สสส.จับมือทูลมอโรเข้าถึง23ล้านครอบครัวนักจิตวิทยาชี้นำเข้าใจลูกหลานวัยรุ่นยุค 4.0


เพิ่มเพื่อน    

สังคมไทยซับซ้อนมากขึ้น สสส.ร่วมกับบริษัท ทูลมอโร จำกัด(Toolmorrow) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสื่อออนไลน์ พ่อแม่ทลายกำแพงช่องว่างเข้าใจลูกหลานวัยรุ่นยุค 4.0 “ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวอบอุ่น” มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่นชี้นำ พ่อแม่ยุคนี้ปากกัดตีนถีบ ครอบครัวขยายในสังคมไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จำเป็นต้องมีการปรับตัว  คลิกดูได้ www.AFTERSCHOOLONLINE.TV เบื้องหลัง 1 ปีศึกษาและผลักดันเป็นจริง ครอบครัวไทย 23 ล้านครอบครัวจำเป็นต้องสร้าง Platform on Line เผยแพร่ให้เข้าถึงคนส่วนใหญ่

         

งานแถลงข่าว “แพลตฟอร์มออนไลน์กับการสื่อสารกับลูกหลานวัยรุ่นยุค 4.0” พร้อมเปิดตัวรายการทีวีออนไลน์ “รอลูกเลิกเรียน” (After School) จัดโดย สสส. ร่วมกับบริษัท ทูลมอโร จำกัด (Toolmorrow) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสื่อออนไลน์ เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารผ่าน Platform Online ของผู้ปกครองในครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่น  แก้ไขปัญหาช่องว่างเรื่องสัมพันธภาพและการสื่อสารในครอบครัว โดยมีความเชื่อว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวอบอุ่น” วันจันทร์ที่ 1 เม.ย. ที่ห้อง Green ชั้น B1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอยงามดูพลี ถ.พระรามสี่ เวลา 12.30-16.00 น.

           

ตุ๊ก-ชนกวนัน รักชีพ ทำหน้าที่พิธีกรในงาน เปิดประเด็นว่า พ่อแม่ต้องเตรียมพร้อมรับมือเด็กเล็กเข้าสู่วัยรุ่นตั้งแต่วันนี้ การมีส่วนร่วมให้ครอบครัวมีความสุข การเลี้ยงลูกไม่ให้ตก Trend ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องตามวัยรุ่นให้ทัน ทั้งนี้ บ.ทูลมอโร สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นภายในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของความรักความอบอุ่นในครอบครัว ถ้าปัญหาได้รับการใส่ใจแก้ไข ชีวิตก็จะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้ สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปปัญหาจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย

         

โครงการได้ออกแบบ Platform Online พร้อมกับจัดทำรายการ “รอลูกเลิกเรียน” (After School) เผยแพร่ทาง Facebook:Toolmorrow, Youtube, www.afterschoolline.tv โดยได้นำ 10 ประเด็นที่ผู้ปกครองกังวลเกี่ยวกับลูกของตนเองมากที่สุดมาสร้างเป็นเนื้อหาของรายการ อาทิ ปัญหาการติดเพื่อน, ความสัมพันธ์กับแฟน, ลูกติดมือถือหรือติดเกม, ความคาดหวังของพ่อแม่ ฯลฯ พ่อแม่และผู้ปกครองจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ของครอบครัวที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ รับทราบถึงเทคนิคการพูดคุยกับลูกหลานวัยรุ่น โดยมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถพัฒนาทักษะเพื่อสื่อสารได้ ขณะเดียวกันยังมีแบบทดสอบออนไลน์ที่เปิดให้พ่อแม่ได้เช็กว่าตนเองมีทักษะการสื่อสารกับลูกวัยรุ่นในระดับไหน และจะมี 100 ครอบครัวที่มีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารกับลูกวัยรุ่นอย่างเข้มข้น เป็นการออกแบบมาเพื่อครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาโดยเฉพาะ

         

