SOOK Publishing สสส.เปิดตัวหนังสือ “บางทีเราก็ลืมคิดไปว่า....” มุ่งเน้นสังคมที่มีปัญญา ปรับเปลี่ยนวิธีคิดแล้วลงมือทำฝันให้เป็นจริง พิทยากร ลีลาภัทร์ (เอ็ดดี้) วิทยากรวัย 51 ปี เจ้าของเพจธนาคารความสุข ผู้ติดตามกว่า 3 แสนคน สนใจธรรมะ 21 ปี ศึกษาปฏิบัติธรรมะกับคุณแม่สิริ กรินชัย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช อ่านหนังสือธรรมะนิกายเซ็นในช่วงแรก ฝึกมองโลกตามความเป็นจริงให้มีทั้งมุมบวกและมุมลบเป็นเรื่องธรรมดา ฝึกการมีสติให้เยอะๆ สุชาวดี ดีพรม นักอ่านแฟนคลับตัวจริงนำไปปฏิบัติ Work Balance ในชีวิตงานนักบัญชี
SOOK Publishing สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดตัวหนังสือ “บางทีเราก็ลืมคิดไปว่า....” เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มี.ค. เวทีเอเทรียม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ร่วมวงเสวนาโดย เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาพ สสส. พิทยากร ลีลาภัทร์ (เอ็ดดี้) นักเขียน วิทยากร เจ้าของเพจธนาคารความสุข สุชาวดี ดีพรม แขกรับเชิญ กตัญญู สว่างศรี (ยู) ทำหน้าที่พิธีกร
หนังสือบางทีเราก็ลืมคิดไปว่า...เขียนโดย พิทยากร ลีลาภัทร์ มีทั้งหมด 30 คำคมและข้อคิดเพื่อเข้าใจชีวิตและเข้าใจโลกตามจริง จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย SOOK Publishing ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ดำเนินการผลิตโดย บุ๊กแด๊นซ์ สตูดิโอ จำกัด พิมพ์ที่วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด จัดจำหน่ายโดย บ.เคล็ดไทย จำกัด
เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาพ สสส. ในฐานะผู้รับผิดชอบสำนักพิมพ์ SOOK กล่าวว่า อยากทำให้การอ่านไม่จบลงที่หนังสือ ให้กลับไปอ่านต่อที่บ้าน ปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เป็นจุดเด่นของหนังสือ หลายครั้งเราคิด แต่ยังไม่ลงมือทำ เราอยากให้คนอ่านลงมือทำแล้วชีวิตจะดีขึ้น สสส.มุ่งเน้นสังคมที่มีปัญญา ทำอย่างไรให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิธีคิด สังคมจะดีขึ้นด้วย การทำบ่อยๆ ทำให้เกิดนิสัยที่เป็นจริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ สำนักพิมพ์ SOOK มีฐานมาจาก สสส. ข้อมูลน่าเชื่อถือเป็นองค์กรของรัฐ เราอยากให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้นได้จริง ครอบครัว ชุมชน หนังสือต่อยอดได้จริง ในหนังสือมีการพูดว่าถ้าเราคิดจะเปลี่ยนโลก ไปช่วยแม่ล้างจานดีกว่า หมายความว่าให้ทำเรื่องที่ใกล้ตัวก่อน ประโยคที่พูดนั้นหมายความว่าช่วยเรื่องในบ้านก่อนได้ไหม ถูบ้าน เก็บบ้านแล้วหรือยัง คนมักจะคิดถึงเรื่องของคนที่ไกลตัวมากกว่าคนใกล้ตัว เราชอบเกรงใจคนที่อยู่ไกลตัวเรามากกว่าคนใกล้ตัวที่อยู่ภายในบ้าน คำคมคำเดียว Apply ได้มีบริบทที่ขยายความออกมาได้ เราทำเรื่องใกล้ๆ ตัวช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน มีความเห็นใจคนใกล้ตัว บางคนเกรงใจใครก็ไม่รู้ที่เขาไม่ได้อยู่กับเรา
