สสส.-ภาคีเครือข่าย Kick Off ปล่อยคาราวานปูพรมคืนเดียวสำรวจคนไร้บ้านทั่วประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

ได้ฤกษ์เปิดเทอมวันแรก 16 พ.ค. สสส.และ 9 หน่วยงานภาคีเครือข่าย Kick Off ปล่อยคาราวาน 500 ชีวิตจัดทีมสำรวจเป็น Buddy จากเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อาสาสมัคร นิสิตสถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปูพรมคืนเดียวสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านหรือคนเร่ร่อนครั้งยิ่งใหญ่ ให้ตัวเลขครอบคลุมทั้งประเทศ หวังพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

        

บริเวณทางเข้าอาคารใหม่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) บนแท่นบูชามีรูปปั้นพระประชาบดีเนื้อโลหะสัมฤทธิ์องค์ใหม่ ซึ่ง ทวีป ทวีพาณิชย์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์คนที่ 19 และข้าราชการร่วมกันสร้างขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2537 เวลา 14.49 น. พร้อมกับอัญเชิญมาประดิษฐานที่แท่นบูชาหน้าอาคารใหม่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ธ.ค.2555 เวลา 15.39 น. ส่วนพระประชาบดีองค์เดิมได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ตึกวัง พลเรือเอกกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร 

        

ภายในห้องโถงใหญ่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในช่วงเย็นวันที่ 16 พ.ค.บรรยากาศคึกคักกว่าทุกวัน เนื่องจาก สสส. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พอช. ร่วมภาคี 9 หน่วยงาน จัดงาน Kick Off ปล่อยคาราวานทีมสำรวจข้อมูลประชากรคนไร้บ้านทั่วประเทศ ออกแบบโดยมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อนำมาจัดทำระบบข้อมูลการวิจัยและการจัดการความรู้สำหรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านอย่างยั่งยืน

        

ป้ายชื่อกลุ่มนั่งรวมตัวกัน “ทีมรอบจุฬาฯ” “พี่น้องเครือข่ายก้าวหน้า” “เครือข่ายพระราม 3” “เครือข่ายชุมชนรถไฟสายใต้ตะวันตก” “เครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนา” “ศูนย์รวมพัฒนาชุมชน” “เครือข่ายคนไร้บ้าน” “เครือข่ายพี่น้องใต้สะพาน” “เครือข่ายร่วมพัฒนาชุมชน” “เครือข่ายสลัม 4 ภาค” ในงานนี้ ไมตรี อินทสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. สุชินทร์ เอี่ยมอินทร์ (ลุงดำ) นายกสมาคมคนไร้บ้าน เป็นประธาน งานแถลงข่าว อาสาสมัครทีมสำรวจ นิสิตสถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนเจ้าหน้าที่รวม 500 ชีวิต พร้อมกัน 16 จังหวัดหลักครอบคลุมทุกภูมิภาค หลังสำรวจมีการแจงนับไปแล้วกว่า 70 จังหวัด ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

          

ไมตรี อินทสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ปัญหาคนไร้บ้านในเมืองไทยเป็นปัญหาสังคมมาช้านานมและแสดงออกถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมิซึ่งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมและสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

        

“ขอให้เราเข้าถึงอริยสัจ 4 ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัย เหตุทำให้เกิดทุกข์ นิโรธ ความดับทุกข์ มรรค ข้อปฏิบัติให้ดับทุกข์ เราทราบดีว่าทุกข์ของพี่น้องที่ไม่มีที่อยู่อาศัย เร่ร่อน ไม่มีที่พึ่ง ราชการช่วยเหลือได้ส่วนหนึ่งในสถานการณ์ที่ผันแปร เราต้องหาทางช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สถาบันพัฒนาสังคมฯ สนับสนุนสมาคมคนไร้บ้านให้มีที่พำนักย่านบางกอกน้อย ตลิ่งชัน ปรับปรุงบางปูสถานที่ไม่ไกลจากเมือง ในต่างจังหวัดที่เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี อุดรฯ โคราช กาญจนบุรี ชลบุรี เราจะไม่ปล่อยใครไว้ข้างหลัง เราจะเดินช้าลง แต่ไม่ใช่เป็นการเดินถอยหลัง วันนี้เราจะฝ่าข้ามไป เราจะทำงานให้สำเร็จ ขอปรบมือให้กับผู้เสียสละอยู่ข้างหลัง วิจัยหาข้อมูลปรุงแต่งช่วยกันคนละไม้คนละมือ ความสำเร็จอยู่ที่ความร่วมมือ ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จังหวะก้าวของท่านมีความหมาย แม้เราจะช้าแต่จะไม่ก้าวถอยหลังอย่างเด็ดขาด”