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานว่า ภาคีเครือข่ายสถาบันครอบครัว สสส.มีจุดหมายปลายทางในการสร้างสุขภาวะคนไทย เป็นการทำงานผ่านทุกสถาบัน เป็นเครื่องมือนำความสุขสู่กลุ่มเป้าหมาย สถาบันครอบครัวเป็นเบ้าหลอมคุณค่าชีวิต และบ่มเพาะคุณลักษณะที่งดงามของความเป็นมนุษย์ ขณะนี้เรามี 23 ล้านครอบครัวในไทยกระจายอยู่ในเมืองและชนบท สังคมไทยครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเกื้อกูลดูแล เยียวยา ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหาหรือวิกฤติในชีวิต โดยเฉพาะในยุคสังคมไทย 4.0 ที่ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสลับซับซ้อน การทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย ทำให้สมาชิกภายในครอบครัวมีความเข้าใจกัน เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อความสุขและความเข้มแข็งของครอบครัว ผลการศึกษาโครงการวิจัยครอบครัวไทยในเขตเมืองปี 2557 พบว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวในเมืองมีสัมพันธภาพน่าเป็นห่วง เนื่องจากขาดการปฏิสัมพันธ์

         

พ่อแม่ยุคนี้ปากกัดตีนถีบ ครอบครัวขยายในสังคมไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จำเป็นต้องมีการปรับตัว แม่ในหลายครอบครัวเลี้ยงดูลูกแบบ Full Time สสส.ขอสนับสนุนโครงการพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มศักยภาพการสื่อสารของครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่นผ่าน Platform Online ซี่งมุ่งหวังจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาเรื่องสัมพันธภาพในครอบครัว โดยเฉพาะในประเด็นการสื่อสารของผู้ปกครองในครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่น ถือเป็นประชากรที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ฉะนั้นหากสัมพันธภาพและการสื่อสารระหว่างกันในครอบครัวไม่ดี ก็จะส่งผลก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความสุขของคนในครอบครัวและสังคมได้ การดำเนินงานครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่ครอบครัวอบอุ่น สอดคล้องกับเป้าหมาย 10 ปีของ สสส.ที่ให้ความสำคัญแก่การเพิ่มสัดส่วนของครอบครัวอบอุ่น

         

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส. กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาแนวคิดในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นตัวช่วยครอบครัวยุคใหม่ในรูปแบบรายการทีวีออนไลน์ที่ชื่อว่า “รอลูกเลิกเรียน” (After School) มีจำนวน 10 ตอน ตอนละ 15 นาที  โดยจะสร้างสรรค์เป็นรายการครอบครัวที่สนุกสนานและน่าสนใจ มีสาระสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวยุคใหม่ที่อยากเพิ่มทักษะการสื่อสารกับลูกวัยรุ่น เผยแพร่ทางช่องทางสื่อออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Youtube, Line และเว็บไซต์ www.afterschoolline.tv ทำให้กลุ่มเป้าหมายติดตามดูแล้วอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

         

ผลที่คาดว่าจะได้รับก็คือสื่อออนไลน์เสมือนเป็นห้องเรียนพ่อแม่ยุค 4.0 คาดว่าจะมีผู้เข้าชมซึ่งเป็นผู้ปกครองในครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่นเข้าร่วมตอบแบบสอบถามเช็กลิสต์ครอบครัวอบอุ่นใน Quiz.afterschoolonline.tv อย่างน้อย 1,500 ราย มีครอบครัวจำนวนอย่างน้อย 100 ครอบครัว เข้ามาใช้บริการ เข้าร่วมกลุ่ม self-help ออนไลน์ผ่านทางช่องทาง Line กลุ่ม เพื่อร่วมการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพใน 10 ประเด็น  โดยทีมงานคัดเลือกพ่อแม่ที่ประสบปัญหาต่างๆ ทั้งหมด 10 ครอบครัว จากการสำรวจเรื่องที่ผู้ปกครองกังวลมากที่สุดคือเรื่อง 1.เพื่อน 2.แฟน 3.การเรียน 4.อนาคต 5.ความไม่มั่นใจในตัวเองของลูก 6.การช่วยงานบ้าน 7.การตั้งเงื่อนไขเพื่อขอของรางวัล 8.การติดมือถือหรือติดเกม 9.การใช้เงิน 10.พฤติกรรมทั่วๆ ไป ทั้งนี้ ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาการสื่อสารภายในครอบครัว และรู้ถึงวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและลองปฏิบัติจริงๆ จนสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นใกล้ชิดในครอบครัว เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้วัยรุ่นเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

         

เด็กที่เกิดในยุค Generation Z (เกิดปี 2540 ขึ้นไป) เด็กในวัยนี้เติบโตพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อม มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สังคมไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย จำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง เด็กรุ่นใหม่ต้องสร้างศักยภาพในตัวเองให้สูงยิ่งขึ้น เด็กที่อยู่กับพ่อแม่เลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็ต้องมีความหลากหลายเมื่ออยู่กับคุณปู่คุณย่าด้วย สังคมเปลี่ยนแปลงมากขึ้นมีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นสมาชิก Facebook สังคมมีความเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิม Platform on Line เผยแพร่ เราไม่รู้ว่าในช่วงปีหน้าจะมี Platform ใหม่ๆ เข้ามา อะไรจะเป็นสื่อเข้าถึงคนไทยมากที่สุด การทำงานของ สสส.เพื่อเป็นการอุดช่องโหว่ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีที่สุด การที่เราหยุดอยู่กับที่กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทาย การที่พฤติกรรมคนเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องคิดค้นพัฒนาตลอดเวลา ด้วยการเรียนรู้และเตรียมตัวไว้ก่อน สาระของการเรียนรู้มีความหลากหลายเหมาะสมกับครอบครัวแต่ละประเภท ทุกช่วงวัยของเด็ก

         

“เราใช้เวลาทำงาน 1 ปีในการผลักดันโครงการรอลูกเลิกเรียน เพื่อสร้างระบบเรียนรู้ทักษะการสื่อสารกับลูกหลานวัยรุ่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โจทย์ของเราอยากให้มีตัวช่วยเพื่อเข้าถึงครอบครัวจำนวนมากในระยะเวลาอันจำกัด มีโนฮาวที่มีศักยภาพ เป็นครอบครัวอบอุ่น เนื่องจาก สสส.มีเป้าหมายการทำงานระยะยาวสร้างครอบครัวไทยให้อบอุ่น เพราะจากการสำรวจครอบครัวไทยอบอุ่นมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ ครอบครัวไทยมีมากกว่า 10 ล้านครอบครัวจำเป็นต้องสร้าง Platform on Line เผยแพร่ให้เข้าถึงคนส่วนใหญ่”

         

ข้อมูลจากภาคีที่ทำงานในชุมชนก็พบว่า พ่อแม่ใช้ถ้อยคำรุนแรงกับลูก ปัญหาเด็กมีความคิดอ่อนไหว เลือกที่จะใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ต ปรึกษาปัญหากับเพื่อน ก็เริ่มศึกษาการทำงานของ บ.ทูลมอโร จำกัดเข้าถึงเยาวชนได้เป็นล้าน เริ่มต้นจากการทำโครงการวัยรุ่น ตอนนี้มีแฟนเพจที่เป็นกลุ่มพ่อแม่วัยรุ่นเข้าร่วมกิจกรรมทำเป็นแฟนคลับ ปัญหาหนึ่งคือลูกไม่มั่นใจในตัวเอง จะทำอย่างไรให้ลูกมั่นใจตัวเอง นำเสนอเป็นเรื่องสั้นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับร้อยครอบครัวนำมาเสนอเพื่อต่อยอด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ รวมทั้งนำข้อเสนอของลูกๆ มาเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ถูกทาง ในที่สุด Group Line ก็เกิดมากขึ้น ขยายเครือข่ายต่อไปเรื่อยๆ

         

ครอบครัวที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกัน แต่ก็ยังมีอีกมากที่ครอบครัวต่างแยกย้ายกันอยู่ พ่อไปทาง แม่ไปทาง ลูกไปอีกทางหนึ่ง ยังมีพ่อเลี้ยงลูกเดี่ยว แม่เลี้ยงลูกเดี่ยว หรือบางครั้งเด็กอยู่กับยาย อยู่กับตาที่ต้องดูแลหลานวัยรุ่นซึ่งเป็นคนละวัย ทั้งหมดนี้ได้นำเสนอเป็นตอนๆ ดูได้ทาง www.AFTERSCHOOLONLINE.TV

         

แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำงานกับวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะทุกวันนี้วัยรุ่นเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์มากกว่าสมัยก่อนด้วยปัญหาจิตกังวลซึมเศร้า สาเหตุของความเจ็บป่วยเป็นโรคเกิดจากครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ต้องอยู่กันเองตามลำพัง เด็กวัยรุ่นไม่ได้พูดคุยกับพ่อแม่ เด็กรู้สึกเหงาไม่ได้เจ็บป่วย เมื่อเจาะลึกลงไปคุยกับพ่อแม่ทำให้มีความทุกข์ ครอบครัวก็ดีอยู่แล้วไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง พ่อแม่ก็อยู่กับตัวเองไม่ได้มีโอกาสพูดคุยด้วยมากนัก ไม่ค่อยมีเวลาว่างมาก เมื่อมีการพูดคุยกันมากยิ่งขึ้น แม้จะมีการบ่น แต่เมื่ออยู่ด้วยกันแล้วก็มีความสุข ส่วนใหญ่เรื่องที่พ่อแม่บ่นลูกก็คืออยู่แต่หน้าจอ ไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ ความรักของพ่อแม่มีพร้อมให้ลูก แต่ก็ควรจะสื่อให้ลูกรู้ด้วยว่าพ่อแม่มีความรักให้ ไม่ใช่ทำตัวน่ารำคาญ รักลูกก็ไม่ได้บอกว่ารักลูก พูดถึงลูกด้วยใจห่อเหี่ยว หงุดหงิด เป็นการพูดบ่นหรือพูดยาวๆ  แต่ทั้งนี้ปัจจัยแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน วิธีการเลี้ยงดูลูกที่เหมาะสม

         

มีคำถามที่ชอบถามกันมากว่าเวลาพ่อแม่ไปซื้อของแล้วลูกอยากได้ของในห้าง ใช้วิธีการนอนดิ้นพล่านๆ เพื่อพ่อแม่ตามใจซื้อของให้ตามต้องการ  ปัญหาเด็กวัยรุ่นคุยกับพ่อแม่ พ่อแม่ขึ้นเสียงดังกับลูกด้วยเหตุผลที่ว่าพูดดังขนาดนี้แล้วยังไม่ค่อยเชื่อฟังหรือทำตาม พร้อมอ้างเหตุผลด้วยว่าถ้าพูดดีๆ กับลูกเขาจะกลัวเราได้อย่างไร นักจิตวิทยาให้คำแนะนำว่า ลูกเราไม่ได้ทำความผิดถึงขั้นรุนแรง เป็นเด็กเกเร เด็กอยู่ในกลุ่มครอบครัวทั่วไป 80-90% แค่พูดคุยกันดีๆ ลูกก็ฟังพ่อแม่ได้ ความเชื่อที่ว่าถ้าไม่ใช้อำนาจกับลูก ลูกจะดื้อหรือไม่เชื่อฟังพ่อแม่  พฤติกรรมที่ใช้อำนาจและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก อย่างนี้กลับจะทำให้ลูกดื้อมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก พ่อแม่มักจะคิดว่าเราต้องเอาลูกให้อยู่ มิฉะนั้นลูกจะก้าวข้ามไปสู่ความเกเรได้ เราต้องเรียนรู้เทคนิคนิดๆ หน่อยๆ ลูกก็พร้อมเปิดใจกว้างคุยกับพ่อแม่มากยิ่งขึ้น มีอารมณ์ดีเข้าหากัน

         

“หมอทำงานจิตแพทย์มาแล้ว 20 ปี เวลากลับบ้านลูกก็จะบอกว่ากลับมาฟังมาม่าบ่นอีกแล้ว ลูกยังรู้สึกว่าแม่ขี้บ่น แต่หมอจะหยุดบ่นได้เร็วกว่าทุกคนถ้าเราช่วยกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ลูกก็จะดื้อน้อยลงด้วย”

           

สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ หัวหน้าโครงการและผู้ก่อตั้งและผู้บริหารงานเพจ Toolmorrow ปัจจุบันมียอดผู้ติดตามกว่า 755,847คน ยอดวิวสูงกว่า 100 ล้านวิวกล่าวว่า นวัตกรรมการสื่อสารผ่าน Platform Online เป็นกระบวนการพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัว เมื่อคนดูรายการจบแล้ว มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารของครอบครัวที่ quiz.afterschoolonline.com แบ่งผลการประเมิน 1.สถานะครอบครัวเป็นครอบครัวที่ไม่มีปัญหาทักษะการสื่อสาร 2.สถานะครอบครัวเป็นครอบครัวที่มีปัญหาด้านทักษะการสื่อสาร เพื่อจะได้วางแผนการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

รายการทีวีออนไลน์ “รอลูกเลิกเรียน” จะเริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 1 เม.ย.2562 ชื่อตอน “เมื่อลูกไม่มั่นใจในตัวเอง” เนื้อหารายการจะนำเสนอเรื่องจากประสบการณ์จริงที่ครอบครัวหนึ่งได้รับ  และผู้ชมจะได้ร่วมเรียนรู้หรือนำทักษะที่ได้แนะนำในรายการไปใช้ ภายใต้การแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นทักษะในตอนนี้จะประกอบด้วย การจัดการอารมณ์และความรู้สึก การให้คำชม การสะท้อนความรู้สึก ทักษะทางสังคมมาร่วมทดลองแก้ปัญหาเรื่องเมื่อลูกไม่มั่นใจในตัวเองกันได้ในรายการ ผู้ที่สนใจในโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารผ่าน Platform Online ของผู้ปกครองในครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างเรื่องสัมพันธภาพและการสื่อสารในครอบครัว ผ่านรายการทีวีออนไลน์ “รอลูกเลิกเรียน” (After School) สามารถติดตามผ่านช่องทาง Facebook:Toolmorrow, Youtube:Toolmorrow และในเว็บไซต์ของ www.afterschoolonline.tv

         

          1 ใน 3 ของครอบครัวในเมืองมีสัมพันธภาพน่าเป็นห่วง

          40% ไม่ค่อยเล่าหรือไม่เล่าอะไรให้คนในครอบครัวฟังเลย

          33% ครอบครัวไม่ค่อยใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและด่าทอ หยาบคาย ทำร้ายจิตใจ

          60% มีการใช้อำนาจ บังคับ ขู่เข็ญ

          34% ทำร้ายร่างกาย

          11% ไม่อยากวางเป้าหมายครอบครัวและไม่อยากทำกิจกรรมร่วมกัน

          5% ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเลย

          ขนาดกลุ่มเป้าหมาย

          ประเทศไทยมีครัวเรือนประมาณ 22.8 ล้านครัวเรือน เขตพื้นที่       กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีครัวเรือนประมาณ 4.7 ล้านครัวเรือน

          1.6 ล้านครอบครัวมีสัมพันธภาพน่าเป็นห่วง

          ข้อมูลจากสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ข้อมูลวันที่ 24 ส.ค.2558)

 

            ข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม “กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีปัญหาการสื่อสารกับลูกวัยรุ่น”

          www.AFTERSCHOOLONLINE.TV

          -คิดว่าครอบครัวไม่ได้มีปัญหาอะไร ผู้ปกครองมักคิดว่าเขาสื่อสารกับลูกดีอยู่แล้ว

          -ไม่ปรึกษาเพื่อนหรือคนรอบข้าง เพราะคิดว่าเรื่องในครอบครัวไม่ควรนำไปให้คนอื่นรู้

          -ไม่รู้แหล่งข้อมูล/ช่องทางที่น่าเชื่อถือ ข้อมูล ความรู้ การเลี้ยงลูกมีมากมาย เช่น หนังสือ How To ข้อมูลใน Pantip วิธีปากต่อปาก เยอะแยะไปหมด

          -ไม่มีเวลาถ้าจะต้องลางานไปเข้าคอร์สฝึกทักษะอบรมต่างๆ 

          เทคนิคการสื่อสารที่นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของผู้ปกครองในครอบครัวที่มีลูกหลานวัยรุ่น

          I Message การพูดถ้อยคำออกมาโดยเน้นไปที่ “เรา หรือตัวเองเป็นที่ตั้ง” เน้นกระบวนการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ที่ผู้รับหรือผู้ฟังความหมายที่สื่อออกมาจากข้อความที่ใช้คำว่า “ฉัน” “จะไม่รู้สึกว่าถูกกล่าวหาหรือตำหนิ”

          คำชม เป้าหมายของการชม ทำให้ลูกรู้สึกถึงคุณค่าและภูมิใจในตัวเองชมจากเหตุการณ์จริงในเรื่องที่เหมาะสม ไม่ชมพร่ำเพรื่อ ชมเขาเพื่อให้เขาก้าวหน้าและมีกำลังใจ ไม่เน้นชมผลของการกระทำ แต่ให้ชื่นชมที่ความพยายาม

          การสะท้อนความรู้สึก ให้ลูกทราบว่าพ่อแม่เข้าใจความรู้สึกของลูกอย่างไร มีเป้าหมายเพื่อสร้างความไว้วางใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยทำให้ประเด็นที่อยากสื่อสารชัดเจนขึ้น

          การลงโทษ คือการตัดทอนหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของลูก มีหลักการการลงโทษอย่างสมเหตุสมผลและทันท่วงที สัมพันธ์กับปัญหาที่เกิด เอาจริงเอาจัง ไม่ทำให้เสียหน้า ไม่ด่วนสรุป และสื่อสารให้ชัดเจนว่าทำไมเขาถึงถูกลงโทษ รวมถึงหยั่งเสียงว่าตัวเองควรถูกทำโทษอย่างไรจึงจะเหมาะ

          การให้รางวัล นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความพยายามรับผิดชอบต่องานตรงหน้า โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน โดยเน้นที่การสร้างความภาคภูมิใจในตัวเด็กจากผลงานที่เกิดขึ้นภายใต้ความพยายามของตนเองร่วมกับท่าทีที่ผู้ใหญ่ชื่นชมและเป็นกำลังใจ

          การตั้งกฎเกณฑ์ มีการตั้งกฎในบ้าน ไม่ใช่เพื่อบีบบังคับ แต่เพื่อให้ทุกคนในบ้านรู้หน้าที่ของตนและความคาดหวังของสมาชิกคนอื่นๆ โดยมีหลักการ ให้ลูกได้ร่วมกำหนดกฎระเบียงเหมาะสมกับวัยและปฏิบัติได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย

          การให้คำปรึกษาที่ถูกต้องเหมาะกับสถานการณ์ เพศ และวัย สามารถช่วยให้เด็กและเยาวชนสามารถวางเป้าหมายในการแก้ปัญหานั้นๆ  และคำปรึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้เหมาะสมมากขึ้น ทั้งยังลดช่องว่างระหว่างวัย เพราะการให้คำปรึกษาเปรียบเสมือนการสร้างความเชื่อมั่น ภายในจิตใจทำให้วัยรุ่นเกิดการยอมรับในตัวผู้ปกครอง

          การจัดการกับพฤติกรรมวัยรุ่น เป้าหมายออกกฎระเบียบเท่าที่จำเป็น ถ้าวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายประเด็น ผู้ปกครองต้องค่อยๆ แก้ไขไปทีละเรื่อง และควรมองให้ออกว่าปัญหาใดที่ทำให้สมาชิกภายในบ้านเดือดร้อนหรือเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา ถ้าวัยรุ่นถอดเสื้อผ้าทิ้งไว้บนโต๊ะรับแขกควรแก้ไข แต่ถ้าวัยรุ่นถอดเสื้อฟ้าเกลื่อนกลาดในห้องของตนเอง ผู้ปกครองควรปล่อยไว้  เพราะถ้าเราไปรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัววัยรุ่นเมื่อไหร่ เขาจะค่อยๆ ปิดใจกับผู้ปกครอง จนในที่สุดอาจจะไม่เชื่อฟังผู้ปกครองอีกเลย

          การแสดงความเห็นอกเห็นใจ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความห่วงใย ความห่วงหาอาทรซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสดงให้วัยรุ่นได้รับรู้ เพราะเมื่อวัยรุ่นมีปัญหาครอบครัวจะเป็นที่ๆ เขาจะเข้าหาและรู้สึกปลอดภัยที่จะเข้ามาปรึกษากับครอบครัว

          การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เลือกคำพูดที่เหมาะสม ไม่ใช้คำพูดที่ประชดประชัน ส่อเสียด. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"