วัดกึ๋นค่ารถไฟฟ้า15บาท


เพิ่มเพื่อน    

                เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมานั้น ได้เปิดเดินทดลองเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค 5 สถานี ตั้งแต่มังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ และสถานีท่าพระ จนถึงวันที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 10.00-16.00 น. โดยมีรถไฟฟ้า 3 ขบวน ให้บริการแบบ วิ่งไป-กลับ จากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีท่าพระ ระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสายสีน้ำเงิน (สถานีเตาปูน-สถานีหัวลำโพง) จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีหัวลำโพงเพื่อเดินทางไปยังสถานีในสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (สถานีวัดมังกร-สถานีท่าพระ)

                หลังจากเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการแล้ว กระทรวงคมนาคม รฟม. และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ และจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติจากสถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง ในวันที่ 29 กันยายน 2562 เป็นต้นไป และในต้นปี 2563 จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ซึ่งจะมีเส้นทางเชื่อมต่อเป็นวงกลม โดยมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม

                อย่างไรก็ตาม การเปิดเดินรถสายดังกล่าวนั้นเป็นการให้บริการประชาชน ช่วยเพิ่มทางเลือก บรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานคร โดยข้อมูลจาก รฟม.พบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 8 แสนคนต่อวัน และยังได้เน้นย้ำถึงระบบความปลอดภัยในการให้บริการ รวมถึงมีมาตรการต่างๆ หากมีเหตุการณ์กรณีที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น เนื่องจากเส้นทางส่วนต่อขยายดังกล่าว บางช่วงจะเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา

                นอกจากนี้ ยังมีสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ที่เตรียมจะเปิดเดินรถ 1 สถานี จากสถานีหมอชิตมายังสถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 12 ส.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นที่รู้ๆ กันว่าค่าโดยสารรถสาธารณะบ้านเราแพงกว่าหลายประเทศ โดยจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้พบว่า ผู้โดยสารไทยต้องควักเงินจ่ายค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้าเฉลี่ยขั้นต่ำ 28.30 บาทต่อเที่ยว ซึ่งแพงเกินไปกว่ากำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย ทำให้การใช้บริการจึงเป็นกลุ่มคนรายได้ปานกลางและรายได้สูง โดยเฉพาะค่าโดยสารระบบรางสูงกว่าประเทศอื่น เทียบกับประเทศในภูมิภาค เช่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ รวมถึงไทยมีส่วนต่างค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถโดยสาร (รถเมล์) สูงที่สุด โดยค่าโดยสารต่อเที่ยวการเดินทางของไทยอยู่ที่ 2.14 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 67.10 บาท ซึ่งสาเหตุมาจาก ระบบขนส่งแบบรถไฟฟ้ามีต้นทุนสูง

                ปัจจุปันค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้น สายบีทีเอสจะอยู่ในอัตรา 16-59 บาทตามระยะทาง ส่วนรถไฟฟ้าน MRT จะยังคิดค่าโดยสารเท่าเดิมที่ 16-42 บาท และถ้านั่งตลอดทั้งสาย 47 กม. 38 สถานี (เตาปูน-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ค่าโดยสาร 42 บาท และจะเพิ่มค่าโดยสารเป็น 70 บาทตลอดสาย หากไปเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง อาทิ การเดินทางบางแค-บางใหญ่

                จากอัตราค่าโดยสารที่แพงหูฉี่ ทำให้ รมว.คมนาคม คนใหม่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เดินหน้าลดภาระค่าครองชีพและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ทุกระบบ เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปตามนโยบายของพรรคร่วมที่เสนอให้ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องไม่เป็นภาระของรัฐบาลในอนาคต พร้อมทั้งยืนยันว่าการลดค่าโดยสาร จะมีราคาไม่ต่างจากนี้ และจะดำเนินการทันภายในปี 2562 นี้อย่างแน่นอน

                โดยย้ำว่าวิธีลดราคา จะไม่ใช้วิธีเข้าไปอุดหนุน และไม่กระทบกับภาษีของประชาชน เพราะงบประมาณของไทยมีข้อจำกัด ซึ่งสายสีม่วงและแอร์พอร์ตเรลลิงค์น่าจะทำได้ก่อน  ถ้าอะไรที่ราชการเป็นเจ้าของโครงการ 100% จะดูแลง่าย ถ้าโครงการไหนเป็นแบบ PPP จะมีข้อจำกัด คมนาคมจะไม่ดูแค่การลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า แต่ได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาลดราคาค่าโดยสาร เพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนทุกระบบนขนส่งสาธารณะ เพราะเราได้รับการเลือกมาจากประชาชน เราก็ต้องทำเพื่อพี่น้องประชาชน โดยทั้งหมดต้องสรุปให้ชัดเจนภายใน 1 เดือน

                อย่างไรก็ตาม คงต้องมาลุ้นกันว่า หลังจากนี้อีก 1 เดือนจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าค่ารถไฟฟ้าจะแค่ 15 บาท ตามที่เจ้ากระทรวงคมนาคมคุยไว้ เพราะที่ผ่านมาตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมที่หลายๆ รัฐบาลพยายามผลักดัน ยังต้องรอแล้วรอเล่า เป็นแม่สายบัวแต่งตัวรอเก้อมาทุกๆ สมัย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"