        

ครม.มีมติเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2559 เพื่อให้กระทรวง พม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน โดยให้สร้างศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพคนไร้บ้านใน 3 เมืองใหญ่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น มีเป้าหมายกลุ่มคนไร้บ้าน 698 ราย ใช้งบประมาณ 118 ล้านบาท โดยกระทรวง  พม.มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ดำเนินการ ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว 1 แห่งที่เชียงใหม่ ส่วนที่เหลือกำลังดำเนินการ เพื่อให้ศูนย์เหล่านี้เป็นที่พักพิงชั่วคราวของคนไร้บ้าน มีการส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไร้บ้านกลับคืนสู่สังคมได้

        

ขณะนี้ยังมีกลุ่มคนไร้บ้านอีกจำนวนมากที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามสถานที่สาธารณะกระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9 หน่วยงานร่วมกันสำรวจข้อมูลประชากรคนไร้บ้านในเขตเทศบาลทั่วประเทศรวม 77 จังหวัด มีการปล่อยคาราวานเพื่อสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในวันนี้ เพื่อนำข้อมูลจากการสำรวจมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านอย่างยั่งยืนต่อไป

        

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวขอบคุณกระทรวง พม. พอช.ที่ช่วยกันเก็บข้อมูลคนไร้บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประชากรหนึ่งที่ สสส.ตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายคนไร้บ้าน ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาวิธีวิทยา และเครื่องมือในการสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างเป็นระบบขึ้น เริ่มทำการสำรวจครั้งแรกในปี 2558 นำร่อง 3 จังหวัด กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านเป็นจำนวนมาก พบว่าจำนวน 1,500 คนเป็นคนไร้บ้านใน กทม. ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 28 ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ร้อยละ 55 เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพและสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐ และร้อยละ 70 มีปัญหาสุขภาพจิต

        

การสำรวจคนไร้บ้านในครั้งนี้ สสส. ภาคีทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมสนับสนุนด้านองค์ความรู้ วิธีการในการแจงนับและสำรวจประชากรคนไร้บ้าน และแกนนำเครือข่ายเข้าร่วมในการสำรวจพร้อมกันในคืนเดียวทุกพื้นที่ หรือเรียกว่า One Night Count สามารถป้องกันการนับประชกรคนไร้บ้านซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำทั้งด้านจำนวนและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพเชิงลึกของคนไร้บ้าน “การสำรวจคนไร้บ้านครั้งนี้น่าจะลดลง เพราะศูนย์คนไร้ที่พึ่ง ก.พม.ทำงานอย่างเข้มแข็ง เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไร้บ้านกระจายตัวไปอยู่ที่อุทัยธานี ภูเก็ต”

        

การสำรวจข้อมูลพร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ผู้เก็บข้อมูลต้องผ่านการอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มคนไร้บ้านอย่างเป็นมิตร รวมทั้งต้องฝึกทักษะการตั้งคำถามเก็บข้อมูลที่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนและหลักสิทธิมนุษยชน นอกจาก สสส.จะให้ความสำคัญต่อข้อมูลในเชิงปริมาณแล้ว ข้อมูลเรื่องสถานะสุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการออกแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะของคนไร้บ้าน โดย สสส.ให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูศักยภาพ เพื่อให้คนไร้บ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ และกลับคืนสู่ครอบครัว/ชุมชนโดยเร็ว

        

การสำรวจประชากรคนไร้บ้านเป็นข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนในระดบพื้นที่และระดับนโยบาย เพื่อการเข้าถึงสุขภาวะของคนไร้บ้าน การสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านในครั้งนี้ถือเป็นการสำรวจครั้งแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการภายในคืนเดียว ด้วยแนวคิดที่ว่าการเข้าถึงที่อยู่อาศัยเพื่อการฟื้นฟู หรือแนวคิด “Housing first” เป็นแนวคิดในการทำงานที่ได้รับการยอมรับขององค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับคนไร้บ้านทั่วโลก Austratian Housing and Urban Research Institute ประเทศออสเตรเลีย หรือ United States Interagency Council on Homelessness ประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลจากการสำรวจนำมาสู่การผลักดันเชิงนโยบายร่วมกับ พม. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายคนไร้บ้าน  เกิดเป็นมติ ครม.เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2559 ที่เห็นชอบในหลักการ  “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน ทำให้เกิดศูนย์คนไร้บ้านเพิ่มอีก 3แห่งที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น

        

นภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการสำรวจคนไร้บ้าน เพื่อให้เขามีที่อยู่และได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ครบถ้วน นับตั้งแต่การมีบัตรประจำตัวประชาชน สิทธิในการรักษาพยาบาล ฯลฯ “เราจะต้องทำให้คนไร้บ้านมีตัวตน มีชีวิตปกติอย่างสง่างาม มีสิทธิในการดูแลตัวเอง ในระหว่างการสำรวจ คนไร้บ้านก็กลัวท่าน ท่านก็กลัวคนไร้บ้าน เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นถ้าอยากพูดคุยให้เขาระบายความรู้สึกก็ต้องสร้างความไว้วางใจ”

        

สุชินทร์ เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน กล่าวว่า คนไร้บ้านมาจากหลายสาเหตุ บางคนมีปัญหากับครอบครัว มีโรคประจำตัว พิการ ครอบครัวรังเกียจ เป็นผู้สูงอายุไม่มีคนดูแล ตกงานไม่มีรายได้ ไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน บางคนเพิ่งออกมาจากคุกไม่มีทางไป บางคนชอบอิสระ ไม่ชอบทำงาน ต้องออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามที่สาธารณะ ริมถนน สวนหย่อม สถานีรถไฟ ใต้สะพานลอย สถานีขนส่ง ส่วนใหญ่มีรายได้จากการเก็บขยะรีไซเคิล ขวด กระป๋องเครื่องดื่ม เศษกระดาษ มีปัญหาต่างๆ  สุขภาพไม่ดี ไม่มีบัตรประชาชนหรือบัตรหาย เมื่อเจ็บป่วยไปหาหมอไม่ได้ ทำให้เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ “ผมเชื่อว่าคนไร้บ้านมีเป็นเหมื่นคน โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี จะมีคนตกงานกลายมาเป็นคนไร้บ้านมากขึ้น เดี๋ยวนี้คนไร้บ้านไม่ใช่จะมีแต่คนแก่เท่านั้น คนวัยทำงานก็ออกมาเป็นคนไร้บ้านมากขึ้น”

        

ปัจจุบันกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดย พอช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนการจัดสร้างศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านขึ้นมา 3 แห่ง เชียงใหม่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อกลางปี 2561 สามารถรองรับคนไร้บ้านได้ 50 คน ทำให้คนไร้บ้านในจังหวัดเชียงใหม่มีที่พักพิง มีทั้งห้องพักส่วนตัวและห้องพักรวม มีการฝึกอาชีพต่างๆ ทำการเกษตร เลี้ยงไก่ ส่วนที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯ กำลังดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีศูนย์พักคนไร้บ้าน สุวิทย์ วัดหนู เขตบางกอกน้อย ศูนย์พักคนไร้บ้านตลิ่งชัน และโครงการบ้านหลังแรกของคนไร้บ้านที่ริมทางรถไฟย่านพุทธมณฑลสาย 2 ดำเนินงานโดยมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยและเครือข่ายสลัม 4 ภาค

        

แผนงานพัฒนาคุณชีพวิตกลุ่มคนไร้บ้าน เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว และเสริมสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย และครอบคลุมในทุกมิติ มีเป้าหมายทั้งหมด 3 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ รับผิดชอบ 1 ล้านครัวเรือน (บ้านมั่นคง บ้านพอเพียงชนบท คนไร้บ้าน) ส่วนการเคหะแห่งชาติรับผิดชอบ 2 ล้านครัวเรือน (บ้านเอื้ออาทร บ้านการเคหะฯ)

        

นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย กล่าวว่า การสำรวจประชากรคนไร้บ้านครั้งที่มาจากความร่วมมือร่วมใจผลักดันในระดับนโยบายของภาคีเครือข่าย นำไปสู่มติ ครม. ตัวเลขคนไร้บ้าน ยังเป็นตัวสะท้อนความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ รวมทั้งสถานการณ์ปัญหาคนจน หากจำนวนคนไร้บ้านมีจำนวนสูงขึ้นจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือปัญหาคนจนยังไร้ประสิทธิภาพ  และสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดกลไกในการรองรับหรือป้องกันกลุ่มคนเปราะบางที่มีโอกาสกลายเป็นคนไร้บ้าน ทั้งนี้ ภายหลังการสำรวจภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการจะมีการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งร่วมกันกำหนดบทบาทและแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป.

 

รู้จักคนไร้บ้าน?

         ภาพยนตร์วีดิทัศน์รู้จักคนไร้บ้านหรือไม่? (สำรวจ 62 จังหวัด)

         รู้จักคนกลุ่มนี้หรือไม่? จะเจอได้ที่ไหนบ้าง? “ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว รู้จักผ่านสื่อ” “คนไร้บ้านไม่ได้พักอยู่ในบ้าน ชอบเร่ร่อนไปมา พักอยู่ที่สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง เจอตามรถโดยสาร”

         “มองคนพิการ จิตป่วน มองว่าเขาเป็นคนอย่างไร?”