เราต้องหมั่นสังเกตตัวเองเสมอๆ ฟังธรรมะแล้วต้องรู้จักสังเกต ถ้ารู้ว่าเราไม่นิ่งก็ต้องดึงตัวเองให้กลับมา ต้องบอกกับตัวเองเสมอๆ เราสามารถสังเกต ตัดสินใจ เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น คอยเตือนตัวเองอยู่เสมอ หลายคนอาจจะลืมคิดไปเมื่อพูดตอนโกรธจะเสียใจ
พิทยากร ลีลาภัทร์ (เอ็ดดี้) นักเขียน วิทยากร เจ้าของเพจธนาคารความสุข กล่าวว่า ได้รับการติดต่อจากวารสารชื่อ “สุข” ให้เขียนคอลัมน์ในฐานะเป็นเจ้าของแฟนเพจ “ธนาคารความสุข” เขียน 12 ตอนเรื่องคำคม ก่อนหน้านั้นก็เขียนเรื่อง Mind Map เขียนในมุมมองจากคำพูดมาย่อยให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเพื่อให้คนรู้สึกดีกับชีวิต การทำงานกับสิ่งรอบตัว เด็กๆ ก็ชอบอ่าน คำคมชุดแรกๆ หยิบเรื่องการอ่านแบบเซ็นมานำเสนอ “ธงไม่ได้สั่นไหว หากแต่ใจเธอที่สั่นไหว” เธอเห็นตุงไหม? คนหนึ่งบอกว่าลมพัดตุงจึงสั่นไหว ไม่เกี่ยวกับลม ตุงเองที่สั่นไหว อ่านแล้วงงดี แต่ก็เป็นความเท่ คำตอบก็คือธงไม่ได้สั่นไหว ลมไม่ได้สั่นไหว แต่ใจเธอที่สั่นไหว
“ผมอ่านหนังสือธรรมะ คำคมจำพวกเซ็นตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก ที่วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ พิมพ์หนังสือธรรมะที่เป็นสายวัดอุโมงค์ มีงานของท่านพุทธทาสภิกขุ มีนิทานแจกฟรี สมัยนั้นรู้สึกอ่านสนุกแม้จะไม่เข้าใจลึกซึ้งนัก เมื่อต้องคัดเลือกคำคมก็ต้องนึกก่อนว่าอ่านแล้วชอบฝังใจ ก็คัดเลือกแยกออกมาว่าอยู่ในหมวดไหน เรื่องการวางตัว การใช้ชีวิต การทำงาน ความพยายาม ถ้าจะให้เขียนคำคมเป็นร้อยๆ อันก็ทำได้ หนังสือเล่มนี้ขายดี ก็ช่วยกันอุดหนุนจะได้ทำเล่ม 2 ต่อไปด้วย มีคำสอนของครูบาอาจารย์ โลกไม่ได้วุ่นวาย แต่ใจเราที่วุ่นวาย ธงไม่ได้สั่นไหว การเมืองไม่วุ่นวาย การเมืองเป็นเท่าที่เป็น แต่เพราะเราไปวุ่นกับการเมือง เราก็ใช้ชีวิตอย่างปกติ กินข้าวแล้วออกไปทำงาน เราจะไม่วุ่นวาย เราสนใจเรื่องเหตุ-ผล เราปลูกกล้วยเพื่อกินกล้วย ปลูกอ้อยเพื่อกินอ้อย ทุกคนล้วนแล้วแต่มีเหตุผลของตัวเอง คำคมที่ว่าเรากล่าวล่วงเกินใครก็หวังเขาให้อภัย ใครล่วงเกินเราก็ลืมเรื่องการให้อภัย เมื่อเราโดนบ้างก็ไม่ยอมให้อภัยเขา
เรื่องความสุขความทุกข์ เราเป็นสุขดีอยู่แล้วก็ปล่อยไป แต่ถ้าเมื่อไหร่เราไม่สบายใจ หงุดหงิด เครียดมาจากการดู Social Media ใจเราอยู่กับสิ่งที่คนอื่นพูด คิด ทำ เราย้อนกลับมาดูที่ใจเรา สิ่งที่คนอื่นพูด ทำให้เราคิดมาก เราจะโทษเขา สิ่งแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อปอด แต่ไม่มีผลต่อความทุกข์ใจของเรา เราจะโกรธผู้ว่าราชการจังหวัด ลุงตู่ว่าไม่ทำอะไร ทั้งๆ ที่อากาศเป็นพิษต่อสุขภาพ ขณะเดียวกันความคิดก็เป็นพิษต่อใจของเราเอง เราต้องสนใจความคิดของตัวเราเองด้วย เข้าไปสังเกตตัวเอง คุยกับตัวเอง ใคร่ครวญความคิด ถ้าเมื่อไหร่เราคุยกับตัวเองแล้วเกิดความคิดสองด้าน เราจะทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์ สังเกตว่าใจเราทำอะไรอยู่ ชวนคุยให้รู้เท่าทันก่อน ถ้าเราไม่รู้ทันความคิดจะเริ่มเป็นนายเรา ค่อยๆ กล่อมเราได้ เราต้องคิดในทางที่ดีเป็นกัลยาณมิตร อย่าได้หาความทุกข์มาใส่ตัวเราเอง มิฉะนั้นความทุกข์ก็จะล้อมเราไปเรื่อยๆ
ใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ขอแนะนำให้อ่านหลายๆ รอบ แต่ละเรื่องพูดในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อ่าน 3 เที่ยวจะได้รู้สึกว่าคุ้มๆ หน่อย การอ่านหนังสือซ้ำๆ จะมีประโยชน์ เราอยู่ในสถานการณ์บางอย่างทำอะไรผิดพลาดได้ เราคงไม่โยนชีวิตทั้งชีวิตทิ้งไปเพราะมีตำหนินิดๆ หน่อยๆ หลายครั้งเราได้ยินคำพูด “ไม่อยากอยู่แล้ว” ทั้งๆ ที่ชีวิตผิดพลาดไม่กี่อย่าง ยังไม่ได้ร้ายแรงอะไรถึงขนาดนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับเวลาเมื่อ 30-40 ปี ความผิดพลาดก็มี แต่คงไม่ต้องถึงขั้นประชดชีวิต ไม่ทำอะไรอีกแล้ว ถ้าเลิกทำก็เป็นเรื่องที่สุดโต่งจนเกินไปแล้ว
การปรับคุณภาพชีวิตของตัวเอง ยกระดับชีวิตตัวเองให้สูงขึ้นด้วยสัมมาทิฐิ คือต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการมีชีวิตอยู่เป็นเรื่องสำคัญ การอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นการปรับทัศนคติที่สุดโต่งมาสู่เส้นทางสายกลาง ขยันได้แต่อย่าโลภมากเกินตัว ห้ามขี้เกียจด้วยนะ จะสุดโต่ง ก่อนที่เราจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เราต้องสำรวจตัวเองด้วยการฝึกฝนมองด้านที่แตกต่างจากความคิดกรอบเดิมๆ ที่มีอยู่ วันหนึ่งจะอยู่ในสถานการณ์ที่เรามีมุมมองที่เราต้องแยกแยะ ด้านหนึ่งที่เราไม่เคยมองเลย คือการมองโลกตามความเป็นจริงให้มีทั้งมุมบวกและมุมลบเป็นเรื่องธรรมดา บางเรื่องไม่จำเป็นต้องมีด้านบวก เห็นโลกตามความเป็นจริงให้ได้ ฝึกการมีสติให้เยอะๆ อยู่กับความจริง ณ ปัจจุบันของตัวเอง อย่าฝึกด้วยการ Focus ตัวเอง การปฏิบัติธรรมสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เพื่อจะได้มีสติ พุทโธดูความจริง ปากพูดพุทโธ แต่ใจทำงานไปด้วย เติมมุมมอง ช่วยทำให้เรามองต่างมุมลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
