ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเต็มรูปแบบนัดแรกหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา ของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการเห็นชอบให้มีการตั้ง ”ครม.เศรษฐกิจ” โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน ซึ่งเป็นการฟื้น ครม.เศรษฐกิจ ซึ่งปกติรัฐบาลในอดีตมักจะมีตลอด มาหายไปก็ตอนยุครัฐบาล คสช. โดยเหตุผลใหญ่ก็เพราะรัฐบาล คสช.เป็นรัฐบาลจากรัฐประหาร รัฐมนตรีในกระทรวงเศรษฐกิจทุกคน ทุกกระทรวงตั้งแต่ยุค ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจคนแรกมาจนถึงยุค สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวหน้าทีม รัฐมนตรีในกระทรวงเศรษฐกิจ แต่ละคนมาจากการเลือกเฟ้นของ พล.อ.ประยุทธ์-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร และ สมคิด ทั้งสิ้น
โดยเมื่อเป็น ครม.จากรัฐประหาร ไม่มีพรรคการเมืองเกี่ยวข้องและเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้การทำงานจึงเป็นเอกภาพ การผลักดันหรือทำนโยบาย โครงการใดๆ จึงคล่องตัว ทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องฟังความเห็นพรรคร่วมรัฐบาล แค่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจอย่าง “สมคิด” นัดรัฐมนตรี-ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงเศรษฐกิจมานั่ง กินกาแฟ มอร์นิ่งบรีฟ อาทิตย์ละครั้ง คุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ทุกอย่างก็จบ แล้วเอาเรื่องที่คุยไปทำรายละเอียดแล้วเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการชุดต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เช่น บอร์ดอีอีซี จากนั้นเอาเรื่องเข้าที่ประชุมใหญ่ ครม. ทุกอย่างก็เดินหน้าไปได้เลย ทำให้ช่วงรัฐบาลประยุทธ์ 1 เลยไม่มีความจำเป็นต้องมี ครม.เศรษฐกิจแต่อย่างใด อันแตกต่างจากยุค ประยุทธ์ 2 เพราะเป็นรัฐบาลผสม และกระทรวงด้านเศรษฐกิจก็มี 3 พรรคใหญ่ มีคนไปนั่งเป็นรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจคือ ประชาธิปัตย์ ตัว จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ก็ควบรองนายกฯ-รมว.พาณิชย์ ส่วน เฉลิมชัย ศรีอ่อน ก็ รมว.เกษตรฯ ขณะที่ “ภูมิใจไทย” ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ก็เป็น รมว.คมนาคม ส่วน พิพัฒน์ รัชกิจประการ ก็เป็น รมว.การท่องเที่ยวฯ โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกฯ
เมื่อกระทรวงด้านเศรษฐกิจมี ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย มาแชร์อำนาจ พลังประชารัฐ ไม่ได้คุมงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมด ทำให้ตัว สมคิด ไม่ได้มีอำนาจเต็มเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้ การฟื้น ครม.เศรษฐกิจแล้วให้บิ๊กตู่นั่งคุมหัวโต๊ะ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ เพื่อให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการผลักดันนโยบายต่างๆ ทำได้รวดเร็ว เป็นเอกภาพ
ขณะที่การแบ่งงานให้กับรองนายกฯ แต่ละคนรับผิดชอบ ที่ประชุม ครม.วันเดียวกัน ได้เห็นชอบการมอบหมายงานให้รองนายกฯ แต่ละคนดูแลดังนี้ “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” กำกับดูแล 4 กระทรวง คือ ก.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม-ทรัพยากรธรรมชาติฯ-มหาดไทย-แรงงาน และหน่วยงานอื่นๆ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น ส่วน “สมคิด” รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล 5 กระทรวง ได้แก่ คลัง-ต่างประเทศ-อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ-พลังงาน-อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่น เช่น บีโอไอ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า พล.อ.ประวิตรสนใจอยากจะเป็นรองนายกฯ คุม ก.พลังงาน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ตั้งแต่แรกว่า อาจผิดฝาผิดตัว หากรองนายกฯ ด้านความมั่นคงจะมาดูแล ก.พลังงาน ถึงแม้มีบางประเทศจัดวางหน่วยงานด้านพลังงานให้มี Mission ด้านเศรษฐกิจความมั่นคงประเทศไปแล้ว แต่ของไทยเรื่องพลังงานยังถูกมองว่าเป็นงานด้านเศรษฐกิจมากกว่า การที่สมคิดรับผิดชอบดูแล ก.พลังงาน เลยทำให้คนมองว่าลุงป้อมวืด ไม่ได้อย่างที่หวัง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |