันการผลิตน้ำนมโคนั้นมีคุณภาพ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้มีมาตรฐานฟาร์ม ทางสัตวแพทย์สมาคมจะทำงานร่วมกับศูนย์นมและสหกรณ์โคนม เพื่อช่วยให้แม่โคมีสุขภาพดี มีการจัดการที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อที่จะได้น้ำนมโคที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อการบริโภค

             

บุญยา โป้บุญส่ง นายกสมคมนิสิตเก่าอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนสมาคมนิสิตเก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนร่วมในกิจกรรม เราผลิตวัวนมเพิ่มขึ้นมา ต่อไปเมืองไทยจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตวัวนมในกลุ่มประเทศ AEC เราตื่นตัวที่จะเห็นเมืองไทยเป็นแหล่งผลิตนมวัว และให้คนไทยได้ดื่มนมวัวเพื่อสุขภาพที่ดีมากขึ้นด้วย

             

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า “สสส.ในฐานะหน่วยงานที่ผลักดันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนไทยในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ  การจัดตั้งเครือข่ายรณรงค์การบริโภคนมนับเป็นครั้งแรก มีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้คนไทยได้ดื่มนมตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงอายุ นมมีคุณภาพดี เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง การส่งเสริมการบริโภคนั้นนอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพ ยังสามารถดื่มทดแทนการดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน อาทิ เครื่องดี่มชา น้ำอัดลม ที่ผ่านมาจึงได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ กิจกรรมดื่มนมชมบอลที่มีกลุ่มนักศึกษาในสถาบันการศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก หรือจัดกิจกรรมปาร์ตี้โนแอลในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่”

             

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า รู้สึกชื่นชมกระทรวงสาธารณสุขที่รณรงค์ช่วยเหลือเด็กที่ขาดสารอาหารมาแล้วถึง 30 ปี คนไทยยังโชคดีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงส่งเสริมการเกษตรช่วยกันสร้างแหล่งโปรตีนชั้นดี ปลา นม เด็กดื่มนมจากเดิมที่มีน้ำหนักตัวน้อยๆ ให้เพิ่มขึ้น ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมานั้นเราก็ล้มลุกคลุกคลานกันพอควร 6 เดือนแรกเด็กดื่มนมแม่และนมเสริม ในช่วงเด็กกำลังเจริญเติบโตมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ามาเสริม  อย่างไรก็ตาม นมเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี

             

ขณะเดียวกัน กรมอนามัยมีบทบาทส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี  การรณรงค์ให้คนไทยเพิ่มการดื่มนมให้ได้ตามคำแนะนำนั้นเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญของกรมอนามัยที่จะส่งเสริมให้เด็กไทยสูงสมวัย ซึ่งได้รณรงค์อย่างต่อเนื่องตลอด ด้วยการกำหนดลงไปในโภชนบัญญัติข้อที่ 5 โดยส่งเสริมให้คนไทยดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย กรมอนามัยยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ต่อไป”

             

อนึ่ง วิสุทธิ์ ผู้จัดรายการวิทยุFM 89.5 แสดงความคิดเห็นว่า แคลเซียมในนมเข้าถึงมวลกระดูกได้ดีที่สุด เพราะแคลเซียมทำงานควบคู่กับฟอสฟอรัส เด็กไทยจะสูงได้อย่างไรถ้าเด็กไทยไม่ชอบกินนม ซึ่งมีแคลเซียมทำให้กระดูกแข็งแรง โตขึ้นตัวเตี้ยอย่างแน่นอน ดังนั้นในยกแรกเราจะต้องช่วยกันตีฆ้องร้องป่าวให้เด็กไทยดื่มนมกันดีกว่า สสส.รณรงค์มาโดยตลอดว่าให้เหล้าเท่ากับแช่ง ธุรกิจบางอย่าง Milk Land เป็นสถานที่ดื่มนมขององค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่แห่งหนึ่งย่านฝั่งธนฯ ขณะนี้ผู้ปกครองรอลูกใน Milk Land เป็นวิธีการรณรงค์ที่แยบยลให้ทุกคนในครอบครัวดื่มนม.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"