การเขียนหนังสือทุกเล่มมีความตั้งใจที่จะเขียนหนังสือให้อ่านง่าย นำธรรมะมาใช้ในทางโลก อย่ากลัวการอ่านหนังสือด้วยข้ออ้างที่ว่าฉันไม่เคยเข้าวัด เข้าไปวัดแล้วจะร้อน ให้ทดลองเปิดหนังสืออ่านดู
ในขณะที่เราล่องเรือกลางทะเล มหาสมุทร เราไม่สามารถควบคุมลมได้ เราต้องปรับใบเรือตามทิศทางลม เรือจะได้เดินทางสู่เป้าหมายได้ ไม่ใช่ว่าลมจะพัดตามใจเรา คนที่ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ไม่สามารถคาดหวังว่าจะมีคนซื้อหนังสือ 1 ล้านเล่ม เราต้องทำให้ดีที่สุด มีความตั้งใจที่จะเขียนผลงานให้ดีที่สุด ก็ต้องมีการคอนโทรลให้ดี เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี เราก็ต้องปรับตัวเองด้วยเหมือนกัน
สุชาวดี ดีพรม หรือ “แตง” แขกรับเชิญในฐานะผู้อ่าน เป็นพนักงานบัญชีการเงิน บริษัทเอกชน กล่าวว่า รู้จักกับพี่เอ็ดดี้เมื่อ 9 ปีก่อนจาก Twitter อ่านนิทานประวัติแล้วเข้าใจง่าย ไม่เหมือนอ่านหนังสือเรียนสมัยชั้นประถมและชั้นมัธยม อ่านแล้วจำไม่ได้ อ่านแล้วรู้สึกง่วง แต่เมื่อหยิบหนังสืออ่านบทความสั้นๆ ของพี่เอ็ดดี้แล้ว ภาษาเหมือนเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ เข้าใจและถ่ายทอดออกมา อ่านแล้วก็อยากรู้เรื่องทำให้อ่านเพลิดเพลินมาก ติดตามอ่านผลงานทาง facebook page ธนาคารความสุข เมื่อออกหนังสือธนาคารความสุขก็ติดตามผลงาน พอมีแฟนเขาก็หาซื้อหนังสือมาให้อ่านและมา Share กันว่าได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้บ้าง ขณะนี้มีหนังสือของพี่เอ็ดดี้ครบจำนวน 10 เล่ม เพราะอ่านแล้วเข้าใจง่ายเพลิดเพลิน เล่มนี้เป็นเล่มที่ 11
“แตงเป็นคนขี้หงุดหงิด โมโหง่าย ในขณะที่แฟนขี้เป็นห่วงค่อนข้างมากและตลอดเวลา โทร.เข้ามาถามบ่อยว่าถึงไหนแล้ว ใกล้ถึงแล้วหรือยัง เราก็รู้สึกรำคาญว่าทำไมต้องถามบ่อยๆ หลายครั้งที่ได้อ่านหนังสือของพี่เอ็ดดี้แล้วนำมาปฏิบัติ โกรธให้รู้ว่าโกรธ ฝึกใจให้เย็นลง ให้มีสติ ให้นำมาปรับใช้ในชีวิตคู่ ก็นำมาปรับใช้ในชีวิตจริงด้วย”
ในช่วงจังหวะนี้เอ็ดดี้ก็มีส่วนร่วมด้วยว่า “ผมเขียนหนังสือทางโลก แต่นำเรื่องธรรมะมาอธิบาย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาทางธรรมะ แตงแต่งงาน เชิญผมไปพูดให้โอวาทด้วย ผมก็เขินๆ หันมาดูหน้าตาตัวเองว่าถึงวัยแล้วหรือ? ทุกเครดิตที่ได้รับผมยกให้พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ ทุกอย่างล้วนแล้วมีพื้นฐานมาจากธรรมะ ธรรมะในความหมายที่เข้าใจคือความจริงของชีวิต ความจริงของโลก เรารู้จักวิธีที่เข้าไปจัดการกับเรื่องอะไร จะเปิดของให้คว่ำหรือให้หงาย มีกะลาครอบตัวเราอยู่ คล้ายๆ กับชื่อหนังสือ เราลืมคิดว่ามีด้านนี้อยู่ เราลืมคิดไปว่า...