         “ไม่มีที่อยู่ ขอคนอื่นเขากิน แต่งตัวสกปรก ไม่กล้าเข้าไปคุยด้วย” “เราอยากจะช่วยเหลือเพราะสงสารเขา” “ถ้าเขาเกิดเมามาก็ไม่อยากเข้าไปอยู่ใกล้ๆ ไม่ถึงกับกลัว แต่ไม่อยากอยู่ใกล้ๆ”

            สุชินทร์ เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน ตีฆ้องให้สัญญาณการ Kick Off สำรวจในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 16 จังหวัดเป็นฐานข้อมูลช่วยเหลือกลุ่มคนไร้บ้าน อย่างที่เรียกว่า The Power of Human...ในขณะที่ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ตัวแทนจาก สสส. ภาคีเครือข่ายตัดริบบิ้นพวงมาลัยดอกมะลิ กลองยาวประยุกต์คณะครูแดง เจริญศิลป์ นำคณะทั้งหมด 13 คนสวมเสื้อแพรสีชมพูผ้าผูกเอวสีเหลืองและเขียวร่ายรำขบวนกลองยาว

        

 

ท้องถนนคือห้องส่วนตัวของชายจรจัด

         ชีวิตของชายเร่ร่อนนามสมมติ “โจ้” วัย 57 ปี ดูจะเป็นเรื่องน่าน้อยเนื้อต่ำใจอย่างยิ่ง ไม่ได้กินดีอยู่ดี นอนหลับไม่ดี เผลอนอนหลับลึกก็ถูกขโมยกระเป๋าสตางค์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ต้องแจ้งบัตรประจำตัวประชาชนหายถึง 22 ครั้ง ทุกครั้งเวลานอนอยู่ข้างถนนก็ต้องคอยกอดกระเป๋าไว้ ฝนตกแดดออกก็ต้องอดทน เพราะท้องถนนไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย วันก่อนปวดท้องมากๆ สาเหตุติดเชื้อในกระแสเลือด ก็ฝากกระเป๋าเสื้อผ้าไว้กับเพื่อน ส่วนตัวเองใช้บัตรทองไปหาหมอที่ รพ.กลาง ต้องเข้าห้องไอซียู 10 วัน “จริงๆแล้วผมก็มีญาติพี่น้อง แต่เขาต้องดูแลแม่ ถ้าผมมาให้เขาดูแลอีกคนหนึ่งก็กลายเป็นภาระของเขา ผมเข้ามาอยู่ กทม.รับจ้างรับเหมาก่อสร้าง แต่ตอนนี้ไม่สบายไม่มีแรงทำงาน”

         ก่อนหน้าที่โจ้จะกลายเป็นคนเร่ร่อนพเนจร เคยทำงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง ถูกส่งไปทำงานตามแคมป์งานต่างๆ  ต่อมาลาออกไปทำงานอีกบริษัทหนึ่งและประสบอุบัติเหตุ ก็รับจ้างเป็นรายวัน ตอนนี้ก็รับจ้างไปเข้าคิวเพื่อรับพระเครื่องที่ปลุกเสกตามวัดต่างๆ มีคนมาติดต่อจ้างครั้งละ 300 บาท บางครั้งไปถึงนครปฐมต่อรถเข้าไปหลายทอด เงิน 300 บาทเจอค่ารถก็แทบจะไม่เหลือแล้ว “งานรับพระเครื่องก็ไม่ได้มีทุกวัน บางครั้งก็ต้องไปขอข้าวก้นบาตรพระที่วัดดวงแขมากิน ไปสนามหลวง ไปเสาชิงช้าก็ไป ทุกวันนี้ก็ไปอาบน้ำที่สวนลุมฯ ไม่ต้องเสียสตางค์”

         ขณะนี้โจ้ยังมีโรคภัยไข้เจ็บติดตัวกระดูกทับเส้น ข้อเข่าเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง วันนี้ตื่นเช้าไม่ได้ทำอะไร ได้แต่หาข้าวกิน เพราะต้องกินยาก่อนอาหารตามหมอสั่ง ตอนไปอยู่ รพ.ฝากกระเป๋าเสื้อผ้าไว้กับเพื่อนก็หายไป เพื่อนบอกว่าวางไว้แล้วมีคนมาเอาไป ช่วงหลังผมไปหาหมอที่มรพ.เทียนฟ้าไปรับยามากิน แต่หมอบอกว่าจะต้องผ่าตัด

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"