ก่อนจะช่วยโลก ช่วยแม่ล้างจานดีกว่าไหม ทีวุ่นวายอยู่เพราะเราไปยุ่งกับเขา ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง นักการเมือง กกต. ลุงตู่ ต่างก็มีหน้าที่ของเขา แต่ถ้าเรายุ่งจะมีผลกระทบ เพราะเราทำตัวของเราเอง ต่อไปเราอ่านข่าวติดตามข่าวการเมือง เมื่อมีทุกข์ก็อย่าไปโทษคนอื่น เราต้องกลับมาดูใจของเราด้วย”
สุชาวดี ดีพรม กล่าวว่า ช่วงเวลาทำงานค่อนข้างเครียด แต่จะเลือกการแบ่งเวลา เวลางานก็คืองาน เวลากลับบ้านแล้วจะไม่นำงานกลับไปทำที่บ้านให้เกิดความเครียด เรียกว่าเราต้องมี Work Balance จัดลำดับความสำคัญในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวที่บ้าน ต้องกระตือรือร้นทำงานให้เสร็จที่ทำงาน เพื่อกลับถึงบ้านแล้วจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องงานเข้ามากวนใจ.
พิทยากร ลีลาภัทร์
เจ้าของเพจ “ธนาคารความสุข” www.facebook.com/aston27
เกิดปี 2511 ที่ รพ.หญิง กรุงเทพฯ ถูกส่งมาอยู่กับอากงอาม่าที่เชียงใหม่ตั้งแต่ยังจำความไม่ได้ จึงบอกใครต่อใครว่าเป็นคนเชียงใหม่ เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 รร.จีนชื่อซินเซิง จบชั้นประถมปีที่ 6 ปรินส์รอแยลวิทยาลัย ย้ายเข้ามาเรียนชั้นมัธยมหนึ่งถึงมัธยมหกที่ รร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เลือกสอบเข้าเรียนคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอกโฆษณา เป็นอันดับแรก ได้ไปเรียนไกลถึงรังสิตในปี 1และอีก 3 ปีเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปัจจุบันเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ทำงานครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาดให้กับบริษัทยางสยามในเครือซิเมนต์ไทย หลายปี ต่อมาเป็นลูกจ้างบริษัท ไทย อเมริกัน สายงานโฆษณา การตลาด การขาย และจัดรายการวิทยุ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์
ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ นักเขียน บล็อกเกอร์ วิทยากร ทำงานบรรยายฝึกอบรมให้องค์กรชั้นนำมากมาย เน้นเรื่อง Soft Skill ให้ความรู้จากจิตสู่จิต ช่วยให้คนทีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง เพื่อให้งานองค์กรและครอบครัวมีความสุขมากขึ้นกับชีวิตเจ้าของเพจ “ธนาคารความสุข” www.facebook.com/aston27/ ช่วยไขปัญหาให้ผู้คนมากกว่า 10 ปี
“ผมไม่คิดที่จะ Change มองภาพสังคมแบบยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่เป็นการมองจากปัจเจกของบุคคลแต่ละคน ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราต้องพัฒนาวิธีคิดจิตใจของตัวเองรับมือกับสภาพชีวิตเดิม ๆ ด้วยเงื่อนไขเดิมๆ สังคมจะดีขึ้นถ้าเราคิดให้เป็น ความคิดที่เป็นประโยชน์ มองโลกตามความเป็นจริง ผมเขียนเรื่องธรรมะเพื่อจับต้องได้ ผมศึกษาธรรมะมาแล้ว 21 ปี เมื่ออายุ 29 ปี เริ่มต้นฝึกปฏิบัติกับคุณแม่สิริ กรินชัย จากนั้นก็ฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ”
“คำคมที่อ่านในสมัยเด็กมักจะอ่านแล้วชอบ เพราะมันเท่ดี อ่านแล้วรู้สึกตัวเอง (ดู) ฉลาดขึ้นเบอร์หนึ่ง ทั้งที่บางทีก็ไม่ได้เข้าใจอะไรนักหนา ครั้นเมื่อโตขึ้น ชราภาพลง ผมพบว่า บางครั้งความเข้าใจในคำคมเหล่านั้นกลับลึกซึ้งขึ้น โดยที่เราไม่ต้องพยายามอะไรมากเลย อย่างคำกล่าวที่ว่า “ข้าพเจ้ารู้ตัวว่าฉลาดขึ้น เมื่อข้าพเจ้าค้นพบว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลย” มันเหมือนถ้วยชาที่ถูกเทน้ำชาเก่าออกไป พร้อมจะรับน้ำชาใหม่ๆ ที่ร้อนกว่า หอมกว่า ใหม่กว่า ใช่กว่า และรสเข้ม แต่กลมกล่อมยิ่งกว่า เวลาเข้าใจพวกคำคมมากขึ้น ก็อดนึกเสียดายไม่ได้ว่า ถ้ามีคนอธิบายให้เราเข้าใจมากขึ้นตั้งแต่ตอนเราอายุน้อยๆ เราอาจจะเข้าใจชีวิต เข้าใจโลกมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การได้เลือกหยิบเอาคำคมดีๆ มาเขียนถึงในหนังสือเล่มนี้ จึงเขียนด้วยความตั้งใจว่าจะแบ่งปันประสบการณ์ให้ผู้อ่านทั้งที่เคยสำเร็จและผิดพลาดมา.....”
คำคมโดนใจผู้อ่านจาก30คำคมและข้อคิด
เพื่อเข้าใจชีวิตและเข้าใจโลกตามจริง
อย่าริเปิดร้านค้า นอกจากคุณจะเป็นคนชอบยิ้ม
(ภาษีตจีน)
เราล่วงเกินใคร ก็หวังให้เขาให้อภัย ครั้นใครล่วงเกินเรา เราก็ลืมเรื่องการให้อภัย
(พุทธทาสภิกขุ)
เขายอมเสียสละสุขภาพตนเองเพื่อหาเงิน จากนั้นก็ยอมเสียเงินเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ
(องค์ทะไลลามะ)
ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งจากครู เรียนรู้มากขึ้นจากหนังสือ แต่ที่สอนผมมากที่สุด คือความผิดพลาดของผมเอง
(นิรนาม)
อย่าเอาบทที่ 1 ของเรา ไปเทียบกับบทที่ 20 ของคนอื่น
(วอร์เรน บัฟเฟตต์)
ทางเดียวที่จะทำงานให้ยอดเยี่ยม คือการรักในสิ่งที่ทำ
(สตีฟ จ๊อบส์)
ใช้เงินกับสิ่งที่เงินซื้อได้ ใช้เวลากับสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้
(ฮารุกิ มุราคามิ)
การพูดตอนกำลังโกรธ คือการพูดชั้นดีที่จะทำให้คุณเสียใจอย่างที่สุด
(กรูโช มาร์กซ์)
พึงระวังวิธีคิดของท่าน เพราะชีวิตท่านถูกกำหนดด้วยความคิดของท่านเอง
(ริก วอร์เรน)
เวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้ คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว รองลงมาคือ ...ตอนนี้
(ภาษิตจีน)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |